ไตอักเสบ ( Pyelonephritis ) การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะแพร่สู่ไต ส่งผลให้ตัวบวม อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดหลัง ปวดเอว ความดันสูง แนวทางการรักษาไตอักเสบทำอย่างไรไตอักเสบ กรวยไตอักเสบ โรคไต โรคไม่ติดต่อ

ไต เป็น อวัยวะของระบบใดในร่างกายมนุษย์ ก็ต้องตอบว่าเป็นส่วนหนึ่งของ ระบบทางเดินปัสสาวะ  ไต ภาษาอังกฤษ เรียก Kidney ไตมีสองข้าง คือ ข้างซ้ายและข้างขวา รูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วแดง หน้าที่ของไตคือกรองของเสีย น้ำ และเกลือแร่ส่วนเกินจากเลือด และไหลผ่านไปสร้างปัสสาว นอกจากกรองของเสียแล้วยังมีหน้าที่ช่วยรักษาความปกติของระดับน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต และกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง หากเกิดความผิดปรกติของการทำงานของไต จะทำให้เกิดการสะสมของเสียในร่างกาย ระบบเลือด และความดันเลือดในร่างกายก็ผิดปรกติ ส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

วันนี้เรามารู้จักกัโรคไต โรคไตอักเสบกันว่า ไตอักเสบเกิดจากอะไร ใครเป็นกลุ่มเสี่ยงเกิดโรคไต อาการของโรคไต การรักษาทำอย่างไร รักษาหายไหม แล้วจะป้องกันโรคไตอักเสบอย่างไร

โรคไตอักเสบ หมายถึง การอักเสบของไต ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะและแพร่สู่ไต หรือการผิดปรกติของการทำงานของไต นอกจากนั้นแล้ว โรคไตอักเสบ อาจเกิดจากปัญญหา เช่น อาการบวมน้ำ การกำจัดน้ำออกจากร่างกายทำได้ไม่ปรกติ ทำให้น้ำสะสมในร่างกายทำให้บวมตามส่วนต่างๆของร่างกาย

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไตอักเสบ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไตอักเสบมีหลายข้อ เรารวบรวมและแยกเป็นข้อๆได้ดังนี้

  1. กรรมพันธ์ โรคไตอักเสบบางชนิด เกิดจากกรรมพันธุ์ เช่น โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic Kidney Disease) อย่างไรก็ตาม กรรมพันธุ์ไม่ใช่สาเหตุหลัก มีส่วนน้อยที่มีอาการไตอักเสบจากกรรมพันธ์
  2. ภาวะความดันโลหิตสูง การไตทำงานร่วมกับเลือดมีผลต่อระดับความดันเลือด หากไตทำงานหนัก ก็ทให้เกิดความผิดปรกติของไตได้ โดรเริ่มจากอาการอักเสบ และอาจทำให้ไตหยุดทำงาน เกิดภาวะไตวายได้
  3. โรคเบาหวาน  ผู้ป่วยเบาหวานจะปัสาวะบ่อย อาจเกิดการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะได้ง่ายกว่าปกติ อาการไตอักเสบอาจเกิดขึ้นได้จากภาวะการติดเชื้อ ทำให้ไตอักเสบ ไตวาย แล้วยังทำให้เกิดความดันโลหิตสูงด้วย
  4. โรคอ้วน คนอ้วยมีเมตาบอลิซึมสูง ทำให้ไตต้องทำงานหนักกว่าปรกติ ทำให้เกิดการอักเสบของไตได้ง่าย
  5. อายุ เมื่ออายุมากขึ้น เกิดความเสื่อมของอวัยวะไปตามอายุ การป้องกันเชื้อโรค และการทำงานของอวัยวะต่างๆก้ลดประสิทธิภาพ โดยทั่วไป ไต จะเริ่มเสื่อมตั้งแต่อายุ 35 ปี เฉพาะผู้สูงอายุเพศชายมีโอกาสเป็นโรคเกี่ยวกับต่อมลูกหมากสูง ส่งผลถึงระบบทางเดินปัสสาวะอุดตัน ทำให้ไตอักเสบได้
  6. อาหาร การรับประทานอาหารรสจัด ทำให้ไตทำงานหนัก ส่งผลกระทบต่อไตทำให้อ่อนแอได้ง่าย
  7. ยาบางชนิด มีผลต่อการทำงานของไต เช่น ยาแก้ข้อกระดูกอักเสบ ดังนั้น หากเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง
  8. อุบัติเหตุ การเกิดอุบุติเหตุกระทบกระเทือนต่อไต ทำให้ไตบอบช้ำทำงานได้ไม่ปรกติ

บุคคลกลุ่มเสี่ยงเกิดโรคไตอักเสบ

สามารถแยกรายละเอียดของคนที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคไตอักเสบ มีรายละเอียดดังนี้

  1. ผู้สุงอายุ ตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป เนื่องจากความเสื่อมของอวัยวะต่างๆเป็นไปตามอายุ
  2. ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคไต เนื่องจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม มีโอกาสเกิดได้
  3. คนน้ำหนักมาก คนอ้วน คนเป็นเบาหวาน
  4. ผู้ป่วยโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
  5. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  6. ผู้ป่วยโรคเนื้องอกในไต
  7. ผู้ที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีโอกาสได้รับสารพิษจากยาบางชนิด
  8. ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ
  9. ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ตัวเอง

อาการของผู้ป่วยไตอักเสบ

อาการของผู้ป่วยไตอักเสบ จะสังเกตุได้จาก อาการตัวบวม อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดหลัง ปวดเอว เนื่องจากไตหน้าที่หลักคือ การคัวบคุมระดับน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย หากการทำงานผิดปรกติ การควบคุมระดับน้ำในร่างกายผิดปรกติเกิดการสะสมในร่างกายทำให้ตัวบวม ไตทำหน้าที่กรองของเสียในเลือดและขับออกทางปัสสาวะ หากร่างกายกรองของเสียได้ไม่ดี ของเสียก็จะกลับสู่ร่างกายทางเลือด ทำให้อ่อนเพลีย และไตเป็นอวัยวะที่อยู่บริเวณเอว ใต้ซี่โครง หากอวัยวะภายในอักเสบก็ทำให้เกิดอาการ เจ็บ และปวด นอกจากนั้น การปัสสาวะผิดปรกติ เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด เป็นต้น ความดันดลหิตสูง

การตรวจว่าเป็นโรคไตอักเสบหรือไม่ สามารถทำได้โดยการ ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด โดยการตรวจปัสาวะเพื่อดูความปรกติของปัสสาวะว่า เป็นโรคอะไรหรือเปล่า เช่น โรคนิ่ว โรคติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ กรวยไตอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และโรคไตอื่น ๆ ส่วนการตรวจเลือด เพื่อหาความผิดปรกติของไต

การรักษาโรคไตอักเสบ

การรักษาโรคไตอักเสบ สามารถรักษาได้โดยใช้ 3 วิธี คือ การรักษาสาเหตุของการเกิดไตอักเสบ รักษาดดยการชะลอความเสื่อมของไต และล้างไตทางหน้าท้อง รายละเอียดดังนี้

  1. การรักษาไตอังกเสบที่สาเหตุของโรค เช่น หากมีนิ่วที่ไต ก็ให้กำจัดนิ่ว หรือ รักษาโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นการรักษาโดยการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เป็นหลัก
  2. การรักษาโดยเพื่อชะลอความเสื่อมของไต ในผู้ป่วยบางคนที่มีอาการไตอักเสบจากความเสื่อมของไต จะทำการรักษาโดยลดการทำงานหนักของไต เช่น การให้ยาควบคุมความดันโลหิต การควบคุมอาหาร เป็นต้น
  3. การรักษาโดยการล้างไตที่หน้าท้อง ในผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบบเรื้อรังอาจเกิดไตวายได้ การทำงานของไตต่ำ การนำไตออกมาล้างเพื่อไม่ให้มีเลือดเสีย ทำให้ไตสะอาด

การป้องกันการเกิดโรคไตอักเสบ

โรคไต เป็นโรคที่ไม่มีใครอยากเป็น การป้องกันแบบง่ายๆ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชิวิต โดยแยกเป็นข้อๆได้ดังนี้

  1. ลดการบริโภคอาหารเค็ม เพื่อควบคุมระดับความดันโลหิต
  2. ลดการดื่มเครื่องดื่มสุราและสารเสพติด
  3. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  4. ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ
  5. พักผ่อนให้เพียงพอ
  6. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อไต เช่น ยาแก้ปวดข้อ ปวดหลัง เป็นต้น

สมุนไพรช่วยลดความดันโลหิต สามารถช่วยลดการทำงานหนักของไตได้ สามารถช่วยบรรเทาอาการป่วยของโรคไตได้ เราจึงขอแนะนำ สมุนไพรช่วยลดความดันโลหิต สมุนไพรลดความดัน

มะรุม สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของมะรุมมะรุม
ฟักทอง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักทองฟักทอง
กระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมนุไพรกระเจี๊ยบเขียว
แตงกวา สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของแตงกวาแตงกวา
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศกระเทียม
หญ้าคา สมุนไพร สมุนไพรไทยหญ้าคา
มะเขือยาว สมุนไพร สมุนไพรไทย ผัดสวนครัวมะเขือยาว
อินทนิน สมุนไพร สมุนไพรไทย ไม้ยืนต้นอินทนิล

โรคไตอักเสบ ( Pyelonephritis ) เกิดจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ แพร่สู่ไต  ส่งผลให้เกิดอาการ อาการตัวบวม อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดหลัง ปวดเอว ความดันโลหิตสูง สาเหตุของโรคไตอักเสบ กลุ่มเสี่ยงโรคไตอักเสบ อาการโรคไตอักเสบอย่างไร

โรคแอดดิสัน ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนน้อย อาการอ่อนเพลีย ปวดท้อง ท้องเสีย มีภาวะขาดน้ำ เวียนหัว อยากกินของเค็ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ เหงื่อออกมาก ผิวแห้ง

โรคแอดดิสัน โรคต่อมหมวกไต โรคฮอร์โมน โรคไม่ติดต่อ

โรคแอดดิสัน ภาษอังกฤษ เรียก Addison disease มีชื่อเรียกโรคนี้อื่นๆ เช่น Adrenocorti cal hypofunction, Chronic adrenocortical insufficiency, Chronic adrenal insuffi ciency, Primary adrenal insufficiency, Hypoadrenalism, Hypocortisolism โรคแอดดิสัน เป็น โรคเกี่ยวกับต่อมหมวกไต เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนได้น้อยกว่าปรกติ จนเกิดภาวะขาดฮอร์โมน ซึ่งต่อมหมวกไต จะสร้างฮอร์โมนชื่อ Glucocorticoid เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการใช้พลังงานของร่างกายทั้ง แป้ง น้ำตาล ไขมัน และโปรตีน กับฮอร์โมนชื่อ Aldosterone เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการทำงานของเกลือแร่ และการรักษาสมดุลของระดับน้ำเกลือแร่ รวมถึงควบคุมระดับความดันเลือด

โรคแอดดิสัน มีการรายงานเกี่ยวกับโรคนี้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2398 โดยนายแพทย์โทมัส แอดดิสัน เป็นแพทย์ชาวอังกฤษ ซึ่งโรคนี้ไม่ใช้โรคที่เกิดขึ้นบ่อย พบได้ 40 ในล้านเท่านั้น  แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย

เนื่องจากต่อมหมวกไตเป็นต่อมไร้ท่อ ที่ทำหน้าที่ควบคุมฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง การสร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตจึงอยู่ภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง ส่วนไฮโปธาลามัส ซึ่งการที่ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนลดลง ทำให้เกิดภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไตปฐมภูมิ ซี่งภาษาอังกฤษ เรียก Primary adrenal insufficiency การที่ฮอร์โมนต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนได้ลดลง มีหลายสาเหตุ เช่น เนื้องอก การใช้ยาสเตรียรอยด์  สมองส่วนไฮโปธาลามัสผิดปรกติ โรคแอดดิสันมีหลายสาเหตุ โดยสาเหตุของโรคแอดดิสันแบ่งเป็นระดับ มี 4 ระดับ ดังนี้

  • ภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไตในระดับปฐมภูมิ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ของสาเหตุการเกิดโรคแอดดิสัน คือ ร่างกายสร้างฮอร์โมนต่อมหมวกไต ไม่เพียงพอต่อความต้องการ จากการติดเชื้อโรคบางชนิด เช่น วัณโรค หรือภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด การเกิดเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต การเสียเลือดอย่างรุนแรง รวมถึงภาวะพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการเจริญเติบดตของต่อมหมวกไตไม่ดี
  • ภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไตในระดับทุติยภูมิ ในระดับนี้เราพบว่าเกิดจากการใช้ยาในกลุ้มสเตียรอยด์ เป็นยาที่มีฤทธิ์กดประสาททำให้ความสามารถในการทำงานของต่อมหมวกไตลดลง นอกจากการใช้ยาบางชนิดแล้ว การเกิดเนื้องอกของต่อมหมวกไตก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคในระดับนี้
  • ภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไตในระดับตติยภูมิ ในระดับนี้พบว่าสาเหตุของโรคเกิดจากความผิดปรดติของสมองส่วนไฮโปธาลามัส อาทิเช่นการเกิดเนื้องอก หรือมะเร็งที่สมอง
  • ภาวะวิกฤตของต่อมหมวกไต สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะวิกฤตของต่อมหมวกไต คือการหยุดใช้ยากลุ้มสเตียรอยด์ทันที

นอกจากสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ สาเหตุอื่นๆที่อาจทำให้เกิดโรคแอดดิสัน คือ ภาวะร่างกายขาดน้ำ ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด การเกิดอุบัตติเหตุที่ต่อมหมวกไต การเกิดอุบัตติเหตุของสมอง เป็นต้น

อาการของโรคแอดดิสันเป็นอย่างไร

อาการของโรคแอดดิสัน เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ อาการที่เกิดจากระดับภาวะการขาดฮอร์โมน และอาการในระดับภาวะวิกฤตที่ต่อมหมวกไต โดยรายละเอียด ดังนี้

  • อาการของโรคแอดดิสันจากสาเหตุภาวะการขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไต จะมีอาการ คือ อ่อนเพลียมาก เบื่ออาหาร ผอม ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีภาวะขาดน้ำ วิงเวียนศีรษะเป็นลม กระหายอยากกินของเค็ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เหงื่อออกมามาก ผิวหนังเหี่ยวและอารมณ์แปรปรวน
  • อาการของโรคแอดดิสันจากสาเหตุภาวะวิกฤติของต่อมหมวกไต จะมีอาการเหมือกับอาการแรก คือ อ่อนเพลียมาก เบื่ออาหาร ผอม ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีภาวะขาดน้ำ วิงเวียนศีรษะเป็นลม กระหายอยากกินของเค็ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เหงื่อออกมามาก ผิวหนังเหี่ยวและอารมณ์แปรปรวน แต่มีระดับความรุนแรงที่มากกว่า ความดันโลหิตจะต่ำมาก อาจช็อกและเสียชีวิตได้

การรักษาโรคแอดดิสันสามารถทำอย่างไรได้บ้าง

แนวทางการรักษาโรคแอดอดสัน สามารทำได้โดยการให้ฮอร์โมนต่อมหมวกไต เพื่อปรับระดับฮอร์โมนให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ และรักษาโดยประคับประคองโรคแทรกซ้อนตามอาหาร เช่น ให้ยาแก้ท้องเสีย ให้ยาแก้คลื้นไส้ ให้ยาแก้ปวดท้อง รักษาระดับน้ำและเกลือแร่ในร่างกายให้สมดุลย์ แต่ถ้าหากสาเหตุเกิดจากเนื้องอก ก็จำเป็นต้องผ่าตัดนำเนื้องกส่วนนั้นๆออกไป เป็นต้น

โรคแอดดิสันมีผลข้างเคียงอย่างไร

ผลข้างเคียงที่เกิดจากโรคแอดดิสัน จะสามารถพบว่าการรับฮอร์โมนต่อมหมวกไต จะทำให้ต้องรับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยสามารถติดเชื้อได้ง่าย

ข้อควรปฏิบัติของผู้ป่วยโรคแอดดิสัน

ในการดูแลตนเองของผู้ป่วย แนะนำให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร็งครัด ทานยาตามคำสั่งแพทย์ เข้าพบหมอตามนัด รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ป้องกันความเสี่ยงของการติดเชื้อ โดยรักษาสุขอนามัย ให้สะอาดปลอดภัย

การป้องกันโรคแอดดิสัน

การป้องกันโรคต้องป้องกันสาเหตุของการเกิดโรคทั้งหมด รายละเอียดดังนี้

  • ไม่ซื้อยากินเอง โดยเฉพาะยากลุ่มสเตียรอยด์
  • หากมีโรคประจำตัวที่ต้องรักษาในกลุ่มสเตียรอยด์ ใช้ยาให้ถูกต้อง และพบแพทย์ตามนัดเสมอ
  • ไม่ซื้อยาแผนโบราณหรือยาสมุนไพรต่างๆ จำพวกยาลูกกร มาใช้เอง ควรใช้ยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น

อาการท้องเสีย ปวดท้อง เป็นอาการหนึ่งของโรคแอดดิสัน การบรรเทาอาการท้องเสียโดยใช้สมุนไพรเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยรักษาโรคตามอาการ ขอแนะนำสมุนไพรช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย มีดังนี้

หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพร
หอมหัวใหญ่
สะระแหน่ มินต์ สมุนไพร พืชสวนครัว
สะระแหน่
ฝรั่ง สมุนไพร ผลไม้ ประโยชน์ของฝรั่ง
ฝรั่ง
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ประฌยชน์ของโด่ไม่รู้ล้ม
โด่ไม่รู้ล้ม
รางจืด สมุนไพร สมุนไพรไทย ไม้ยืนต้น
รางจืด
มังคุด ผลไม้ สมุนไพร ประโยชน์ของมังคุด
มังคุด
กล้วยน้ำว้า กล้วย สมุนไพร ประโยชน์ของกล้วย
กล้วยน้ำว้า
ทับทิม ผลไม้ สมุนไพร ประโยชน์ของทับทิม
ทับทิม
ต้นมะลิ ดอกมะลิ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ต้นมะลิ
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศ
กระเทียม
ลูกยอ ต้นยอ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ยอ
มะพร้าว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชยืนต้น
มะพร้าว

โรคแอดดิสัน ภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไต เกิดจากการเสียเลือดมาก อาการของโรค คือ อ่อนเพลียมาก เบื่ออาหาร ผอม ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีภาวะขาดน้ำ วิงเวียนศีรษะเป็นลม กระหายอยากกินของเค็ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เหงื่อออกมามาก ผิวหนังเหี่ยวและอารมณ์แปรปรวน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove