ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ( Urinary tract infection ) การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการปวดเอว ปัสสาวะบ่อย ปวดเวลาปัสสาวะ เกิดขึ้นได้กับทุกคน รักษาอย่างไรท่อปัสสาวะอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ โรคระบบขับถ่าย โรคไม่ติดต่อ

โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ภาษาอังกฤษ เรียก Urinary tract infection เรียกย่อๆว่า UTI เป็น โรค ที่ เกิดจากการติดเชื้อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่ ระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้ ผู้ป่วย มีไข้ ปวดเอว ปัสสาวะบ่อย ปวดปัสสาวะ ระบบทางเดินปัสสาวะ เป็น ระบบของอวัยวะของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับไต โดยตรง เมื่อ ไต ทำหน้าที่กรองของเสีย จะส่งต่อไปที่ ท่อปัสสาวะ และ ขับของเสีย ออกในรูปแบบ น้ำปัสสาวะ  การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ใน เพศหญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศชาย

น้ำปัสสาวะของมนุษย์ 

โดยปกติ ประกอบไปด้วย น้ำ และ เกลือ ซึ่ง น้ำปัสสาวะ จะไม่มีเชื้อโรค แต่ การติดเชื้อโรคของทางเดินปัสสาวะ เกิดมาจากภายใน ทางระบบทางเดินอาหาร หรือ อุจาระ ทำให้ ท่อปัสสาวะอักเสบ มีโอกาสทำให้ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ได้ และหาก เชื้อโรคลามเข้าท่อไต จะทำให้ กรวยไตอักเสบ  การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ อาจเกิดจาก เชื้ออีโคไล หรือ การติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์

ผู้ที่มีโอกาสเกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ คือ ผู้ป่วย นิ่วที่ทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วย โรคต่อมลูกหมากโต ผู้ป่วยที่ ระบบประสาทควบคุมการปัสสาวะ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยประสาทไขสันหลังอักเสบ ในสตรีที่ใกล้คลอด

อาการของผู้ป่วยโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

อาการของผู้ป่วย โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ สามารถสังเกตุได้จากอาการต่างๆ ดังนี้ ปัสสาวะบ่อย รู้สึกเจ็บเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะมีหนองปน อยู่ บางราบมีไข้ ปวดเอว ปัสสาวะขุ่น

การวินิจฉัยโรคทางเดินปัสาวะอักเสบ

สำหรับการวินิจฉัย เพื่อตรวจหาดรค นั้น สามารถทำได้โดยการ นำปัสสาวะไปตรวจดูความบริสุทธ์ ตรวจหาเม็ดเลือดขาว และ เม็ดเลือดแดง และ เชื้อโรค  หรือ การส่องกล้องตรวจในกระเพาะปัสสาวะ

การรักษาผู้ป่วยทางเดินปัสสาวะอักเสบ

การรักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ นั้น หากผู้ป่วยไม่มีอาการไข้ ปวดเอว ปวดเวลาปัสสาวะ แล้ว สามารถใช้ยารักษาได้ ซึ่ง การใช้ยารักษา โดยทั่วไปอาการจะหายในเวลา 1 ถึง 2 วัน แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมา อาการ มีไข้สูง ปวดเอว ต้องรักษาโดยการฉีดยาเข้าเส้น และในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้หญิงมีอาการทางเดินปัสสาวะอักเสบซ้ำ นั้นต้องป้องกันโดย
รับประทานยา ไทรเมโทรพริม ( trimethoprim ) การรับประทานยาต้องรับประทานยานาน 6 เดือน

การป้องกันการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ

การป้องกันการเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบ สามารถทำได้โดยให้ดื่มน้ำให้มาก ไม่ควรอั้นปัสสาวะ ให้ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศก่อนการมีเพศสัมพันธ์ ห้ามใช้สารหรือสิ่งอื่นใดกับช่องคลอด ในเพศชาย การคลิบอวัยวะเพศ จะ ช่วยลดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ได้

การปัสสาวะ ช่วยลดการเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบ ได้ ดังนี้ สมุนไพรช่วยขับปัสสาวะ จะ ช่วยป้องกันการเกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ได้ รวมถึง โรคทางเพศสัมพันธ์บางโรค สมุนไพรช่วยขับปัสสาวะ มีดังนี้

กระดังงา สมุนไพร สรพคุณของกระดังงา ประโยชน์ของกระดังงากระดังงา
เดือย ลูกเดือย สมุนไพร ประโยชน์ของเดือยลูกเดือย
โหราเดือยไก่ สมุนไพร สรรพคุณของโหราเดือยไก่ ประโยชน์ของโหราเดือยไก่โหราเดือยไก่
ขี้เหล็กเทศ สมุนไพร ต้นขี้เหล็ก สมุนไพรบำรุงหัวใจขี้เหล็กเทศ

ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ( Urinary tract infection ) คือ ภาวะการติดเชื้อโรคที่ทางเดินปัสสาวะ โรคติดเชื้อจากแบคทีเรียที่ ระบบทางเดินปัสสาวะ ส่งผลให้เกิดอาการ มีไข้ ปวดเอว ปัสสาวะบ่อย ปวดเวลาปัสสาวะ การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เพศหญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศชาย อาการของโรคเดินปัสสาวะอักเสบ การรักษา การป้องกัน

ไตวายเรื้อรัง ( Chrome Renal Failure ) ไตถูกทำลายนานกว่า 3 เดือน อาการของโรคปัสสาวะลดลง ความดันสูง เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ คันตามตัว แขนขาและหน้าบวม รู้สึกช้าไตวายเรื้อรัง โรคไต โรคไม่ติดต่อ ไตอักเสบ

ไตวายเรื้อรัง แตกต่างจากโรคไตวาย อย่างไร โรคไตวายเรื้อรัง เกิดจากสาเหตุอะไร อาการของโรคไตวายเรื้อรัง การรักษาโรคไตวายเรื้อรัง การดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังทำอย่างไร การฟอกเลือด การล้างไต และการเปลี่ยนไต สามารถช่วยให้ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังหายได้

โรคไตวายเรื้อรัง เป็นภาวะที่มีไตถูกทำลายนานกว่า 3 เดือน ซึ่งไตทำงานผิดปกติ ไตวายเรื้อรังเป็นภาวะที่ไตไม่สามารถขับของเสียและน้ำออกจากกระแสโลหิตได้ ทำให้ของเหลวและของเสียในเลือดมีมากเกินไป ส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆมากมาย

สาเหตุของการเกิดโรคไตวายเรื้อรัง

สาเหตุของโรคไตวายเรื้อรังเกิดจากการป่วยเป็นโรคบางโรคและการรับประทายยาบางชนิด โรคที่มีผลต่อการเกิดโรคไตวายเรื้อรัง คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคกรวยไตอักเสบเรื้อรัง นิ่วที่ทางเดินปัสสาวะ โรคถุงน้ำในไต โรคหัวใจ โรคเก๊าท์ ส่วนการกินยาบางชนิดที่มีผลต่อการทำงานของไต เช่น ยาแก้ปวด และยาปฏิชีวนะ เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง

ในระยะแรกผู้ป่วยจะไม่มีอาการให้เห็นอย่างเด่นชัด เมื่อเกิดความผิดปรกติอย่างชัดเจน อาการของโรคจะพบว่า ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะลดลง ความดันโลหิตสูง ผิวซีด เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน นอนไม่หลับ คันตามตัว บวมตามหน้า ขาบวม และลำตัวบวม ประสาทรับความรู้สึกช้า มีอาการชัก เป็นต้น

โรคไตวายเรื้อรังมีกี่ระยะ

โรคไตเรื้อรัง สามารถแบ่งระยะของโรคได้เป็น 5 ระยะ ซึ่งแต่ละระยะจะมีความรุนแรงของโรคมากขึ้นไปเรื่อยๆ รายละเอียดของโรคไตวายเรื้อรังในระยะต่างๆ มีดังนี้

  • ไตวายเรื้อรังระยะที่ 1 ในระยะนี้ไตเริ่มมีการถูกทำลาย แต่การทำงานของการกรองของเสียของไตยังสามารถทำงานได้ตามปรกติ โดยความสามารถในการกรองของเสียของไตอยู่ที่ 90 มล ต่อนาที ความผิดของไตสามารถตรวจได้จากการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะและเอกซเรย์
  • ไตวายเรื้อรังระยะที่ 2 ระยะนี้ความสามารถของการทำงานของไตจะลดลง ความสามารถของการกรองของเสียอยู่ที่ 60 ถึง 89 มล.ต่อนาที.
  • ไตวายเรื้อรังระยะที่ 3 ในระยะนี้ไตถูกทำลายปานกลาง ความสามารถของการกรองของเสียของไตลงลงเลือครึ่งหนึ่งของอัตราการกรองของเสียของไตที่ทำงานได้ตามปรกติ
  • ไตวายเรื้อรังระยะที่ 4 ไตถูกทำลายมากแล้ว ความสามารถในการกรองของเสียอยู่ที่ 15 ถึง 29 มล.ต่อนาที
    ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ไตถูกทำลาย ความสามารถในการทำงานของไตต่ำมาก มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง

การรักษาโรคไตวายเรื้อรัง

การรักษาโรคไตวายเรื้อรัง ต้องรักษาโรคอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของโรค คือโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ นิ่ว เป็นต้น นอกจากการรักษาโรคที่เป็นสาเหตุของโรคไตวายเรื้อรัง จะต้องรักษาอาการของโรคไตวายเรื้อรัง คือ การทำความสะอาดไต โดยทางการแพทย์จะรักษาโดยด้วยการล้างไต ซึ่งการล้างไต มี 2 วิธี คือ การฟอกเลือดและการล้างไตทางช่องท้อง

หากรักษาสาเหตุของโรคและการล้างไตแล้ว ในผุ้ป่วยที่หนักมาก แพทย์อาจจะต้องผ่าตัดปลูกถ่ายไตหรือเปลี่ยนไต ซึ่งไตต้องมีเนื้อเยื่อที่สามารถเข้ากันกับผู้ป่วยได้ ซึ่งส่วนมากต้องเป็นเนื้อเยื่อของญาติพี่น้อง หากร่างกายไม่ต่อต้านไตใหม่ และไตใหม่สามารถทำงานได้ตามปรกติ ผู้ป่วยก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปรกติ

สิ่งที่ควรระวังในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง

การรับประทานยาหรือสมุนไพร ที่มีผลต่อการทำงานของไต ซึ่งยาในกลุ่ม OTC ภาษาอังกฤษ เรียก Over the Counter Drugs เป็นยาจำพวก ยาแก้ไอ ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้ปวดเมื่อย ยาระบาย ยาแก้ท้องเสีย เป็นต้น ส่วนยาจีน และสมุนไพรต่างๆ ต้องระมัดระวังในการบริโภค

  • ยาแก้ปวดลดอักเสบ เป็นยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาประเภทนี้ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตได้ลดลง
  • ยาแอสไพริน ชนิดเม็ดฟู่ ยาชนิดนี้มีเกลือผสมอยู่ หากบริโภคมากเกินไปจะทำให้โซเดียม น้ำ และเกลือแร่สะสมในร่างกายมากเกินไปส่งผลกระทบต่อไต
  • ยาน้ำแก้ไอและยาน้ำแก้ปวดท้อง ยาเหล่านี้ทำให้เกิดการสะสมของโพแทสเซียม
  • ยาระบายหรือยาลดกรด อาจทำให้เกิดการสะสมของเกลือแร่ในร่างกาย
  • ยาระบาย ทำให้เกิดการเสียน้ำและเกิดการสะสมของฟอสเฟตในร่างกาย
    สมุนไพรจำพวกสารสะกัดจาก ใบแปะก๊วย โสม และกระเทียม ทำให้เลือดแข้งตัว ทำให้มีการสะสมของโพแทสเซียม ทำให้ไตมีปัญญหา

การดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง

การดูแลผู้ป่วยต้องดูแลให้ร่างกายแข็งแรงและชะลออาการเสื่อมของไต โดยต้องความคุมอาหาร ระดับน้ำตาลในอาหารให้ลดลง ป้องกันโรคที่เกิดจากระบบหัวใจและหลอดเลือด รักษาระดับความดันเลือด ด้วยการพักผ่อนให้มาก ควบคุมอาหาร อย่าออกกำลังกายหนัก โดยสามารถแยกเป็นข้อๆดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด เช่น บุหรี่และสุรา
  2. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  3. ควบคุมและรักษาโรคที่เป็นสาเหตุของโรคไตวายเรื้อรัง คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ หรือนิ่ว
  4. หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางชนิด ที่มีผลต่อการทำงานของไต

ไตวายเรื้อรัง ( Chrome Renal Failure ) ภาวะไตถูกทำลายนานกว่า 3 เดือน ไตวายเรื้อรังแตกต่างจากโรคไตวายอย่างไร อาการของโรคไตวายเรื้อรัง คือ ปัสสาวะลดลง ความดันโลหิตสูง เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน นอนไม่หลับ คันตามตัว บวมตามหน้า ขาบวม ตัวบวม ประสาทรับความรู้สึกช้า การฟอกเลือด การล้างไต การเปลี่ยนไต สามารถรักษาโรคไตวายเรื้อรังได้


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove