ท้องเสีย ภาวะการถ่ายอุจจาระเหลว เกิน 3 ครั้งในหนึ่งวัน ลักษณะอุจจาระเป็นน้ำ มีมูกเลือก สาเหตุจากการติดเชื้อโรค การป้องกันและรักษาอาการท้องร่วงต้องทำอย่างไรท้องเสีย ท้องร่วง อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ

อาการท้องร่วงนั้น หากโดยอาจถ่ายเป็นน้ำหรือเป็นมูกเลือด จะเรียกว่าเป็น โรคบิด หากมีอาการท้องเสียอย่างรวดเร็วใน 14 วันจะเรียก ท้องเสียเฉียบพลัน และหากท้องเสียแบบต่อเนื่องนาน 30 วันจะเรียกว่า ท้องเสียต่อเนื่อง และหากท้องเสียนานเกิน 30 วันจะเรียก ท้องเสียเรื้อรัง

ลักษณะอาการของโรคท้องร่วง

อาการสำคัญของโรคท้องร่วง คือ การถ่ายอุจจาระตั้งแต่วันละ 3 ครั้ง จะมีอาการ คือ ปวดอุจจาระ ถ่ายเป็นน้ำหรือถ่ายเหลว อ่อนเพลีย อาจมีอาการ มีไข้ และปวดเมื่อยตามตัวด้วย ซึ่งสามารถเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ เชื้อไวรัส เราสามารถสรุปอาการสำคัญได้ดังนี้

  • มีอาการกระหายน้ำ
  • ปัสสาวะน้อย ลักษณะปัสสาวะมีสีเหลืองเข็ม
  • ปากแห้ง
  • ลิ้นแห้ง
  • ผิวแห้ง
  • หากเกิดอาการขาดน้ำอย่างรุนแรงจะเกิดอาการ วิงเวียนศรีษะ มึนงง กระสับกระส่าย และอาจเกิดอาการช็อกได้

สาเหตุของการเกิดอาการท้องร่วง

เราสามารถสรุปสาเหตุของการเกิดท้องร่วงได้ คือ จากการเกินอาหารไม่สะอาดจนเกิดอาหารเป็นพิษ การติดเชื้อโรคทั้งเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย โดยราลยะเอียดของสาเหตุการเกิดโรคท้องร่วงมี ดังนี้

  • อาหารเป็นพิษ เกิดจากอาหารที่ปรุงสุกแต่ทิ้งไว้นานจนเกิดเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย เจริญเติบโตในระบบทางเดินอาหาร ทำให้เชื้อโรคสามารถสร้างสารพิษออกมาได้ ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ ปวดท้องแบบบิดๆ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • เกิดจากการติดเชื้อโรค มักเกิดกับเด็กๆอายุต่ำกว่า 2 ปี มักเกิดในฤดูร้อน เชื้อโรคจะทำลายเยื่อบุลำไส้เล็ก ทำให้ลำไส้ลดการหลั่งน้ำย่อย แบคทีเรียในลำไส้สลายเกิดเป็นกรด และทำให้อุจจาระร่วงมากขึ้น
  • อหิวาตกโรค โรคนี้ปัจจุบันไม่พบบ่อย คนไข้จะมีอุจจาระร่วงอย่างรุนแรง โรคนี้เกิดจากการกินน้ำหรืออาหารที่ไม่สะอาด ที่มีเชื้อโรคเจือปน

อาการอุจจาระเป็นมูกเลือด เกิดจากสาเหตุ 2 กลุ่ม คือ ติดเชื้อแบคทีเรีย และ ติดเชื้ออะมีบา

อาการของโรคท้องร่วง

ลักษณะที่เด่นชัดของโรคท้องร่วง คือ ผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำครั้งละมากๆ และหลายครั้ง ในบางคนจะถ่ายอุจจาระมีลักษณะเหมือนน้ำซาวข้าว ซึ่งการถ่ายเหลว ทำให้ผู้ป่วยเสียน้ำในร่างกายอย่างรวด ส่งผลต่อความดันโลหิตต่ำ จนเกิดอาการช็อก และอาจทำให้เสียชีวิตได้ ปัจจุบันมีวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรค มีทั้งยาฉีดและยากิน แต่ไม่แนะนำให้ใช้ ยกเว้นคนที่จะเดินทางไปในประเทศที่มีโรคนี้ชุกชุม เช่น อินเดีย บังคลาเทศ สามารถฉีดวัคซีนป้องกันได้

การรักษาอาการท้องร่วง

สำหรับการรักษาอาการท้องร่วง ให้ป้องกันอาการร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรง ด้วยการดื่มน้ำเกลือแร่ เพื่อป้องกันการขาดน้ำและเกลือแร่ สำหรับการรักษาให้แยกเป็น 2 กลุ่ม คือ คนที่อายุต่ำกว่า 2 ปี และ คนที่อายุเกิน 2 ปี โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 2 ปี ให้ดื่มครั้งละ ครึ่งแก้ว โดยการใช้ช้อนป้อนไม่ควรให้ดูดจากขวดนม เนื่องจาก เด็กจะกระหายน้ำและดื่มน้ำอย่างรวดเร็ว ทำให้น้ำที่ดื่มดูดซึมเข้าสู่ร่างกายไม่ทัน ควรให้อาหารเหลว เช่น น้ำข้าวต้ม น้ำแกงจืด และนมแม่
  • หากผู้ป่วยเป็นเด็กอายุมากกว่า 2 ปี ควรให้ดื่มน้ำเกลือแร่ครั้งละ 1 แก้ว โดยให้จิบทีละน้อยแต่บ่อยๆ หากมีอาการดีขึ้นก็ให้หยุดดื่มน้ำเกลือแร่ และให้กินอาหารที่อ่อนๆ เพื่อให้ลำไส้ฟื้นตัวเร็วจากการติดเชื้อ

การดูแลตนเอเมื่อท้องร่วง

ข้อปฏิบัตตนเมื่ออยู่ในภาวะท้องเสีย ให้ทำตัวดังนี้

  • ให้พักผ่อนให้เพียงพอ หากทำงานให้หยุดทำงาน หากรียนหนังสือให้หยุดเรียน
  • ให้ดื่มน้ำมากๆ หรือ ดื่มน้ำเกลือแร่ เพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียไป
  • ให้รับประทานอาหารอ่อนๆ รสจืด
  • ควรรีบพบแพทย์เมื่อ มีอาการท้องเสียและไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน ปวดท้องมาก คลื่นไส้ อาเจียน ตัวเหลืองและตาเหลือง มีไข้สูง อุจจาระเป็นมูกเลือด อุจจาระมีสีดำและเหนียวเหมือนยางมะตอย

ป้องกันอาการท้องร่วง

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • กินอาหารสุกและปรุงใหม่เสมอ
  • ดื่มน้ำสะอาด ไม่ควรกินน้ำแข็ง
  • ล้างมือให้สะอาดเสมอโดยเฉพาะก่อนกินอาหาร
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่เป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย เช่น วัคซีนโรคตับอักเสบ

ท้องเสีย คือ ภาวะการถ่ายอุจจาระเหลว เกิน 3 ครั้งในหนึ่งวัน ลักษณะอุจจาระเป็นน้ำ หรือ มีมูกเลือก สาเหตุจาก อาหารเป็นพิษ ติดเชื้อโรค หรือ อหิวาตกโรค การป้องกันและการรักษาท้องร่วงทำอย่างไร

ไขมันพอกตับ ภาวะไขมันเกาะที่ตับสูง เกิดจากไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อาการปวดชายโครงด้านขาว ตัวเหลือง ตาเหลือง มีน้ำในท้องมาก อ่อนเพลีย ไขมันในเส้นเลือดสูงไขมันพอกตับ ไตรกรีเซอไรด์ในเลือดสูง ไขมันเกาะที่ตับ โรคตับ

สำหรับ ภาวะไขมันพอกตับ เป็นโรคที่เกิดมากใน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งพบมากถึง ร้อยละ 20 ของจำนวนประชากร แต่ในประเทศไทยพบว่ามีอัตราการเกิดที่ ร้อยละ 9 ของจำนวนประะชากร ซึ่งเกิดกับประชากรอายุ 40 ถึง 50 ปี ที่อัตราการเผาผลาญไขมันเริ่มลดลง แต่ความน่ากลัวของโรคนี้ คือ ร้อยละ 50 ของคนที่เป็นโรคไขมันพอกตับ ไม่แสดงอาการให้เห็นในระยะแรกของการเกิดโรค

กลุ่มเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน และ คนอ้วน รวมถึง ผู้ป่วยโรคไขมันโลหิตสูง พบว่าร้อยละ 90 ของคนกลุ่มนี้ เป็น โรคไขมันพอกตับ ซึ่งสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่า ท่านกำลังจะเป็น โรคไขมันพอกตับ คือ

  • การเกิดไขมันสะสมที่หน้าท้อง และมีน้ำหนักตัวมากขึ้น
  • ระดับคอเลสเตอรอลและระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
  • รู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลีย
  • เจ็บและตึงๆ ที่ชายโครงด้านขวา
  • มีอาการเบื่ออาหาร และคลื่นไส้อาเจียนเป็นบางครั้ง

ภาวะไขมันพอกตับ นั้นเป็นความผิดปกติของตับ ไม่ต้องดื่มสุรามากก็เกิดได้ ที่สำคัญการที่เกิดภาวะไขมันพอกตับ สามารถนำไปสู่ภาวะตับวายและมะเร็งตับได้ในอนาคต

สาเหตุของการเกิดโรคไขมันพอกตับ

สำหรับสาเหตุการเกิดโรคไขมันพอกตับ นั้นสามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 2 สาเหตุ รายละเอียด ดังนี้

  • เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับปริมาณและระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์สะสมในร่างกาย
  • ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ โรคนี้เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญพลังงานของร่างกายด้อยคุณภาพ

กลไกการเกิดโรคไขมันพอกตับ นั้น ตับทำหน้าที่เก็บสะสมพลังงานจากการรับประทานอาหาร หากมีการรับประทานอาหารมากเกินไป ทำให้เกิดไขมันสะสมในตับ เมื่อตับไม่สามารถย่อยสลายไขมันได้ตามปรกติ จึงทำให้ไขมันพอกตับ

โรคไขมันพอกตับ สามารถแบ่งระยะของการเกิดโรคได้ 4 ระยะ ซึ่งความรุนแรงของโรคจะมากขึ้นเรื่อยๆ รายละเอียด ดังนี้

  • ไขมันพอกตับ ระยะแรก ในระยะนี้ เริ่มมีไขมันก่อตัวที่เนื้อตับ ในระยะนี้ไม่ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ หรือ เกิดพังผืดที่ตับ
  • ไขมันพอกตับ ระยะที่สอง ในระยะนี้ ผู้ป่วยเริ่มมีอาการตับอักเสบ และหากปล่อยไว้ให้อักเสบ โดยไม่ทำการรักษา จะทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง และ จะรุนแรงมากขึ้นในระยะต่อไป
  • ไขมันพอกตับ ระยะที่สาม เริ่มเกิดผังผืดที่ตับ และ เนื้อตับจะค่อยๆถูกทำลาย เป็นการอักเสบของตับอย่างรุนแรง
  • ไขมันพอกตับ ระยะที่สี่ ในระยะนี้ เนื้อตับจะถูกทำลายมาก ตับไม่สามารถทำงานได้ จะเริ่มเข้าสู่ การเกิดโรคตับแข็ง หรือ มะเร็งตับ ได้

อาการของผู้ป่วยไขมันพอกตับ

สำหรับอาการผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับ จะมีอาการตับอักเสบ ซึ่งจะรู้สึกเจ็บที่ท้อง ปวดชายโครงด้านขาว มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง มีน้ำในท้องมาก มีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน อาการของโรคนี้จะค่อยๆเกิดขึ้นอย่างช้าๆ หากเกิดตับอักเสบ จึงจะพบว่าเกิดโรคไขมันพอกตับ

การวินิจฉัยโรคไขมันพอกตับ

โดยทั่วไป การวินิจฉัยโรคไขมันพอกตับ แพทย์จะสัมภาษณ์ถึงลักษณะอาการที่เกิดขึ้น การใช้ชีวิตประจำวัน จากนั้นทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ตรวจเลือด เพื่อดูระดับน้ำตาล ระดับไขมัน และค่าเอนไซม์ของตับ ทำการอัลตร้าซาวด์ดูภาพของตับ รวมถึงการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคไขมันพอกตับ

แนวทางการรักษาไขมันพอกตับ ต้องมุ่งไปที่การลดไขมันสะสมที่ตับ และรักษาอาการอักเสบของตับร่วมด้วย เพื่อหยุดยั้งอาการของโรค ผู้ป่วยต้องรับประทานยา รักษาเบาหวานและยาลดไขมันที่ตับ แต่จะให้ดีที่สุดก็คือ ลดอาหารหวาน ลดอาหารมัน และออกกำลังกาย

การป้องกันการเกิดโรคไขมันพอกตับ

สามารถปฏิบัติตนได้ โดยการลดภาวะความเสี่ยงของการเกิดโรคโดยการควบคุมเรื่องการกินอาหาร ไม่ให้อ้วน จนเป็นสาเหตุของการเกิดโรค

  • ต้องรักษาน้ำหนักตัวให้อยูในเกิดปรกติ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอในปริมาณที่เหมาะสม
  • การควบคุมอาหารให้พอประมาณ
  • ลดและเลิกการดื่มสุรา
  • หลีกเลี่ยงการกินยาโดยไม่จำเป็น

ดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับ

สำหรับผุ้ป่วยโรคไขมันพอกตับต้องดูแลตนเอง ดังนี้

  • ควบคุมอาหาร โดยเฉพาะอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตและไขมัน
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ควบคุมไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การกินยาต้องเป็นยาที่แพทย์แนะนำ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด

ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงผิดปกติ นั้นเกิดจากการกินอาหารไม่ถูกสัดส่วนทำให้เกิดพลังงานสะสมในร่างกายมากเกินไป การลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในร่างกาย สามารถทำได้โดย

  1. ลดการกินอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต น้ำตาล ข้าว แป้ง
  2. งดกินอาหารประเภทไขมัน เช่น อาหารทอด หนังไก่ หนังเป็ด หมูกรอบ หมูสามชั้น เป็นต้น รวมถึงอาหารประเภทกะทิด้วย
  3. ทานอาหารที่มีกากใยอาหารสูง เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ผัก และผลไม้ เป็นต้น
  4. เลิกดื่มสุราทุกชนิด
  5. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ

สำหรับคนที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ควรควบคุม และรักษาโรคควบคู่กันไป เพื่อทำให้ตับสร้างไตรกลีเซอไรด์น้อยลง และขจัดไขมันในเลือดได้ดีขึ้น

โรคไขมันพอกตับ ภาวะไขมันเกาะที่ตับสูง ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อาการปวดชายโครงด้านขาว ตัวเหลือง ตาเหลือง มีน้ำในท้องมาก อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน โรคเสี่ยงของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไขมันในเส้นเลือดสูง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove