ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) MRSA อาการแผลอักเสบ ปอดอักเสบ อาหารเป็นพิษ หากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดอาจทำให้เสียชีวิตได้

mRSA ติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส Staphylococcus aureus

โรคติดเชื้อMRSA คือ ภาวะการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) ซึ่งเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เป็นเชื้อโรคที่พบในสัตว์จำพวก ม้า แมว หมู แกะ กระต่าย สามารถติดต่อสู่มนุษย์ได้และแสดงอาการต่างๆจากน้อยจนถึงขั้นอาการรุนแรง เช่น ผิวหนังอักเสบ ฝี อาหารเป็นพิษ ปอดบวม ลิ้นหัวใจอักเสบ ข้ออักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งสามารถทำให้เสียชีวิตได้

การติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) สามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ  แต่เชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus )สามารถทนทานต่อยาปฏิชีวนะต่างๆ รวมถึง ยาเมธิซิลิน และยาปฏิชีวนะอื่นๆที่ใช้กันทั่วไป การติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) ส่วนมากเกิดขึ้นในคนที่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อาศัยอยู่ภายใน บ้านพักดูแลผู้ป่วย หรือได้รับการรักษาในศูนย์อนามัยที่มีการจัดให้เป็นศูนย์ล้างไต เป็นต้น

ชนิดของเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus )

เราสามารถแบ่งชนิดของเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) ได้ 2 ชนิด ประกอบด้วย HA-MRSA และ CA-MRSA โดยรายละเอียดชนิดของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus มีดังนี้

  • HA-MRSA เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เกิดในโรคพยาบาล มักเกิดในกลุ่มผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในสถานพยาบาล เช่น โรงพยาบาล ศูนย์ดูแลผู้ป่วย หรือ ศูนย์ล้างไต เป็นต้น
  • CA-MRSA เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เกิดในชุมชน มักเกิดเชื้อในโรงเรียนมัธยม สนามกีฬา ผู้ที่อาศัย คุก หรือ ค่ายทหาร จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ MRSA ที่สูงขึ้น โดยจะติดต่อผ่านทางการสัมผัส

สาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus )

สาเหตุของการติดเชื้อมาจากแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส (Staphylococcus aureus) ซึ่งเป็นเชื้อโรคที่ดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเมธิซิลิน เราพบว่าเชื้อโรคสามารถแพร่จากสัตว์สู่คนได้ โดยการติดเชื้อสแตฟฟิโลคอกคัส (Staphylococcus aureus) พบได้บ่อยในคนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

แบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส (Staphylococcus aureus) เป็นแบคทีเรียอาศัยอยู่ในผิวหนังหรือโพรงจมูกของคนที่มีสุขภาพดี โดยคนที่มีสุขภาพดีเหล่านี้ไม่แสดงอาการแต่เป็นพาหะนำเชื้อโรค ซึ่งเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น การติดเชื้อที่ผิวหนัง ระบบปัสสาวะอักเสบ ปอดอักเสบ และอาการติดเชื้อในกระแสเลือด รวมถึงอาการอาหารเป็นพิษ

กลุ่มเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus )

ส่วนมากกล่มที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) คือ กลุ่มคนที่มีทำงานหรือเกี่ยวข้องกับสถานพยาบาล เพราะจากสถิติการเกิดโรคของผู้ป่วย MRSA พบในโรงพยาบาล ซึงสามารถสรุปกลุ่มที่มีความเสี่ยงการติดเลื้อ มีดังนี้

  • ผู้ป่วยอ่อนแอ ที่อยู่ห้อง ICU
  • ผู้ป่วยที่ต้องรับการผ่าตัด
  • ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดทางกระดูก
  • ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการล้างไต
  • ผู้ที่ติดยาเสพติด
  • กลุ่มบุลลากรที่ทำงานในสถานพยาบาล เช่น แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ ผู้ช่วยพยาบาล เป็นต้น

อาการผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus )

สำหรับลักษณะอาการของผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) เข้าสู่ร่างกาย ลักษณะทั่วไปของอาการ ผู้ป่วยจะเกิดตุ่มเล็กๆเหมือนโดนแมลงสัตว์กัดต่อย ลักษณะเป็นแผลแดง บวม และมีอาการปวด รู้สึกอุ่นๆที่แผล จากนั้นแผลจะมีหนอง และ อาจมีไข้ขึ้น

หากเป็นแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) ชนิด HA-MRSA ผู้ป่วยจะแสดงอาการเจ็บหน้าอก ไอ หายใจลำบาก อ่อนเพลีย ไข้หนาวสั่น ปวดหัว มีผื่นขึ้น และ เป็นแผลเรื้อรัง

หากเชื้อโรคลามเข้าสู่อวัยวะอื่นๆจะแสดงอาการตามอวัยวะต่างๆ เช่น ปอดอักเสบ อาหารเป็นพิษ ข้อกระดูกอักเสบ และ ติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น

การรักษาผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus )

แนวทางการรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) สามารถใช้การประคับประครองตามอาารร่วมกับการใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น การใช้ยากลุ่ม penicillin erythromycin  ทั้งนี้ยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus )

การป้องการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus )

แนวทางการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) สามารถทำได้ด้วยการทำร่างกายให้แข็งแรงและหลีกเลี่ยงปัจจัยการรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย โดยแนวทางการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus )  มีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็น เพราะ การใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็น ทำให้เกิดผลเสีย เนื่องจากอาจทำให้เชื้อโรคดื้อยา
  • ป้องกันการเกิดแผล หากเกิดแผลต้องรีบรักษา อย่างให้แผลติดเชื้อ รักษาแผลให้สะอาด
  • ไม่ใช้แก้วน้ำ หรือ ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องากรของร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ดูแลสุขอนามัยพื้นฐานให้สะอาดปราศจากแหล่งเชื้อโรค

มาตรการที่ตั้งเป้าไว้ก็เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) MRSA รวมถึงการติดเชื้อที่เกี่ยวข้อง MRSA ในชุมชนด้วย สำหรับการป้องกันการติดเชื้อชนิดที่สองนั้น สิ่งสำคัญ คือ การรักษาบ้านเรือนให้สะอาด และปราศจากฝุ่นละออง ควรซักล้าง ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อพื้นผิวที่ถูกสัมผัสบ่อย ๆ (เช่น โถส้วม ห้องอาบน้ำ) ของเล่นเด็ก และผ้าปูที่นอน (ด้วยน้ำยาทำความสะอาดภายในบ้านแบบเจือจาง) เป็นประจำ

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

แอนแทรกซ์ เกิดจากแบคทีเรีย Bacillus anthracis กินเนื้อสัตว์ดิบ เชื้อโรคจะทำลายระบบภูมิต้านทานโรค ทำให้เกิดแผล หายใจผิดปรกติ และ ระบบทางเดินอาหารผิดปรกติแอนแทรกซ์ โรคติดเชื้อ การรักษาโรค

โรคแอนแทรกซ์ ( Anthrax ) คือ ภาวะการติดเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis ซึ่งเป็นแบคทีเรียจากเนื้อสัตว์ เมื่อคนกินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อโรคจะทำให้ร่างกายติดเชื้อและแสดงอาการต่างๆ เช่น มีไข้สูง ปวดเมื่อย ไอ เจ็บหน้าอก หายใจมีเสียงดัง หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก และ ตัวจะเขียว เชื้อโรคจะทำลายภูมิต้านทานโรค และ ทำให้เสียชีวิตในที่สุด

โรคนี้เป็นโรคที่เกิดในสัตว์และแพร่สู่คนจากการกินเนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์ที่มีโอกาสมีเชื้อโรคเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น วัว แพะ และแกะ เป็นต้น เมื่อเชื้อแอนแทรกซ์เข้าสู่ร่างกายจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว และทำให้ร่างกายสร้างสารทอกซิน โดยมันจะช่วยทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้

เชื้อโรคแอนแทรกซ์ สามารถสร้างเกาะตัวได้ เมื่ออยู่นอกร่างกายคนหรือสัตว์ ทำให้มีความทนทานอยู่ได้นานนับ 10 ปี สัตว์ติดโรคนี้โดยการกินหรือการหายใจเอาเชื้อเข้าไปเชื้อจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเร็วมาก สัตว์จึงมักตายภายใน 1 ถึง 2 วัน หลังได้รับเชื้อ โดยไม่แสดงอาการให้เห็น อาจพบเลือดสีดำคล้ำไหลออกจากจมูก ปากหรือทวารหนักของซากสัตว์

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคแอนแทรกซ์

สำหรับปัจจัยความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแอนแทรก มักจะเป็นคนในกลุ่มที่ทำงานเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโรค และ กลุ่มคนที่นินมกินอาหารดิบ โดยกลุ่มคนที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคแอนแทรกซ์

  • กลุ่มคนที่นิยมกินเนื้อสัตว์ดิบ เช่น ก้อยดิบ ลาบดิบ เป็นต้น
  • ผู้ที่ทำงานในปศุสัตว์ เลี้ยงสัตว์กลุ่มกินหญ้า
  • ผู้ทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสัตว์กินหญ้าเช่น หนัง ขน กระดูก (ในสหรัฐอเมริกามีรายงานติดต่อจากการตีกลองที่ทำจากหนังสัตว์ที่ติดเชื้อนี้)
  • ผู้ทำงานในห้องปฏิบัติการที่ศึกษาเกี่ยวกับเชื้อนี้
  • เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ในประเทศที่มีการก่อการร้าย
  • สัตวแพทย์ที่ดูแลสัตว์กลุ่มนี้
  • ทหารที่ทำสงครามกับประเทศที่ใช้อาวุธชีวภาพ
  • ผู้ฉีด (เข้ากล้ามเนื้อ) สารเสพติดผิดกฏหมาย

อาการของโรคแอนแทรกซ์

สำหรับโรคแอนแทรกซ์ จะมีการแสดงอาการ แบ่งได้ 3 อาการ คือ โรคแอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง โรคแอนแทรกซ์ที่ทางเดินหายใจ โรคแอนแทรกซ์ที่ทางเดินอาหาร

  • โรคแอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีตุ่มนํ้าใส แต่หลังจากนั้น 2 – 6 วัน ตุ่มจะยุบตรงกลาง และแผลจะเป็นสีดำเหมือนโดนบุหรี่จี้ มักไม่ปวดแผล
  • โรคแอนแทรกซ์ที่ระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดเมื่อย มีอาการไอ เจ็บที่หน้าอก หายใจมีเสียงดัง หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก และตัวจะเขียว ทำให้เสียชีวิตในที่สุด
  • โรคแอนแทรกซ์ที่ระบบทางเดินอาหาร พบว่าผู้ป่วยจะเกิดการอักเสบที่ลำไส้ และตัวบวมทำให้เลือดไปอุดตันระบบทางเดินอาหาร มีน้ำในช่องท้องมาก อาจทำให้เกิดอาการเลือดเป็นพิษ ช็อก และเสียชีวิตในที่สุด

อาการแทรกซ้อนของโรคแอนแทรกซ์ 

อาจพบติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง ซึ่งจะเกิดลักษณะความผิดปรกติจากสมอง เช่น ปวดหัว สับสน กระวนกระวาย เอะอะอาละวาด จนกระทั่งซึมหมดสติ เป็นต้น

การรักษาโรคแอนแทรกซ์ 

เราสามารถรักษาโรคแอนแทรกซ์ โดยการให้ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) เตตราซัยคลิน (Tetracycline), อีริโทรมัยซิน(Erythromycin) และคลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) ก็ให้ผลดีเช่นกัน ในปี พ.ศ. 2544  พบว่ามีการใช้ยาซิโปรฟล็อกซาซิน (Ciprofl oxacin) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพที่ระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยแอนแทรกซ์ แต่ไม่มีผลการศึกษาชัดเจนว่าได้ผลดี

  • การให้ยาปฏิชีวนะ จะได้ผลดีกว่าเมื่อเริ่มให้ยาตั้งแต่รู้ว่าสัมผัสโรคโดยยังไม่เกิดอาการเรียกว่าเป็นการรักษาแบบป้องกัน แต่เมื่อมีอาการแล้วการรักษาได้ผลไม่ดีเท่าที่ควรและผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง ซึ่งยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคนี้มีหลายตัว โดยการรักษาอาจใช้ยาฯเพียงตัวเดียวหรือหลายตัวร่วมกันทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรคเช่น ยา Cyprofloxacin, Doxycycline, Erythromycin, Penicillin
  • การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำกรณีกินอาหารได้น้อย การให้ออกซิเจนกรณีมีอาการทางการหายใจ การให้เลือดถ้ามีภาวะซีดจากเลือดออกมาก รวมไปถึงการให้ยาแก้อักเสบในกลุ่มสเตียรอยด์

ในปัจจุบันได้มีการศึกษานำยาที่เป็นสารภูมิต้านทาน (Monoclonal antibody therapy) เช่น ยา Raxibacumab มาใช้ทั้งในการป้องกันและในการรักษาการติดเชื้อแอนแทรกจากการสูดดม ซึ่งได้ผลดีในระดับหนึ่ง

การป้องกันโรคแอนแทรกซ์

  1. หากพบว่าสัตว์ที่เลี้ยงไว้ เช่น วัว ควายติดเชื้อแอนแทรกซ์ ให้เผาทำลายซากสัตว์อย่าให้เชื้อโรคแพร่กระจาย
  2. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์ให้แก่สัตว์เลี้ยง ทุกปี
  3. รักษาสุขอนามัยในการทำอาหาร โรงงานขนสัตว์ และ อาหารสัตว์

เชื้อโรคชนิดนี้ไม่สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ ดังนั้น การการรักษาและดูแลผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องแยกผู้ป่วย นอกจากจะสงสัยว่าอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกันนี้อาจมีเชื้อโรคจึงจะป้องกัน เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตลง ต้องระวังการแพร่เชื้อจากศพ

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove