ท่อน้ำลายอุดตัน ( Sialolithiasis ) เกิดจากนิ่วที่ต่อมน้ำลายอุดตันท่อน้ำลาย ทำให้ต่อมน้ำลายอักเสบ อาการปวดบวมที่ต่อมน้ำลาย การรักษานวดท่อน้ำลาย ดื่มน้ำ ผ่าตัดนิ่วต่อมน้ำลาย ท่อน้ำลายอุดตัน โรคในช่อปาก โรคไม่ติดต่อ

บทความเกี่ยวกับโรคท่อน้ำลายอุดตัน หรือ โรคนิ่วต่อมน้ำลาย เป็นโรคเกี่ยวกับช่องปาก โรคหู คอ จมูก ซึ่ง เราจะมาเรียนรู้ เกี่ยวกับน้ำลาย ต่อมน้ำลาย โรคนิ่วต่อมน้ำลาย การที่ท่อน้ำลายอุดตัน จะเกิดขึ้นได้อย่างไร สาเหตุของการเกิดโรค อาการนิ่วต่อมน้ำลายเป็นอย่างไร การรักษาทำอย่างไร และ จะป้องกันอย่างไร สมุนไพรอะไรบ้างที่ช่วยลดภาวะการเกิดท่อน้ำลายอุดตัน

น้ำลาย เป็นของเหลวชนิดหนึ่งลักษณะใสๆ อยู่ในปาก น้ำลายพบในปากของสิ่งมีชีวิตทั่วไป ในคนหนึ่งคนจะสร้างน้ำลายประมาณ วันละ 1 ลิตร โดยน้ำลายเกิดจากการสร้างของต่อมน้ำลาย โดยต่อมน้ำลายหลักที่เป็นตัวสร้างน้ำลายจะมี 3 คู่ คือ ต่อมน้ำลายที่ใต้หู ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกร และต่อมน้ำลายใต้ลิ้น แต่ต่อมน้ำลายไม่ได้มีแค่ 3 คู่ ต่อมน้ำลายจะกระจายอยู่ที่เยื่อบุช่องปากและคอหอย

ต่อมน้ำลายใต้หูสร้างน้ำลายชนิดใส ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรและต่อมน้ำลายใต้ลิ้น สามารถสร้างน้ำลายได้ทั้งชนิดใสและชนิดเหนียวข้น ในน้ำลายชนิดใสจะมีเอนไซม์แอลฟ่าอะไมเลส ซึ่งมีประโยชน์ช่วยย่อยแป้ง ในขณะที่น้ำลายชนิดข้นจะมีหน้าที่ช่วยหล่อลื่นอาหาร

น้ำลายของคนมีค่า PH ที่ประมาณ 7.0 มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนๆ หน้าที่หลักของน้ำลาย คือ ช่วยย่อยอาหารและช่วยป้องกันอันตรายภายในช่องปาก ในน้ำลายมีเอนไซม์ช่วยย่อยอาหารคาร์โบไฮเดรต ช่วยหล่อลื่นอาหาร และป้องกันการระคายเคืองจากอาหาร ในน้ำลายจะมีน้ำจำนวนมาก ซึ่งทำให้ปากชุ่มชื้นอยู่เสมอ

สาเหตุของต่อมน้ำลายอุดตัน

ต่อมน้ำลายจะอยู่ต่ำกว่าท่อน้ำลาย ซึ่งการเกิดตะกอนตกค้างในท่อน้ำลายสามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากการดื่มน้ำน้อย ทำให้น้ำลายเหนียวเกิดการตกตะกอนได้ง่าย และอาหารบางชนิดสามารถก่อนิ่วในท่อน้ำลายได้ ซึ่งอาหารจำนวก แคลเซียมสูง เนื่องจากแคลเซียมอาทำให้ผนังท่อน้ำลายหนาขึ้น แต่สาเหตุนี้ยังไม่เด่นชัดนัก แต่อย่างไรก็ตามปัจจัยที่มีความเสี่ยงทำให้เกิดนิ่วที่ต่อมน้ำลาย เช่น การขาดน้ำ การใช้ยาบางชนิด รวมถึงการกระทบกระเทือน การได้รับบาดเจ็บของต่อมน้ำลาย ก็มีผลต่อการเกิดนิ่วต่อมน้ำลายได้ และเมื่อนิ่วเกิดขึ้นที่ต่อมน้ำลายหรือท่อน้ำลาย ทำให้น้ำลายไหลออกมาจากท่อน้ำลายไม่ได้ เราอาจจะสรุปประเด็นสาเหตุเป็นข้อๆได้ ดังนี้

  1. ความผิดปกติของเมตะบอลิสมของแคลเซียม
  2. ภาวะขาดน้ำ ทำให้น้ำลายไหลน้อยลง
  3. เกิดการติดเชื้อในช่องปาก
  4. การปรับเปลี่ยนสารละลายประเภทเกลือที่ทำให้เกิดการตกตะกอนของแร่ธาตุ
  5. การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาลดความดัน ยาแก้แพ้ เป็นต้น ซึ่งยาเหล่านี้ ทำให้ต่อมน้ำลายผลิตน้ำลายได้น้อยลง
  6. การรับประทานอาหารไม่พอ ทำให้ความสามารถในการผลิตน้ำลายลดลง

อาการผู้ป่วยนิ่วต่อมน้ำลาย

ในผู้ป่วยที่มีอาการนิ่วที่ต่อมน้ำลาย เป็นอาการร่างกายไม่สามารถระบายน้ำลายออกมาทางท่อน้ำลายได้ เนื่องจากมีนิ่วไปอุดตัน ทำให้เกิดอาการปวดและบวมบริเวณต่อมน้ำลาย มีการอักเสบบริเวณต่อมน้ำลาย ผุ้ป่วยอาจมีไข้สูง มีหนองไหลออกมาปนกับน้ำลาย พบก้อนนิ่วในท่อน้ำลาย บวมใต้คาง ซึ่งอาการจะเป็นๆหายๆ อาจมีภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับการติดเชื้อ ทำให้เกิดการอักเสบที่ผนังท่อน้ำลาย และเป็นฝีได้

การตรวจวินิจฉัยโรคนิ่วที่ต่อมน้ำลาย สามารถทำได้โดยการเอ็กเลย์ เพื่อดูว่ามีก้อนนิ่วหรือไม่

การรักษาโรคนิ่วที่ต่อมน้ำลาย

การรักษาสามารถทำการรักษาได้หลายวิธี โดยขึ้นอยู่กับอาการของโรค รายละเอียดดังนี้

  1. ในกรณีที่ก้อนนิ่วเล็ก ใช้วิธีให้ดื่มน้ำให้มาก เพื่อให้การสร้างน้ำลายมากขึ้นและจะขับนิ่วออกเอง หรือให้กินอาหารหรือเครื่องดื่ม รสขมหรือรสเปรี้ยว เช่น มะนาว ส้ม ซึ่งจะช่วยให้หลั่งน้ำลายมากขึ้น และขับนิ่วออกมาเอง
  2. ใช้วิธีการนวดให้ก้อนนิ่วออก วิธีนี้ต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญ
  3. รักษาโดยใช้คลื่น ใช้คลื่นกระแทก ซึ่งภาษาอังกฤษเรียก Extracorporeal shock wave lithotripsy เรียกย่อๆว่า  ESWL
  4. ผ่าตัดต่อมน้ำลายเอานิ่วออก ซึ่งในกรณีผู้ป่วยที่เป็นบ่อย อาจต้องตัดท่อน้ำลายทิ้ง
  5. รักษาอาการติดเชื้อตามอาการ โดยใช้ยาปฏิชีวนะ

การป้องกันการเกิดนิ่วต่อมน้ำลาย

การป้องกันการเกิดนิ่วที่ต่อมน้ำลายสามารถทำได้โดย การรักษาความสะอาดภายในช่องปาก และให้ดื่มน้ำมากๆ เนื่องจากการดื่มน้ำทำให้น้ำลายสามารถสร้างออกมาได้มาก การอัดตันของท่อน้ำลายก้จะมีโอกาสเป็นไปได้น้อย

ท่อน้ำลายอุดตัน ( Sialolithiasis ) เกิดจากนิ่วที่ต่อมน้ำลายไปอุดตันทางเดินน้ำลาย ทำให้เกิดอาการอักเสบของต่อมน้ำลาย มีอาการปวด บวม ติดเชื้อที่ต่อมน้ำลาย การรักษารักษาท่อน้ำลายอุดตัน ใช้การนวดท่อน้ำลาย ดื่มน้ำมากๆ ผ่าตัดเอานิ่วออก โรคนิ่วต่อมน้ำลายป้องกันอย่างไร

มะเร็งต่อมไทรอยด์ ( Thyrok ) เกิดเนื้อร้ายที่ต่อมไทรอยด์ ทำให้มีก้อนที่คอ ปวดเมื่อกดที่ก้อนเนื้อ มีเสียงแหบ หายใจลำบาก สามารถลามจนเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้มะเร็งต่อมไทยรอยด์ โรคมะเร็ง ต่อมไทยลอยด์ โรคต่อมไร้ท่อ

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ความรุนแรงของโรคไม่มาก การรักษาได้ผลสูงถึงร้อยละ 80 หากรักษาได้ทันท่วงที สามารถหายและอยู่ได้ถึง 10 ถึง 20 ปี และผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ความรุนแรงของโรคจะสูงกว่าผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี วันนี้เรามาทำความรู้จักกับมะเร็งต่อมไทรอยด์ ว่าคืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษาและการป้องกันโรค ทำอย่างไร

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ คือ เนื้อร้ายที่เกิดกับต่อมไทรอยด์ เป็นมะเร็งที่เกิดกับต่อมไทรอยด์ รวมถึงเนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อกับต่อมไทรอยด์ มะเร็งต่อมไทรอยด์สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ ชนิดที่เซลล์มะเร็งจับกินแร่รังสีไอโอดีน และ ชนิดที่เซลล์มะเร็งไม่จับกินแร่รังสีไอโอดีน รายละเอียดของชนิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ มีรายละเอียด ดังนี้

  1. มะเร็งต่อมไทรอยด์ ชนิดที่เซลล์มะเร็งจับกินแร่รังสีไอโอดีน ภาษาอังกฤษ เรียก Differentiated carcinoma เป็นมะเร็งที่พบได้ถึง ร้อยละ 90 ของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ทั้งหมด
  2. มะเร็งต่อมไทรอยด์ ชนิดที่เซลล์มะเร็งไม่จับกินแร่รังสีไอโอดีน พบว่ามะเร็งชนิดนี้ มีไม่มาก ประมาณร้อยละ 5

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ คือ คนทุกช่วงอายุ ตั้งแต่ 10 ปี ถึง 80 ปี และโอกาสของการเกิดผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคนี้มากกว่าผู้ชาย

สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน ซึ่งสามารถแบ่งปัจจัยของการเกิดโรคได้ 3 ปัจจัยใหญ่ คือ กรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อม และการรับประทานอาหาร โดยรายละเอียด ดังนี้

  1. กรรมพันธุ์  โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์บางชนิด มีรายงานว่าสามารถถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมได้
  2. สิ่งแวดล้อม รังสีกัมมันตรังสีมีและรังสีไอออนไนซ์ผลต่อเซลล์ของต่อมไทรอยด์
  3. การรับสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย ระดับของเกลือแร่ไอโอดีนมีผลต่อการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์

อาการของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
โดยผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนโรคคอพอก คือ มีก้อนที่คอ สามารถคลำได้ ไม่มีอาการปวด แต่ในบางครั้งก๋มีอาการปวด เมื่อกดที่ก้อนเนื้อจะมีเสียงแหบ  เนื่องจากก้อนเนื้อลุกลามไปถึงเส้นประสาท ทำให้หายใจลำบาก อาจลุกลามไปถึงหลอดลมและหลอดอาหารได้ จำเป็นต้องรีบรักษา เพราะถ้าไม่รักษาให้ทันอจากลามจนเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งกระดูก ได้

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์มีทั้งสิ้น 4 ระยะโดย รายละเอียดของมะเร็งต่อมไทรอยด์ระยะต่างๆ มีดังนี้

  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ ระยะที่ 1 มีโรคเกิดขึ้นที่ต่อมไทรอยด์ และมีการลุกลามไปที่โรคกี่ยวกับต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอด้วย ขนาดของมะเร็งโตไม่เกิน 2 เซ็นติเมตร
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ ระยะที่ 2 มะเร็งมีการเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะต่างๆของร่างกาย พบว่ามีการแพร่กระจายสู่ ปอด กระดูก ศีรษะ สมองและตับ มากที่สุด ขนาดของมะเร็งโตไม่เกิน 4 เซ็นติเมตร
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ ระยะที่ 3 ระยะนี้มะเร็งจะมีขนาดใหญ่ ลุกลามไปสู่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ ระยะที่ 4 ระยะนี้มะเร็งมีการลุกลามไปถึงเนื้อเยื่อของร่างกาย และแพร่กระจายไปสู่กระแสเลือด เข้าสู่อวัยวะต่างๆ เป็นระยะสุดท้ายไม่สามารถรักษาให้หายได้แล้ว

การตรวจโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

สามารถตรวจได้จาก การสังเกตุอาการเบื้องต้น จากนั้นตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของต่อมไทรอยด์ อัลตราซาวน์ต่อมไทรอยด์ และต่อมน้ำเหลือง เพื่อดูลักษณะของต่อมไทรอยด์ การตรวจเลือด เพื่อดูการทำงานของตับและไต เพื่อดูระดับเกลือแร่ในร่างกาย เช่น ระดับแคลเซียม เอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติของ ช่องอก หัวใจ และปอด และการตรวจปัสสาวะ เพื่อประเมินสภาพร่างกายทั่วๆไป

การรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

การรรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ นี้ มีวิธีที่ใช้อยู่ 3 วิธี คือ การผ่าตัด การให้กินรังสีแร่ไอโอดีนและการให้ฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งผู้ป่วยต้องทำการรักษาทั้ง 3 วิธี และอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การผ่าตัด การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อร้ายออก ซึ่งเป็นการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกบางส่วน การผ่าตัดจะเป็นขั้นตอนแรกในการรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ แต่ในการผ่าตัดนิยมผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกทั้ง 2 ส่วน
  • การให้กินแร่รังสีไอโอดีน เป็นสารกัมมันตรังสีในรูปแบบแคปซูลหรือสารละลายน้ำ จะช่วยไม่ให้มะเร็งลุกลามหลังจากผ่าตัดต่อมไทรอยด์แล้ว ซึ่งการรักษาโดยให้กินแร่รังสีไอโอดีน อาจต้องกินมากกว่า 1 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์
  • การให้ฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งต้องกินฮอร์โมนไทรอยด์ตลอดชีวิต เนื่องจากร่างกายถูกตัดต่อมไทรอยดืออกไป จำเป็นต้องให้ฮอร์โมนทดแทนการขาดหายไปอย่างเพียงพอ

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ( Thyrok ) การเกิดเนื้อร้ายที่ต่อมไทรอยด์ ส่งผลให้เกิดอาการ มีก้อนที่คอ สามารถคลำได้ ปวดเมื่อกดที่ก้อนเนื้อ มีเสียงแหบ หายใจลำบาก หากไม่รักษามะเร็งจะลามจนเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งกระดูก สาเหตุของโรค อาการและระยะของโรค การรักษาทำอย่างไร โรคระบบฮอร์โมน โรคนี้ต้องกินยาตลอดชีวิต มะเร็งต่อมไทรอยด์ รักษาได้ ปัจจัยของการเกิดโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove