มะเร็งต่อมลูกหมาก Prostate Cancer พบในเพศชาย ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ อาการของโรค เช่น ปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด แนวทางการรักษาและป้องกันอย่างไรมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคมะเร็ง โรคระบบขับถ่าย โรคระบบสืบพันธ์

ต่อมลูกหมาก ( prostate gland ) คือ อวัยวะหนึ่งของระบบสืบพันธุ์และระบบปัสสาวะของเพศชาย ต่อมลูกหมากทำหน้าที่ผลิตน้ำหล่อลื่นที่อยู่ในน้ำอสุจิ ( semen ) ต่อมลูกหมากแบ่งเป็นสองซีก (lobe) และ มีท่อปัสสาวะ (urethra) อยู่ตรงกลาง

มะเร็งต่อมลูกหมาก ( Prostate Cancer ) คือ ภาวะการเกิดเนื้องอก เนื้อร้าย ทีพบได้ในเพศชาย โรคนี้จะค่อยๆเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ ที่ต่อมลูกหมาก ในบางรายมะเร็งมีความรุนแรง เซลล์มะเร็งจากต่อมลูกหมาก สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆของร่างกายได้ โดยเฉพาะกระดูกและต่อมน้ำเหลือง โรคนี้ในระยะแรกไม่มีอาการ ระยะต่อมาอาจทำให้เกิดความเจ็บปวด ปัสสาวะลำบาก เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และ เสียชีวิตในที่สุด

โรคมะเร็งต่อมลูกหมากพบในผุ้ชายอายุประมาณ 70 ปี  ในปัจจุบันสามารถตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้เร็วขึ้น จากการตรวจโดยใช้นิ้วคลำทางทวาร และ การตรวจเลือดหาสาร PSA ผู้ชายอายุประมาณ 45 – 50 ปี ที่มีประวัติญาติพี่น้องป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรค

สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

โรคนี้จากความรู้ทางการแพทย์ ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคได้อย่างชัดเจน แต่พบว่าเกิดจากเซลล์ในต่อมลูกหมากผิดปกติ เจริญเติบโตรวดเร็วกว่าปกติ และก่อให้เกิดเนื้องอกลุกลามไปยังเนื้อเยื่อรอบข้าง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก
สามารถสรุป ปัจจัยของการเกิดโรค ได้ดังนี้

  • อายุ เพศชายคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีโอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากมากขึ้น
  • พันธุกรรม ในคนที่มีประวัติญาติพี่น้องป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคมากกว่าคนอื่น
  • เชื้อชาติ จากสถิติการเกิดโรคชายในประเทศตะวันตกและยุโรป มีโอกาสเกิดโรคมากกว่าชายเอเชีย
  • การกินอาหาร สำหรับคนที่ชอบรับประทานอาหารไขมันสูง และ รับประทานเนื้อแดง มีความเสี่ยงเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้

อาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ในระยะแรกจะไม่แสดงอาการผิดปรกติ แต่เมื่อมะเร็งเกิดขยายตัวขึ้นจนกดทับท่อปัสสาวะ ก็จะเริ่มแสดงอาการผิดปรกติที่ระบบการปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อย แสบเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะไม่สุด จนถึงปัสสาวะเป็นเลือดได้ ซึ่งอาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก สามารถสังเกตุได้จาก อาการ ดังต่อไปนี้

  • ปัสสาวะผิดปรกติ เช่น ปัสสาวะขัด ปัสสาวะแผ่วเบา ปวดปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด
  • น้ำหนักตัวลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • อ่อนเพลีย
  • มีอาการบวมตามร่างกายส่วนล่าง
  • ขาอ่อนล้า และ ขยับไม่ได้
  • มีอาการท้องผูก
  • เจ็บบริเวณเชิงกรานและหลังส่วนล่าง

ระยะของมะเร็งต่อมลูกหมาก

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก สามารถแบ่งระยะของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ถึง ระยะที่ 4 โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • มะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะที่ 1 พบเกิดมะเร็งเฉพาะที่ต่อมลูกหมากเพียงกลีบเดียว ไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะที่ 2 พบว่ามะเร็งมีขนาดใหญ่ และพบมะเร็งเกิดทั้งสองกลีบของต่อมลูกหมาก ซึ่งในระยะนี้ยังไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะที่ 3 พบว่ามะเร็งแพร่กระจายสู่ผิวด้านนอกของต่อมลูกหมาก และ ลุกลามไปยังท่อน้ำเชื้อ
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะที่ 4 พบว่ามีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งสู่กระดูกและต่อมน้ำเหลือง

การรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับการรักษามะเร็งที่ต่อมลูกหมาก แพทย์จะเลือกวิธีรักษาด้วยการผ่าตัด การฉายรังสี การทำเคมีบำบัด และ การใช้ฮอร์โมน แพทย์จะเลือกใช้วิธีทั้งหมดในการรักษา โดยเลือกตามความเหมาะสม จากปัจจัยต่างๆ เช่น ตำแหน่ง ขนาด ระยะของเซลล์มะเร็ง และ สภาพร่างกายและจิตใจ ของผู้ป่วย รายละเอียดของการรักษา มีดังต่อไปนี้

  • การผ่าตัด สำหรับการรักษาด้วยการผ่าตัด มี 2 วิธี คือ การผ่าตัดโดยใช้วิธีส่องกล้อง ( laparoscopic radical prostatectomy) และ การผ่าตัดโดยใช้แขนกลช่วยผ่าตัด (robotic–assisted da Vinci surgery หรือ da Vinci® prostatectomy)
  • การฉายรังสี โดยการฝังแร่ที่ต่อมลูกหมาก และ ฉายรังสี
  • การทำเคมีบำบัด ปัจจุบันวิธีการรักษานี้ให้ผลการรักษาที่ดี ผลข้างเคียงน้อย
  • การรักษาด้วยฮอร์โมน คืิอ การลดฮอร์โมนเพศชาย เป็นการรักษาร่วมกับการผ่าตัด ซึ่งการลดฮอร์โมนเพศชาย ทำโดยการใช้ยาต้านฮอร์โมน หรือ ผ่าตัดเอาอัณฑะออก

การป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับแนวทางการปฏิบัติตน เพื่อลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มีแนวทางการปฏิบัติตน ดังนี้

  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรรับประทานผัก ผลไม้และธัญพืช แต่ยังไม่มีข้อมูลพิสูจน์ได้ว่า ช่วยป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ แต่การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็นพื้นฐานการดูแลร่างกาย
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เมื่อถึงระยะอายุที่มีความเสี่ยง

มะเร็งต่อมลูกหมาก ( Prostate Cancer ) คือ เนื้องอกชนิดหนึ่งพบในเพศชาย ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ มีปัจจัยจาก เพศ อายุ เชื้อชาติ และ การกินอาหาร อาการของโรค เช่น ปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด รักษาอย่างไร และ ป้องกันอย่างไร

มะเร็งปอด Lung Cancer เนื้อเยื้อของปอดผิดปรกติเกิดเนื้องอก โรคมะเร็งปอดมักเกิดกับคนสูบบุหรี่ อาการไอเรื้อรัง หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุมะเร็งปอด โรคมะเร็งปอด การรักษามะเร็งปอด โรคมะเร็ง

มะเร็งปอด ( Lung cancer ) คือ ภาวะเซลล์ของเนื้อเยื้อปอด เกิดการแบ่งตัวผิดปกติไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมักไม่แสดงอาการในระยะแรก ซึ่งการดูแลรักษาร่างกายสามารถทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้นได้ หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะแรก สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการผ่าตัด

ชนิดของโรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอด สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก ( Non-small cell lung cancer – NSCLC ) และ  มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก ( Small cell lung cancer – SCLC )

  • มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก ( Non-small cell lung cancer – NSCLC ) มะเร็งปอดชนิดนี้พบได้ประมาณร้อยละ  80 ของมะเร็งปอดทั้งหมด มะเร็งปอดชนิด มี 3 ชนิดย่อย คือ ชนิดสะความัสเซลล์ ( Squamous cell carcinoma ) ชนิดเซลล์ขนาดใหญ่ ( Large cell carcinoma ) ชนิดอะดีโน ( Adenocarcinoma )
  • มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก ( Small cell lung cancer – SCLC ) มะเร็งปอดชนิดนี้พบได้ประมาณร้อยละ 20 ของมะเร็งปอดทั้งหมด มะเร็งชนิดนี้มีความรุนแรง แพร่กระจายได้เร็ว หากมะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง และ แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด จะทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปอด

สำหรับสาเหตุของโรคมะเร็งปอด ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดมะเร็งที่ชัดเจน แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การสูบบุหรี่ สำหรับการสูบบุหรี่ทำลายปอด เป็นปัจจัยสำคัญของโรคมะเร็งปอด ร้อยละ 90 ของคนสูบบุหรี่เป็นโรคมะเร็งปอด
  • การสูดดมควันบุหรี่ พบว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยมะเร็งปอด ไม่ได้สูบบุหรี่แต่สูดดมควันจากบุหรี่ ตามสถานที่เที่ยวตอนกลางคืน
  • การสูดดมฝุ่นระอองจากสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานาน เช่น การทำงานในเหมืองแร่ สถานที่ก่อสร้าง ทำงานตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น
  • การสูดดมก๊าซต่างๆเป็นเวลานาน เช่น ก๊าซเรดอน ( Radon ) เป็นก๊าซกัมมันตรังสีที่เกิดจากการสลายตัวของแร่ยูเรเนียม (Uranium)ในหินและดิน เป็นต้น
  • พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ทที่การกินผักและผลไม้น้อย
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ในกรณีทีมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
  • ภาวะความเสื่อมของร่างกาย ตามอายุที่มากขึ้น
  • ภาวะการรติดเชื้อเอชไอวี หรือ ป่วยโรคเกี่ยวกับปอดอย่างเรื่องรัง เช่น วัณโรค ถุงลมปอดโป่งพอง ภาวะเยื่อพังผืดในปอด เป็นต้น

อาการของโรคมะเร็งปอด

สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด นั้นส่วนมากจะไม่ค่อยแสดงอาการในระยะแรก แต่จะมีสัญญาณบางอย่างบ่งบอกว่าอาจการเกิดโรคมะเร็งปอดได้ สามารถสังเกตอาการต่างๆ ได้ดังนี้

  • มีอาการไอเรื้อรังเป็นเวลานาน
  • ไอเป็นเลือด
  • หายใจเหนื่อยหอบ
  • หายใจลำบาก
  • เจ็บหน้าอก
  • เบื่ออาหาร กลืนอาหารลำบาก
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุ
  • เจ็บและปวดเวลาหายใจหรือไอ
  • หายใจมีเสียงวีด
  • เสียงแหบ
  • ใบหน้าและคอบวม

การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์พัฒนาไปมาก การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด ทำได้แม่นยำมากขึ้น โดยเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรค มีดังนี้

  • การเอกซเรย์ทรวงอก ( Chest X-ray )
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีทีสแกน ( CT-scan )
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพทซีทีสแกน ( Positron Emission Tomography – Computerised Tomography : PET-CT Scan )
  • การส่องกล้อง และ การตัดชิ้นเนื้อ ( Bronchoscopy และ Biopsy )
  • การเจาะตัดชิ้นเนื้อผ่านผิวหนังด้วยเข็มขนาดเล็ก ( Percutaneous Needle Biopsy )
  • การส่องกล้องในช่องอก ( Mediastinoscopy )

การรักษาโรคมะเร็งปอด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคมะเร็งปอด นั้น ใช้การรักษาด้วยการผ่าตัด การทำเคมีบำบัด และ การฉายแสง ซึ่งการรักษามักใช้ทั้ง 3 วิธีร่วมกัน โดยขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแพทย์ จากความรุนแรงของโรค ชนิดของมะเร็งปอด และ วิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละบุคคล

  • การผ่าตัด ( Surgery ) จะผ่าเอาเนื้อเยื่อปอดบางส่วนที่มีเซลล์มะเร็งออก
  • การรักษาด้วยเคมีบำบัด ( Chemotherapy ) เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก และ ทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกาย
  • การฉายแสง ( Radiation Therapy ) เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง มักจะใช้ควบคู่กับวิธีการรักษาอื่น ๆ เช่น การผ่าตัด การทำเคมีบำบัด

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอด ไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคได้อย่างเด็ดขาด แต่เป็นแนวทางการปฏิบัติ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยแนวทางการปฏิบัติ มีดังนี้

  • ไม่สูบบุหรี่ และ เลิกสูบหรี่
  • หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อม ที่ต้องสูดดมควันบุหรี่ ควันพิษ หรือ ฝั่น ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ผ่อนคลายความตึงเครียด ฝึกคิดในแง่บวก

โรคมะเร็งปอด ( Lung Cancer ) คือ ความผิดปรกติของเนื้อเยื้อของปอด เกิดเนื้องอกผิดปรกติ จากสาเหตุต่างๆ โรคมะเร็งปอดมี 2 ชนิด อาการของโรคมะเร็งปอด การรักษามะเร็งปอดต้องทำอย่างไร การป้องกันการเกิดโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove