คางทูม Mumps อาการต่อมน้ำลายอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส RNA มีไข้ บวมที่หลังหู บวมที่หน้าหู บวมที่คาง ปวดเวลาเคี้ยวอาหาร หากรักษาช้าอาจทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบได้

คางทูม โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ การรักษาโรคคางทูม

โรคคางทูม ภาษาอักกฤษ เรียก Mumps เป็นโรคติดต่อจากเชื้อไวรัส RNA เป็นไวรัสในกลุ่ม paramyxovirus สามารถติดต่อได้ทางน้ำลายหรือเสมหะ ซึ่งผู้ติดเชื้อจะทำให้เกิดอาการมีไข้และต่อมน้ำลายอักเสบ อาจทำให้ตับอ่อนอักเสบ เพศชายอาจมีอาการอัณฑะอักเสบในเพศชาย ส่วนสตรีอาจมีอาการรังไข่อักเสบ และสามารถลามไปถึงอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้

โรคนี้มีวัคซีนในการป้องกันโรค ในปี พ.ศ. 2556 กระทรวงสาธารณะสุข ประเทศไทย มีการแนะนำให้เปลี่ยนการฉีดวัคซีน MMR ครั้งที่ 2 จากเด็กอายุ 4-6 ปี เลื่อนเข้ามาเป็นอายุ 2 ½ ปี เพื่อเร่งการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กที่ได้รับวัคซีนครั้งแรกในอายุ 9 เดือนแล้วไม่ได้ผล  ส่วนในภาคเอกชน สำหรับเด็กที่รับวัคซีน MMR ครั้งแรกที่อายุ 12 เดือน อาจรับวัคซีนครั้งที่ 2 ที่อายุ 2 ½ ปี หรือ 4-6 ปีตามปกติก็ได้

สาเหตุของโรคคางทูม

โรคคางทูมเกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มพารามิกโซ ( paramyxovirus ) ซึ่งสาเหตุของการติดเชื้อมาจากน้ำลาย หรือ การสัมผัสสารคัดหลังของผู้มีเชื้อโรค เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะเข้าสู่กระแสเลือดและแพร่กระจายไปสู่ยังอวัยวะต่างๆ และ เริ่มแสดงอาการที่ต่อมน้ำลาย โดยทำให้เกิดอาการอักเสบ

อาการของคางทูม

สำหรับอาการผู้ป่วยโรคคางทูม หลังจากผู้ป่วยได้รับเชื้อประมาณไม่เกิน 20 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้ อ่อนเพลีย และเบื่ออาหาร หลังจากนั้นจะเกิดอาการต่อมน้ำลายอักเสบ ซึ่งมีอาการบวมที่ใต้หู้ ผิวหนังเหนือต่อมน้ำลายจะบวม แดง หน้าหน้าส่วนใบหูบวมลงมาคลุมขากรรไกรจะปวดมากเวลาพูดและการกลืนหรือเคี้ยวอาหาร อาการบวมนี้จะแสดงอาการไม่เกิน 7 วัน ในเพศชายจะมีอาการอัณฑะอักเสบ อาจทำให้สมองอักเสบ หากมีอาการปวดหัว มีอาการซึม คอแข็ง หลังแข็ง ให้ส่งตัวหาแพทย์ด่วน

โรคแทรกซ้อนจากโรคคางทูม

สำหรับโรคคางทูมหากไม่รักษาให้หายขาดอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้หลายอย่าง เช่น อัณฑะอักเสบ รังไข่อักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และระบบประสาทหูอักเสบ โดยรายละเอียดดังนี้

  • อัณฑะอักเสบจากโรคคางทูม โดยส่วนมากชายที่เป็นคางทูมร้อยละ 25 จะมีอาการอัณฑะอักเสบ ลูกอัณฑะจะปวดบวม เจ็บและรู้สึกอึดอัด หากไม่รีบรักษา อาจทำให้เป็นหมันได้
  • รังไข่อักเสบจากโรคคางทูม หากเกิดผู้หญิงเป็นโรคคางทูม จะทำให้มีไข้และปวดท้องน้อย หากการตั้งครรภ์มีอัตราเสี่ยงต่อการแท้งบุตรสูง
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากโรคคางทูม เนื่องจากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่เยื่อหุ้มสมอง ทำให้ปวดศีรษะอย่างหนัก คอแข็ง หลังแข็ง หากรักษาไม่ทันอาจทำให้เสียชีวิตได้
  • ระบบประสาทหูอักเสบจากโรคคางทูม เนื่องจากโรคคางทูม อยู่ในจุดที่ใกล้กับระบบประสาทหู อาการประสาทหูอักเสบจะเข้าไปทำลายระบบการได้ยิน ทำให้หูชั้นในอักเสบ ซึ่งหากไม่รักษาสามารถทำให้หูหนวกได้
  • สูญเสียการได้ยิน ในผู้ป่วยคางทูม 1 ใน 20 คนอาจสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว และ 1 ใน 20,000 อาจสูญเสียการได้ยินแบบถาวร

การรักษาโรคคางทูม

สำหรับแนวทางการรักษาโรคคางทูมในปัจจุบันไม่มียาที่รักษาโรคคางทุมโดยเฉพาะ แต่มีวัคซีนกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานโรค การรักษาโรคคางทูมร่างกายจะสามารถสร้างภูมิต้านทานโรคและรักษาตัวเองให้หายขาดได้ ซึ่งการรักษาแพทย์จะให้ยาเพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น ยาแก้ปวด รวมถึงการแนะนำให้พักผ่อนร่างกายให้มากที่สุด สำหรับปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรค เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรค

การป้องการโรคคางทูม

สำหรับปัจจุบันสามารถป้องกันโรคคางทูมได้ โดยการใช้วัคซีน ซึ่งต้องฉีด2 ครั้ง ในช่วงอายุ อายุ 9 ถึง 12 เดือน และต้องฉีดซ้ำอีกครั้งในช่วง อายุ 4 ถึง 6 ปี นอกจากการมีวัคซีนในการป้องกันโรค การดูแลตนเองให้ร่างกายแข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และ พักผ่อนให้เพียงพอ เป็นแนวทางการป้องกันการเกิดโรคทุกโรคที่ดีที่สุด

คราบหินปูน คราบที่เกาะตามฟัน เกิดจากน้ำลาย เศษอาหารและเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เหงือกอักเสบ เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ แนวทางการป้องกันการเกิดคราบหินปูนทำอย่างไร

คราบหินปูน โรคในช่องปาก โรค การรักษาโรค

คราบหินปูน ( Dental plaque) คือ คราบสีขาวเกาะที่ฟัน เมื่อเกิดการเกาะตัวมากขึ้นจะทำให้คราบสีขาวนั้นมีขนาดใหญ่และแข็งมากขึ้น หากไม่กำจัดออกจะทำให้เชื้อแบคทีเรีย สร้างกรด เพื่อทำลายฟัน ซึ่งไม่สามารถกำจัดด้วยการแปรงฟันได้

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดคราบหินปูน

สำหรับปัจจัยของการเกิดคราบหินปูนนั้น มีปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดคราบหินปูน มีดังนี้

  • การสูบบุหรี่เป็นเวลานานๆ
  • ลักษณะของฟัน ที่สบกันไม่ดี
  • พฤติกรรมการชอบนอนกัดฟัน
  • ชอบทานอาหารที่มีรสหวาน
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนร่างกาย เช่น วัยรุ่น ตั้งครรภ์ วัยทอง เป็นต้น
  • ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
  • เกิดจากการใช้ยาบางประเภท เช่น ยาลดความดันโลหิต ยากันชัก เป็นต้น
  • อาการปากแห้ง

สาเหตุของการเกิดคราบหินปูน

ที่ผิวฟันของเรานั้นมีส่วนที่หุ้มฟันอยู่ ผิวฟันจะเรียบและมัน เมื่อผิวฟันถูกน้ำลายจะทำให้เกิดสารไกลโคโปรตีนจากน้ำลาย ที่มีน้ำตาล และโปรตีน หลังจากทำความสะอาดฟันแล้ว สารเหล่านี้จะเจือจางลง และเกิดสารบางเหลืออยู่ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียมาเกาะที่ฟัน ซึ่งจะพบมากที่ขอบเหงือก และ หลุมร่องฟัน ซึ่งการเกาะของเชื้อแบคทีเรีย จะทำให้เกิดคราบหินปูน เป็นแคลเซี่ยม เกาะติดแน่น การกำจัดคราบหินปูนนั้นต้องให้ทันตแพทย์ขูดออก

อันตรายของคราบหินปูน

คราบหินปูน เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งการเกิดคราบหินปูนทำให้เกิดโรคได้ ดังนี้

  • ทำให้เกิดฟันผุ เมื่อเชื่อจุลินทรีย์ปล่อยกรดออกมา กรดนี้จะกัดกร่อนผิวเคลือบฟัน ทำให้เกิดเป็นร่องหากทิ้งไว้นานฟันจะผุได้
  • ทำให้เกิดเหงือกอักเสบ เมื่อมีเชื้อเชื้อจุลินทรีย์อยู่ในปาก เชื้อนี้จะปล่อยสารพิษออกปนกับน้ำลาย ทำให้เกิดเหงืออักเสบได้
  • ทำให้เกิดโรคปริทนต์ คราบหินปูนจะใช้เวลานานแค่ไหนที่จะทำลายฟัน
  • ทำให้เกิดโรคหัวใจ เนื่องจากเหงือกอักเสบจากคราบหินปูน ทำให้เกิดการติดเชื้อที่หลอดเลือด ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน เกิดภาวะหลอดเลือดตีบ
  • ทำให้เกิดเลือดออกตามไรฟัน ซึ่งอันตรายของเลือดออกตามไรฟัน คือ การติดเชื้อในกระแสเลือด
  • ทำให้เหงือกบวม
  • ทำให้ฟันเหลือง เนื่องจากแคลเซียมและจุลินทรีย์เกาะเคลือบผิวฟัน เกิดเป็นสีเหลือง
  • ทำให้เกิดกลิ่นปาก เนื่องจากคราบหินปูน มีเชื้อแบคทีเรียเกาะที่ฟัน ทำให้เกิดกลิ่น
  • ทำให้เหงือกร่น เนื่องจากหากหินปูนเกาะตัวและมีขนาดใหญ่ขึ้น ดันให้เหงือกร่น
  • ทำให้ฟันโยกและฟันห่าง เมื่อหินปูนดันเหงือกลงมาก ๆ ทำให้เหงือกยึดฟันได้น้อย เวลาเคี้ยวอาหาร จะทำให้เกิดความเสี่ยงให้ฟันโยก และถ้าหินปูนที่ใหญ่ขึ้นจะดันให้ฟันห่างกัน

ดังนั้น หากแปรงฟันทุกวัน วันละสองครั้ง ร่วมกับการใช้ไหมขัดฟัน จะช่วยลดการเกิดคราบหินปูนได้

การรักษาคราบหินปูน

สำหรับการรักษาคราบหินปูน สามารถทำได้โดยการพบทันตแพทย์ เพื่อทำการขูดคราบหินปูนออก เป็นการรักษาที่ง่าย  ใช้เวลาไม่นาน และ ไม่ทำให้เกิดการเจ็บปวด วิธีขจัดคราบหินปูนในช่องปาก นั้นสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้

  1. ลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดคราบหินปูน เช่น การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่มีรสหวาน การดื่มสุรา
  2. แปรงฟันทุกวัน วันละ 2 ครั้ง และควรดูแลสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ แปรงสีฟันอย่างถูกต้องและใช้ไหมขัดฟันหลังแปรงฟัน
  3. ขัดฟันด้วยเปลือกหมากสด คนสมัยก่อนใช้วิธีนี้ในการป้องกันการเกิดคราบหินปูน
  4. การพบทันตแพทย์ เพื่อทำลายคราบหินปูนออก

การป้องกันการเกิดคราบหินปูน

การเกิดคราบหินปูนนั้น เป็นอันตรายต่อสุภาพและ ทำให้เกิดผลเสียต่อบุคลิกภาพพอสมควร การป้องกันการเกิดคราบหินปูน ช่วยลดการเกิดคราบหินปูน ควรปฏิบัติ ดังนี้

  • ให้แปรงฟันทุกวัน โดยอย่างน้อยต้องแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง
  • การเลือกแปรงสีฟัน ให้เลือกแปรงที่ขนแปรงนุ่ม ปรายของแปรงมนไม่แหลม
  • การแปรงฟันให้เน้นแปรงที่รอยต่อระหว่างเหงือกและฟัน
  • การเลือกใช้ยาสีฟันให้เลือกใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
  • ให้ใช้ไหมขัดฟัน ในการทำความสะอาดฟันอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง
  • หมั่นตรวจสุขภาพฟันประจำปี
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่มีรสหวาน อย่างขนมหวาน หากต้องการรับประทานอาหารที่มีรสหวานให้เลือกรับประทานผลไม้แทน

สำหรับคราบหินปูน หลายๆคนมองข้ามการกำจัดคราบหินปูน เนื่องจากไม่ทำให้การใช้ชิวิตผิดปรกติ เพราะ แขน ขา สมอง สามารถทำงานได้อย่างปรกติ จึงทำให้คนมองข้ามการเกิดคราบหินปูน จากข้อมูลที่เรานำเสนอ เป็นสิ่งที่ดีทำให้เราได้รู้ถึงภัยของหินปูนในปาก ทำให้เกิดโรคหัวใจได้ ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบได้ จึงไม่ควรมองข้ามปัญหาคราบหินปูนได้เลย


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove