ต้อหิน Glaucoma ภาวะความดันตาสูง ทำให้น้ำหล่อเลี้ยงตาระบายไม่ได้ ทำลายจอประสาทตา ตาบอดได้ ต้อหินรักษาไม่หายขาด สามารถป้องกันและควบคุมการสูญเสียของการมองเห็นได้

ต้อหิน โรคตา ทำให้ตาบอด โรคต่างๆ

โรคต้อหิน หรือ โรคความดันตาสูง ทางการแพทย์เรียก Glaucoma  ปัจจัยหลักของการเกิดต้อหินมาจากความดันลูกตาสูง จนทำให้การระบายน้ำของลูกตามีปัญหา ส่งผลให้ประสาทตาถูกทำลายในที่สุด แต่การเกิดต้อหินไม่จำเป็นต้องมีความดันตาสูงเสมอไป ผู้ป่วยโรคต้อหินไม่สามารถรักษาแล้วหายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการไม่ให้แย่ลง โดยจะต้องมาพบจักษุแพทย์ทุก ๆ 3 เดือน ที่สำคัญเมื่อพบว่าเป็นโรคนี้ต้องรีบมารักษาโดยเร็ว อย่าปล่อยทิ้งไว้ เนื่องจากอาจถึงขั้นตาบอดในที่สุด

สถานการณ์โรคต้อหินในปัจจุบัน

องค์กรอนามัยโลก ( WHO ) ระบุว่า ต้อหินเป็นสาเหตุของการตาบอดของคนทั่วโลกมากที่สุดรองจากโรคต้อกระจก ซึ่งผู้ป่วยโรคต้อหินทั่วโลก มีประมาณ 4.5 ล้านคน และ ร้อยละ 12 ของผู้ป่วยต้อหินตาบอด และ ชนิดของการเกิดต้อหินเป็นชนิดโรคต้อหินแบบปฐมภูมิ สำหรับประเทศไทย มีอัตราการเกิดต้อหินมากถึงร้อยละ 36 ของประชากรทั่วประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นด้วย คาดว่าในปี 2563 จะมีคนไทยป่วยเป็นโรคต้อหินเพิ่มขึ้นประมาณ 7 แสนคน แม้ว่าโรคต้อหินจะเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถป้องกันและควบคุมการสูญเสียของการมองเห็นได้

สาเหตุของโรคต้อหิน

สาเหตุของโรคต้อหินมาจากน้ำหล่อเลี้ยงตาไหลเวียนไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งน้ำหล่อเลี้ยงตามีหน้าที่หล่อเลี้ยงเลนส์ กระจกตา และหลังจากนั้นจะถูกดูดซึมผ่านออกจากลูกตาไปทางมุมตา น้ำหล่อเลี้ยงตาต้องมีความสมดลุย์จึงจะทำให้ความดันตาปกติ ในทางกับกันหากภาวะความดันตาสูงผิดปรกติก็ส่งผลต่อระดับน้ำหล่อเลี้ยงตาเช่นกัน เมื่อน้ำหล่อเลี้ยงตาไม่สามารถระบายได้ ทำให้เกิดการทำลายจอประสาทตา โดยประสาทตาจะเสื่อมลงทีละน้อย

สาเหตุที่ทำให้ความดันในตาสูง ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีปัจจัยจากพันธุกรรม การใช้ยาหยอดขยายม่านตา การลดลงของเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงเส้นประสาทตา ความดันโลหิตสูง ภาวะอักเสบและการติดเชื้ออย่างรุนแรง การกระแทกที่ดวงตา การได้รับสารเคมี หรือ การผ่าตัด เป็นต้น

ปัจจัยที่ทำให้เกิดต้อหิน

สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดต้อหิน มีหลายปัจจัยที่ทำให้เซลล์ประสาทจอตาเสื่อมสภาพ ทำให้ลานสายตาผิดปกติ เกิดเป็นรอย หวำกว้างที่ขั้วประสาทตา  ส่งผลทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็น ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต้อหิน ประกอบด้วย

  • ความดันตาสูง
  • อายุ ที่มากขึ้นทำให้เกิดการเสื่อมตามวัย
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • โรคที่เกี่ยวกับเลือดที่ไปเลี้ยงจอประสาทตา เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  • ดวงตาถูกกระทบจากสารเคมี
  • การใช้ยาหยอดตาขยายม่านตา
  • การได้รับการกระทบกระเทือนที่ตาจากอุบัติเหตุ

ชนิดของต้อหิน

สำหรับโรคต้อหิน สามารถการแบ่งชนิดของต้อหิน ได้ 4 ชนิด ประกอบด้วย ต้อหินปฐมภูมิ ต้อหินทุติภูมิ ต้อหินแต่กำเนิด และ ภาวะสงสัยต้อหิน รายละเอียดของต้อหินชนิดต่างๆ มีดังนี้

  • ต้อหินปฐมภูมิ ( Primary glaucoma ) เป็นต้อหินที่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค พบในผู้สูงอายุ สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือ ต้อหินชนิดเฉียบพลัน และ ต้อหินชนิเรื้อรัง รายละเอียด ดังนี้
    • ต้อหินเฉียบพลัน ( Acute glaucoma ) คือ การเกิดต้อหินอย่างรวดร็ว ภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งลักษณะอาการรุนแรง มีอาการปวดตา ตามัว ตาแดง หากไม่รักษาอย่างทันท่วงทีทำให้ตาบอดได้
    • ต้อหินเรื้อรัง ( Chronic glaucoma ) ไม่รู้สึกว่า ตามัวและปวดตา แต่การมองเห็นภาพด้านข้างจะแคบลง ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่สบายสายตา ทำให้ใช้สายตาได้ไม่นาน อาการแบบนี้ผุ้ป่วยทั่วไปมักเข้าใจว่าเป็นอาการเสื่อมของสายตาตามอายุ อาการของต้อหินเรื้อรังนี้ความดันตาจะค่อยสูงขึ้น วินิจฉัยยาก ต้องรอจนอาการเด่นชันถึงรู้ว่าเป็นต้อหิน
  • ต้อหินทุติยภูมิ ( Secondary glaucoma ) เป็นผลมาจากสาเหตุต่างๆ เช่น อุบัติเหตุทางตา ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ต้อหินชนิดทุติยภูมิจำเป็นต้องรักษาจากต้นเหตุของการเกิดโรค ถ้ารักษาช้าเกินไป อาจส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆตามมา ซึ่งเป็นอันตราย
  • ต้อหินแต่กำเนิด ( Congenital glaucoma )  เกิดจากพัฒนาการภายในลูกตาของเด็กผิดปกติจากภาวะความดันตาจะสูงมาก ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา
  • ภาวะสงสัยต้อหิน ( Glaucoma suspect ) มีอาการบางอย่างเหมือนต้อหินเรื้อรัง แต่อาการไม่ครบ แพทย์จะต้องติดตามดูแลผู้ป่วยในระยะยาว

อาการของโรคต้อหิน

สำหรับอาการของโรคต้อหินจะแสดงอาการผิดปรกติที่สายตา และ อาการปวดที่ดวงตา ซึ่งเราสามารถแบ่งอาการของโรคต้อหินได้ 2 ลักษณะ คือ ต้อหินเฉียบพลัน และ ต้อหินเรื้อรัง รายละเอียดของอาการต้อหิน มีดังนี้

  • อาการของต้อหิน ชนิดเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการกระทันหัน คือ ปวดตา สายตาพล่ามัว และ ตาแดงความสามารถการมองเห็นไม่ชัดเลย ปวดตามากขึ้นเรื่อยๆจนอาจถึงขั้นอาเจียน ต้องรีบพบแพทย์ทันที
  • อาการต้อหิน ชนิดเรื้อรัง ผู้ป่วยในระยะแรกจะไม่รู้สึกว่ามีความผิดปรกติของดวงตาและสายตา แต่ความสามารถการมองเห็นจะค่อยๆแคบลง รู้สึกไม่สบายสายตา ผู้ป่วยมักเข้าใจว่าเป็นอาการเสื่อมของสายตาตามวัย การวินิจฉัยยาก ต้องรอจนอาการเด่นชันจึงทราบว่าเป็นโรคต้อหิน

การรักษาโรคต้อหิน

สำหรับแนวทางการรักาาโรคต้อหิน ปัจจุบันสามารถรักษาโรคต้อหินได้ 3 แนวทาง คือ การใช้ยารักษาโรค การใช้แสงเลเซอร์รักษา และ การผ่าตัดรักษา รายละเอียดดังนี้

  • การใช้ยารักษา เพื่อลดความดันของดวงตาให้อยู่ในภาวะปรกติ ปัจจุบันยารักษาต้อหินมีหลายกลุ่ม ทั้งยาหยอด ที่มีฤทธิ์ลดการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา การรักษาด้วยยานั้นจำเป็นต้องหยอดยาอย่างสม่ำเสมอ และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อประเมินผลการรักษาอย่างถูกต้อง
  • การใช้เลเซอร์ในการรักษาโรคต้อหิน ขึ้นอยู่กับชนิดของต้อหินที่เกิดขึ้นและระยะเวลาของการเกิดโรค ซึ่งแนวทางการรักษา เช่น SLT LPT ALPI และ Laser cyclophotocoagulation
    • Selective laser trabeculoplasty ( SLT ) เพื่อรักษาต้อหินมุมเปิด จะใช้วิธีนี้รักษาหากการใช้ยาหยอดตาแล้วได้ผล
    • Laser peripheral iridotomy (LPI) เพื่อใช้รักษาต้อหินมุมปิด
    • Argon laser peripheral iridoplasty (ALPI) สำหรับการรักษาชนิดนี้จะใช้รักษาร่วมกับ Laser peripheral iridotomy (LPI)
    • Laser cyclophotocoagulation จะใช้การรักษาชนิดนี้สำหรับการรักษาในกรณีอื่นไม่ได้ผล
  • การผ่าตัดเพื่อรักษาจะใช้รักษาด้วยการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่การรักษาด้วยยาหรือเลเซอร์ไม่ได้ผล

การป้องกันโรคต้อหิน

แนวทางการป้องกันการเกิดโรคต้อหิน ต้องแยกการป้องกันการเกิดต้อหินชนิดเฉียบพลัน และ ชนิดเรื้อรัง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ควรเข้ารับการสุขภาพดวงตาอย่างสม่ำเสมอ
  • สำหรับกลุ่มคนที่มีคนในครอบครัวมีประวัติการเกิดโรคต้อหิน ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพดวงตาอย่างใกล้ชิด
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดี ลดความเสี่ยงภาวะความดันโลหิตสูง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารบำรุงสายตา
  • การทำกิจกรรมที่มีความเสียงเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตาให้ส่วมเครื่องป้องกันอับุติเหตุ

โรคต้อหิน ( Glaucoma ) สาเหตุของการตาบอด เกิดจากภาวะความดันตาสูง น้ำหล่อเลี้ยงตาไม่สามารถระบายได้ ทำลายจอประสาทตา โรคต้อหินจะเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถป้องกันและควบคุมการสูญเสียของการมองเห็นได้

พังผืดที่จอตา ลักษณะเป็นวุ้นขาวที่ดวงตา ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัด ลักษณะภาพบิดเบี้ยว มองเห็นเป็นแสงแฟรช หากขยายตัวจะรั้งจอตา รักษาได้ด้วยการผ่าตัด ป้องกันโรคอย่างไร

พังผืดที่จอตา โรคตา โรคไม่ติดต่อ มองภาพไม่ชัด

อาการพังผืดที่จอตา ทางการแพทย์เรียก เรียกว่า Macular pucker หรือ Epiretinal membrane คือ อาการที่เกิดขึ้นจากความผิดปรกติของพังผืดบริเวณผิวของดวงตา ซึ่งลักษณะเป็นพังผืด และพังผืดสามารถขยายตัวและไปรั้งจอตาที่อยู่ใกล้พังผืด หากไปรั้งจอตาส่วนกลาง ก็จะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการมองเห็น

สาเหตุของการเกิดพังผืดที่จอตา

สาเหตุของการเกิดพังผืดทีจอตา อาจจากผลข้างเคียงของบางภาวะ เช่น จอตาฉีกขาด หรือ จอตาหลุดลอก ภาวะหลอดเลือดในตาผิดปกติจาก เบาหวานขึ้นจอตา หลอดเลือดจอตาอักเสบ รวมไปถึงการเกิดอุบัติเหตุหรือการผ่าตัดตา เป็นภาวะต่างๆที่ทำให้ตาอักเสบ ลักษณะของพังผืด จะเป็นแผ่นขุ่มมัวเล็ดน้อยหรือลักษณะใส มีสีจางๆที่จอตาหรืออาจจะไม่มีสีก็ได้ โดยเฉพาะใกล้ๆ Macula

การเกิดพังผืดที่จอตา มักพบร่วมกับภาวะการหลุดลอกของน้ำวุ้นตาส่วนหลัง ซึ่งปกติแล้วน้ำวุ้นตาจะมีลักษณะใสคล้ายไข่ขาวแต่เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ส่วนหลังของน้ำวุ้นจะหลุดจนเกิดช่องว่าง ทำให้ร่างกายเกิดการสร้างเซลล์ขึ้นมาจนเป็นพังผืดที่จอตา เซลล์ที่สร้างขึ้นใหม่มีลักษณะยืดหยุ่นได้ หากเกิดการหดตัวจะทำให้การมองเห็นภาพผิดปรกติ

กลุ่มเสี่ยงในการเกิดภาวะพังผืดที่จอตา

สถิติของผู้ป่วยโรคพังผืดที่จอตา เราพบว่า พังผืดที่จอตาสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ แต่สตรีมีโอกาสในการเกิดพังผืดที่จอตามากกว่าบุรุษ แต่ พบการเกิดพังผืดตาได้กับตาทั้ง 2 ข้าง ร้อยละ 8 ของผู้ป่วยเคยมีประวัติการผ่าตัดเกี่ยวกับดวงตา และ ร้อยละ 2 เคนมีประวัติการรับการรักษาดวงตาด้วยแสงเลเซอร์ โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดพังผืดที่จอตา มีดังนี้

  • อายุ ซึ่งอายุที่มากขึ้นมีโอกาสของการเกิดพังผืดมากขึ้น
  • การมีเลือดออกในน้ำวุ้นตา
  • การเกิดจอตาหลุดลอก
  • การเกิดจอตาฉีกขาด
  • มีการผ่าตัดเกี่ยวกับดวงตาที่ใช้เวลานาน
  • การใช้ความเย็นจี้รักษาโรคในจอตา (Cryotherapy)

อาการของภาวะพังผืดที่จอตา

ลักษณะอาการของผู้ป่วยพังผืดที่จอตาจะแสดงอาการกับความผิดปรกติของสายตาเป็นหลัก โดยมองเห็นภาพไม่ชัด โดยเฉพาะตรงกลางภาพ และบางครั้งอาจจะมองเห็นภาพบิดเบี้ยว รูปร่างของภาพที่มองเห็นผิดไปจากปรกติ ในบางครั้งจะมองเห็นแสงแฟลชในตาเกิดขึ้น และบางครั้งจะมีเลือดออกที่ผิวของจอตาตลอด ส่งผลให้เลือดออกเข้ามาในน้ำวุ้นตา

การรักษาพังผืดที่จอตา

แนวทางการรักษาโรคพังผืดที่จอตาในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถรักษาอาการพังผืดที่จอตาด้วยการผ่าตัดน้ำวุ้นตา และ ผ่าตัดลอกพังผืดที่จอตา แต่การรักษาด้วยการผ่าตัดผู้ป่วยจะมีความสามารถในการมองภาพชัดขึ้น แต่สายตาจะไม่สามารถกลับดีเหมือนเดิมได้ ซึ่งผู้ป่วยต้องหมั่นตรวจดูความผิดปรกติของสายตาและดวงตา และ เข้ารับการตรวจสุขภาพดวงตาเป็นระยะๆ

การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคพังผืดที่จอตา

ผู้ป่วยให้สวมแว่นป้องกันสิ่งต่างๆที่จะกระทบดวงตา และ ใส่แว่นช่วยกรองแสงที่จะกระทบกับดวงตา ไม่ทำกิจกรรมต่างๆที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุ  เข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง ช่วยควบคุมอาการของโรค และลดโอกาสเสี่ยงตาบอด ควรต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของจักษุแพทย์

การป้องกันภาวะพังผิดที่จอตา

สำหรับการเกิดพังผืดที่จอตาเกิดจากหลายสาเหตุทั้งเกี่ยวกับสุขภาพโดยตรง หรือ การเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตา ดังนั้นแนวทางการป้องกันสามารถทำได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยแนวทางมีดังนี้

  • หากต้องขี้จักรยาน หรือ มอเตอร์ไซตืที่ดวงตาต้องกระทบกับลมโดยตรง ควรใส่แว่นป้องกันการกระทบต่อดวงตา
  • ดูแลร่างกายไม่ให้เกิดเบาหวานจะเกิดภาวะเบาหวานขึ้นตา
  • ระมัดระวังการเกิดอุบัตติเหตุที่ดวงตา
  • การดูแลร่างกายให้มีสุขภาพจิตสุขภาพกายที่แข็ง
  • รักษาสุขภาพอนามัย
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • กินอาหารมีประโยชน์
  • รักษาน้ำหนักตัวอย่าให้อ้วนเกิน
  • ควบคุมโรคเรื้อรังต่างๆที่เป็นอยู่
  • งดการสูบบุหรี่และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • เข้ารับการตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำทุกปี

พังผืดที่จอตา ลักษณะวุ้นขาวๆที่ดวงตา ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัด และ ภาพมีลักษณะอาการบิดเบี้ยว บางครั้งมองเห็นเป็นแสงแฟรช สามารถขยายตัวแล้วไปรั้งจอตา รักษาได้ด้วยการผ่าตัด แนวทางการป้องกันโรคต้องทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove