มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ Bladder cancer มะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะ อาการปัสสาวะเป็นเลือดแต่ไม่เจ็บ ปวดหลัง ปัสสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย แนวทางการรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไร

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ โรคระบบทางเดินปัสสาวะ

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์ที่เยื่อบุผนังของกระเพาะปัสสาวะ เกิดการแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างผิดปกติ จนเกิดเนื้องอก และ เป็นเนื้อมะเร็งในที่สุด สามารถลุกลามเข้าสู่อวัยวะอื่นๆได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ปอด และตับ

ชนิดของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สามารถแบ่งได้ 5 ชนิด ซึ่งการแบ่งชนิดของโรคนั้นแบ่งออกได้ตามลักษณะของเซลล์มะเร็ง โดยชนิดของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีรายละเอียด ดังนี้

  • Transitional cell carcinoma ( TCC ) พบมากที่สุด ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเกิดมะเร็งชนิดนี้
  • Squamous cell carcinoma ( SCC ) พบว่าผู้ป่วยมะเร็งจากชนิดนี้ ร้อยละ 5 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์รูปสี่เหลี่ยม ทำให้ระคายเคือง เช่น พยาธิใบไม้ในเลือด
  • Adenocarcinoma พบว่าผู้ป่วยมะเร็งชนิดนี้ เกิดร้อยละ 2 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • Small cell carcinoma พบได้น้อยกว่าร้อยละ 1 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์ Neuroendocrine cells
  • Sarcomas เป็นชนิดที่พบได้น้อยมาก โดยเกิดในเซลล์กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ยังไม่หาสาเหตุที่แท้จริงได้ แต่พบว่ามีปัจจัยในการกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โดยรายละเอียดของปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรค มีดังนี้

  • การสูบบุหรี่ หรือ การสูดดมควันบุหรี่
  • การได้รับสารเคมีบางอย่าง เช่น สารอะนิลีน ( Aniline ) สารไฮโดรคาร์บอน  ( Hydrocarbon ) เป็นสารเคมีใช้ในการย้อมผ้า และ ใช้ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ยาง และ สายไฟ
  • การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในเลือด ( Schistosomiasis ) พยาธิชนิดนี้จะวางไข่ฝังที่ผนังของกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการระคายเคืองแบบเรื้อรัง
  • การรับยาเคมีบำบัด เช่น ยา Cyclophosphamide
  • เป็นความผิดปรกของร่างกายจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

ระยะของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีระยะของโรค 4 ระยะ คือ ระยะ 1-4 โดยแตกต่างกันที่ระดับความรุนแรงของโรค โดยรายละเอียดดังนี้

  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 1 เกิดมะเร็งบริเวณเยื่อบุภายในกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 2 เนื้อมะเร็งบางส่วนลุกลามเข้าสู่กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 3 เนื้อมะเร็งลุกลามเข้าสู่ผนังกระเพาะปัสสาวะ และ เนื้อเยื่อรอบๆกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ 4 เนื้อมะเร็งลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง และ กระจายสู่อวัยวะอื่น ๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ตับ หรือ ปอด เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ จะแสดงอาการอย่างชัดเจนที่การปัสสาวะ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้ ดังนี้

  • ปัสสาวะเป็นเลือดโดยไม่มีอาการเจ็บปวด
  • ปัสสาวะมากผิดปกติ
  • ปัสสาวะบ่อย มีอาการแสบ หรือ ขัดตอนปัสสาวะ
  • มีอาการปวดหลัง
  • มีอาการต่อมน้ำเหลืองบวมโต บริเวณขาหนีบ หรือ ไหปลาร้า
  • อาจมีอาการไอ หายใจลำบาก ปวดกระดูก

การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการวินิจฉัยโรคนั้น หากผู้ป่วยมีอาการตามอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ตามที่กล่าวมาในข้างต้น เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ และ ลักษณะของอาการที่เกิดขึ้น จากนั้น ต้องทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดย การตรวจร่างกายและตรวจชิ้นเนื้อ มีรายละเอียด ดังนี้

  • การตรวจปัสสาวะ เพื่อดูปริมาณของเม็ดเลือดแดงและเซลล์มะเร็งที่ปะปนมากับปัสสาวะ
  • การส่องกล้องตรวจทางเดินปัสสาวะ เพื่อตรวจดูโครงสร้างภายในของกระเพาะปัสสาวะกับท่อปัสสาวะ เพื่อให้เห็นเนื้องอกได้อย่างชัดเจน
  • การตรวจชิ้นเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ การนำชื้นเนื้อต้องสงสัยไปตรวจ เพื่อดูว่าชิ้นเนื้อนั้นๆ เป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่
  • การตรวจทางรังสีวิทยา โดยใช้การ เอกซเรย์ ซีทีสแกน เอ็มอาร์ไอ หรือ อัลตราซาวด์ ตรวจที่บริเวณช่องท้อง เพื่อดูตำแหน่งและขนาดของมะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ นั้น ต้องทำการรักษาโดยการกำจัดก้อนมะเร็ง บรรเทาอาการของโรค และ การรักษาโดย การใช้ เคมีบำบัด การให้ยาฆ่ามะเร็ง การรังสีบำบัด และ การผ่าตัด แต่การเลือกใช้วิธีการรักษาต้องอยู่ในดุลย์พินิจของแพทย์ โดยรายละเอียดของการรักษามะเร็งกระเพาปัสสาวะ มีดังนี้

  • การรักษาด้วนเคมีบำบัด โดยแพทย์จะฉีดยาเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะผ่านทางสายสวน เพื่อรักษามะเร็งในระยะเริ่มต้น อาจใช้การรักษาด้วยรังสีบำบัด ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้
  • การให้ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง จะใช้หลังจากการตัดเนื้อมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะออกไปแล้ว ให้ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง เพื่อลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำใหม่
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด วิธีนี้ทำเพื่อกำจัดเนื้อมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงอวัยวะใกล้เคียง ซึ่งการผ่าตัดนั้นใช้ 2 วิธี คือ การผ่าตัดโดยส่องกล้องซึ่งผ่านทางท่อปัสสาวะ และ การผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะผ่านทางช่องท้อง ซึ่งการผ่าตั้นนั้น แพทย์อาจต้องตัดกระเพาะปัสสาวะบางส่วนออก รวมถึงอวัยวะข้างเคียงออก เช่น ท่อไต ต่อมน้ำเหลืองบริเวณอุ้งเชิงกราน ต่อมลูกหมาก ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ มดลูก รังไข่ และ ช่องคลอดบางส่วน เป็นต้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
  • การรักษาด้วยรังสีบำบัด วิธีการรังสีบำบัดนั้นจะทำหลังจากการผ่าตัด หรือ ใช้การเคมีบำบัดร่วม สำหรับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้

ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

การเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สร้างความลำบากต่อร่างกายแล้ว แต่สิ่งที่ทำให้แย่ขึ้นไปอีก คือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งก่อนการรักษาโรคและหลังการรักษาโรค โดยภาวะแทรกซ้อนของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ประกอบด้วย

  • การเกิดโรคโลหิตจาง
  • เกิดความผิดปรกติเกี่ยวกับการปัสสาวะ เช่น กลั้นปัสสาวะไม่ได้ หรือ ปัสสาวะไม่ออก
  • เกิดภาวะท่อปัสสาวะตีบตัน ทำให้ปัสสาวะไม่ออก หรือ ปัสสาวะยาก
  • เกิดกรวยไตคั่งปัสสาวะ
  • เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • เกิดการลามของมะเร็ง จนเกิดมะเร็งในอวัยวะอื่นๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ตับ ปอด หรือ กระดูก เป็นต้น
  • ทำให้หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • ทำให้เกิดวัยทองก่อนวัยอันควร

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคนั้นยังไม่มีวิธีทางการแพทย์ที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้อย่างเด็ดขาด แต่สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรค ที่เราสามารถควบคุมได้ โดยแนวทางการปฏิบัติมีดังนี้

  • เลิกสูบบุหรี่ หรือ ไม่สูบบุหรี่ หรือ หลีกเลี่ยงการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีควันบุหรี่
  • ไม่เที่ยวสถานท่องเที่ยวกลางคืน เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีการปล่อยให้มีการสูบบุหรี่ การที่เราไม่สูบบุหรี่แต่การสูดดมควันบุรหรี่ก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเช่นกัน
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • ให้ดื่มน้ำตามปรริมาณความต้องการของร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • หากมีอาการผิดปรกติที่ระบบขัยถ่าย เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด ให้รีบพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างทันท่วงที

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ( Bladder cancer ) คือ มะเร็งเกิดที่กระเพาะปัสสาวะ ส่งผลต่อระบบการปัสสาวะ อาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะเป็นเลือดแต่ไม่เจ็บ ปวดหลัง ปัสสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย เป็นต้น การรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะทำอย่างไร สาเหตุของการเกิดโรค การป้องกันการเกิดโรค

โรคท้องมาน ภาวะมีน้ำขังอยู่ในช่องท้องปริมาณมาก เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ โรคหัวใจล้มเหลว โรคไต เป็นต้น การรักษาและการป้องกันโรคทำอย่างไรโรคท้องมาน โรคท้องโต โรคท้องบวม โรคตับ

ความหมายของโรคท้องมาน จากพจนานุกรมราชบัณฑิตย์สถาน พ.ศ. 2542 ท้องมาน ท้องบวม หมายถึง ชื่อโรคจำพวกหนึ่ง มีอาการให้ท้องโตเหมือนสตรีมีครรภ์ ภาวะที่เกิดมีน้ำคั่งในช่องท้องมากผิดปกติ จนเป็นสาเหตุให้ท้องขยายใหญ่โตขึ้น

ชนิดของโรคท้องมาน

โรคท้องมาน นั้นโดยทั่วไปสามารถแบ่งชนิดของโรคได้ 2 ชนิด คือ Serum Ascites Albumin Gradient (SAAG) และ ascites neutrophil โดยแบ่งจากปริมาณน้ำในท้องและสาเหตุของการท้องโต รายละเอียด ดังนี้

  • Serum Ascites Albumin Gradient (SAAG) คำนวณจากอัตราส่วนของโปรตีนแอลบูมินในน้ำที่ขังนช่องท้อง เปรียบเทียบกับระดับของโปรตีนแอลบูมินในเลือด
  • ascites neutrophil มากกว่า 250 cells/ml หรือมากกว่า 50% บ่งว่าผู้ป่วยน่าจะมีการติดเชื้อของน้ำในช่องท้อง และหากสงสัยว่ามีมะเร็งหรือ pancreatic ascites ก็ควรส่งตรวจ cytology หรือ amylase ร่วมด้วย

ปัจจัยเสี่ยงที่มำให้เกิดโรคท้องมาน

การเกิดภาวะน้ำขังในช่องท้องนั้น สามารถสรุปปัจจัยการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ทั้งชนิด B และ C
  • การดื่มสุราบ่อย จนเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
  • มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โระมะเร็ง และ โรคไต
  • การติดเชื้อที่ช่องท้อง เช่น ติดเชื้อวัณโรค เยื่อบุช่องท้องอักเสบ เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรคท้องมาน

จากปัจจัยของการเกิดโรค เราจึงสามามารถสรุปสาเหตุของการเกิดโรคท้องมาน ได้ดังนี้

  • โรคตับ ร้อยละ75 ของผู้ป่วยที่มีอาการท้องมาน จะมีภาวะป่วยโรคตับแข็ง น้ำในช่องท้องมีผลมาจากความดันเลือดในตับสูงขึ้น ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคตับแข็ง มีภาวะโรคท้องมาน 10 ปี มีอาการท้องบวม เท้าบวม มีน้ำในช่องอก มีอัตราการเสียชีวิตสูง
  • โรคมะเร็งในช่องท้อง เช่น มะเร็งรังไข่ หรือ เชื้อมะเร็งที่กระจายเข้าสู่ช่องท้อง เป็นต้น ร้อยละ 15 ของผู้ป่วยโรคท้องมาน เป็นโรคมะเร็ง
  • มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลว
  • เป็นผุ้ป่วยโรคไต
  • ขาดสารอาหาร มีภาวะขาดแอลบูมิน เป็น โปรตีนจากไข่ขาว
  • เกิดภาวะการอักเสบที่ช่องท้อง เช่น ติดเชื้อวัณโรค โรคภูมิแพ้
  • เกิดภาวะโรคตับอ่อนอักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มสุรา หรือ การเกิดอุบัติเหตุกระทยที่ตับอ่อน
  • การอุดตันของหลอดเลือดใหญ่ที่ตับ

อาการโรคท้องมาน

สำหรับความรุนแรงของโรคท้องมาน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ เรียกว่า Grading of ascites โดยรายละเอียดดังนี้

  • ระดับที่ 1 ( Grade 1) มีอาการของโรคท้องมานเพียงเล็กน้อย สามารถตรวจพบได้โดยการอัลตร้าซาวน์
  • ระดับที่ 2 ( Grade 2) มีอาการของโรคปานกลาง การตรวจร่างกายประจำปี สามารถพบได้
  • ระดับที่ 3 ( Grade 3) มีอาการหนัก มีภาวะท้องตึงแน่น

ผู้ป่วยโรคท้องมาน สามารถสังเกตุอาการของโรคได้ โดยมีลักษณะของโรค ดังนี้

  • ท้องโต แน่นท้อง อาจทำให้หนังท้องปริและมีน้ำซึมออกมาได้ ในบางรายพบว่ามีสารน้ำในเยื่อหุ้มปอดร่วมด้วย
  • มีอาการเหนื่อยหอบและหายใจติดขัด
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • เบื่ออาหาร
  • อาการของป่วยจากตับ เช่น ดีซ่าน นมโต ฝ่ามือแดง เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคท้องมาน

การตรวจวินิจฉัยดรคแพทยืจะทำการ ตรวจร่างกาย และ สอบถามประวัติการเกิดโรคตับ โรคไต โรคหัวใจ และ โรคมะเร็ง แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของตับ ดูดน้ำในช่องท้องออกมาตรวจ อัลตราซาวน์ช่วยในการเจาะดูดสารน้ำในช่องท้อง

การรักษาโรคท้องมาน

การรักษาโรคท้องมาน ต้องทราบสาเหตุของการเกิดโรค ก่อนและรักษาที่สาเหตุของโรค โดยแนวทางการรักษาโรคท้องมาน การรักษาเพื่อลดระดับน้ำในท้องทำให้ผู้ป่วยสบายขึ้น ช่วยรักษาสมดุลของเกลือ และช่วยในการปรับละดับน้ำในร่างกายและหลอดเลือดมีรายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาอาการท้องมานขึ้นกับโรคที่เป็นสาเหตุ
  • ถ้าเกิดจากโรคมะเร็งแพร่กระจาย แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาด้วยการผ่าตัดและเคมีบำบัด
  • ปรับเรื่องการกินอาหาร ลดอาหารที่มีโซเดียม และ อาหารที่มีรสเค็ม
  • รักษาโรคตับ ในผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากโรคตับแข็ง ให้จำกัดปริมาณโซเดียมในร่างกาย
  • ให้ยาขับปัสสาวะ โดยขนาดของยาขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและการตอบสนอง แลเต้องให้ยาโดยหลีกเลี้ยงการปัสสาวะในเวลากลางคืน
  • เจาะช่องท้องเพื่อระบายน้ำ สามารถระบายน้ำได้ถึง 5 ลิตรต่อครั้ง
  • ผ่าตัดเพื่อทำทางระบายน้ำในช่องท้อง
  • ผ่าตัดเปลี่ยนตับ สำหรับผู้ป่วยโรคตับแข็งระยะรุนแรง หรือมีภาวะตับวาย

โรคท้องมาน ความผิดปรกติของร่างกายจากภาวะมีน้ำขังอยู่ในช่องท้องปริมาณมาก โดยเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ โรคหัวใจล้มเหลว โรคไต เป็นต้น การรักษาและการป้องกันโรคทำอย่างไร ท้องบวม โรคท้องโตผิดปรกติ

 


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove