ซิฟิลิส ( Syphilis ) ติดเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมาพัลลิดุม ( Treponema pallidum ) ติดต่อจากการร่วมรัก ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดข้อ ผื่นแดง มีแผลที่อวัยวะสงวนโรคซิฟิลิส โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคซิฟิลิส ( Syphilis ) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมาพัลลิดุม ( Treponema pallidum ) เป็นลักษณะของโรคเรื้อรัง และ สามารถติดต่อกันได้ง่ายเนื่องจากผู้ป่วยโรคซิฟิลิสในระยะแรกที่สามารถแพร่เชื้อโรคได้มักไม่แสดงอาการของโรค การสัมผัสเชื้อโรคจากผู้มีเชื้อโรค สามารถติดต่อได้ทางการสัมผัสร่างกาย ผิวหนังมี่มีแผล รวมถึงการรับเชื้อของลูกจากแม่

สาเหตุของโรคซิฟิลิส

โรคซิฟิลิส เกิดจากเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมาพัลลิดุม ( Treponema pallidum ) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่รูปลักษณ์คล้ายเกลียวสว่าน ( Spirochete bacteria ) ชอบอยู่ในที่ที่มีความชื้น ตายง่ายหากอยู่ในที่ทีมีความแห้ง และ ถูกสบู่หรือยาฆ่าเชื้อ โดยการติดต่อของเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมาพัลลิดุม ( Treponema pallidum ) สามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิสในระยะที่ 1 รวมถึงการสัมผัสน้ำเหลืองที่ผิวหนังของผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิสในระยะที่ 2 นอกจากนี้เชื้อยังสามารถติดจากแม่ไปสู่ลูกในขณะตั้งครรภ์ได้ แต่เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมาพัลลิดุม ( Treponema pallidum ) อ่อนแอและตายได้ง่าย ดังนั้น เชื้อจึงไม่สามารถติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัสมือหรือเสื้อผ้า การนั่งโถส้วม การจับลูกบิดประตู การใช้ช้อนส้อม การเล่นในอ่างอาบน้ำหรือสระว่ายน้ำร่วมกัน

หากกล่าวโดยสรุปแล้วแบคทีเรียทรีโพนีมาพัลลิดุม ( Treponema pallidum ) เป็นเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคซิฟิลิส ซึ่งสามารถถ่ายทอดสู่คนและแพร่เชื้อจากการสัมผัสเชื้อโรค ซึ่งการติดต่อสามารถรับเชื้อผ่าน 3 ช่องทาง คือ เพศสัมพันธ์ การสัมผัสน้ำเหลืองจากแผล และ การติดต่อจากแม่สู่ลูก

อาการของโรคซิฟิลิส

สำหรับการแสดงอาการของโรคซิฟิลิส ในระยะแรกผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการ แต่จะมีอาการผื่นขึ้น ตุ่มน้ำใสขึ้น บริเวรที่ลับ ริมฝีปาก ปวดตามข้อกระดูก และ มีแผลขึ้นตามตัว หากไม่รักษาจนเชื้อโรคเจ้าสู่กระแสเลือดจะส่งผลต่ออวัยวะร่างกายต่างๆ ทั้งสมอง หัวใจ ระบบประสาท ซึงการแบ่งระยะของอาการโรคซิฟิริส สามารถแบ่งได้ 4 ระยะ ประกอบด้วย คือ ระยะแรก ( Primary Syphilis ) ระยะที่สอง (Secondary Syphilis) ระยะแฝง  ( Latent Stage ) และระยะที่สาม  ( Tertiary stage ) โดยรายละอียดของระยะของอาการ มีดังนี้

  • โรคซิฟิลิสระยะแรก ( Primary Syphilis ) ผู้ป่วยมีแผล ลักษณะริมแผลแข็ง หลังจากนั้นไม่เกิน 90 วัน จะมืตุ่มแดงๆที่อวัยวะเพศ ไม่แสดงอาการเจ็บแต่ขอบแผลจะนูน ตำแหน่งที่พบแผลบ่อย คือ อวัยวะเพศชาย อัณฑะ ทวารหนัก ช่องคลอด และ ริมฝีปาก รวมถึงมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งกดแล้วไม่เจ็บ
  • โรคซิฟิลิสระยะที่ 2 ( Secondary Syphilis ) จะแสดงอาการภายใน 180 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต ปวดตามข้อ มีผื่นสีแดงน้ำตาลขึ้นตามมือ เท้า แต่ไม่แสดงอาการคัน เกิดหูดในบริเวณที่อับชื้นของร่างกาย มีผื่นสีเทาจะขึ้นบริเวณปาก คอ และปากมดลูก ผมร่วง มีไข้ ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นๆหายๆ
  • โรคซิฟิลิสระยะแฝง ( Latent Stage ) ระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่มีอาการของโรคให้เห็น ระยะนี้ผู้ป่วยจะทราบว่าเป็นโรคด้วยการตรวจเลือดเท่านั้น
  • โรคซิฟิลิสระยะที่สาม ( Tertiary stage ) ระยะนี้เชื้อโรคจะเข้าสู่กระแสเลือดและไปทำลายอวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่น หัวใจ หลอดเลือด สมอง ระบบประสาทต่างๆ อาจทำให้ตาบอด หรือกระดูกหักง่าย ซึ่งระยะนี้เป็นระยะที่ไม่มีทางรักษาแล้ว

ภาวะแทรกซ้อนของโรคซิฟิลิส

หากเข้ารับการรักษาโรคซิฟิลิสอย่างทันท่วงที จะทำให้เกิดภาวะการเกิดดรคต่างๆต่อหัวใจและสมอง และสามารถทำให้เสียชีวิตในที่สุด โรคซิฟิลิสเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางระบบประสาทและระบบไหลเวียนโลหิตด้วย ซึ่งโรคที่มีสาเหตุจากการเกิดโรคซิฟิลิส มีดังนี้

  • โรคหลอดเลือดสมองแตก ตีบ ตัน หรือ ฉีกขาด ( Stroke )
  • โรคเยื่อหุ้มไขสันหลังอักเสบ ( Meningitis )
  • ความผิดปรกติการได้ยินเสียง
  • ความผิดปรกติการมองเห็น
  • ความจำเสื่อม
  • ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ( HIV ) คนที่ติดเชื้อซิฟิลิสทางการมีเพศสัมพันธ์ มีโอกาสที่จะติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ได้มากถึง 2 – 5 เท่าของคนทั่วไป

การรักษาโรคซิฟิลิส

สำหรับแนวทางการรักษาโรคซิฟิลิส สามารถรักษาได้โดยการให้ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา แพลลิดัม ( Treponema pallidum ) และ ระหว่างการรักษาห้ามมีเพศสัมพันธ์ และต้องเข้ารับการตรวจเลือดตามระยะที่หมอกำหนดจนกว่าผลตรวจเลือดได้รับการยืนยันว่าหายขาดแน่นอนแล้ว

  • สำหรับผู้ป่วยซิฟิลิสในระยะที่ 1 และ 2 รักษาด้วยการฉีดเบนซาทีนเพนิซิลลิน ( Benzathine penicillin ) ให้ในขนาด 2.4 ล้านยูนิตเข้ากล้ามเนื้อเพียงครั้งเดียว (สำหรับระยะที่ 2 อาจฉีดซ้ำอีกครั้งในอีก 1 สัปดาห์ต่อมา) แต่ถ้าผู้ป่วยแพ้ยานี้ แพทย์อาจให้รับประทานยาเตตราไซคลีน (Tetracycline) ครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง หรือดอกซีไซคลีน (Doxycycline) ครั้งละ 100 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 15 วัน แต่ถ้ารับประทานยาเตตราไซคลีนไม่ได้ แพทย์จะให้รับประทานยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) ในขนาดเดียวกันแทน นาน 15 วัน
  • สำหรับซิฟิลิสในระยะแฝง (เป็นมานานมากกว่า 2 ปี ตั้งแต่เริ่มเป็นแผลริมแข็ง) หรือแผลซิฟิลิสเรื้อรัง หรือซิฟิลิสเข้าระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular syphilis) แพทย์จะฉีดเบนซาทีนเพนิซิลลิน (Benzathine penicillin) ให้ครั้งละ 2.4 ล้านยูนิตเข้ากล้ามเนื้อ เป็นจำนวน 3 ครั้ง โดยฉีดห่างกันทุก 1 สัปดาห์ แต่ถ้าผู้ป่วยแพ้ยานี้ แพทย์จะให้รับประทานยาเตตราไซคลีน (Tetracycline), ดอกซีไซคลีน (Doxycycline) หรืออิริโทรมัยซิน (Erythromycin) ในขนาดดังกล่าวข้างต้นแทน นาน 30 วัน
  • ในรายที่เป็นซิฟิลิสเข้าระบบประสาท (Neurosyphilis) แพทย์จะให้การรักษาโดยการฉีดเพนิซิลลินจี (Penicillin G) ให้ในขนาด 2-4 ล้านยูนิต เข้าหลอดเลือดดำ ทุก 4 ชั่วโมง นาน 14 วัน แต่ถ้าผู้ป่วยแพ้ยานี้ แพทย์จะให้รับประทานยาดอกซีไซคลีน (Doxycycline) แทน โดยให้รับประทานครั้งละ 300 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง นาน 30 วัน
  • สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคซิฟิลิส แพทย์จะให้การรักษาตามระยะของโรคเหมือนผู้ป่วยทั่วไป ถ้าผู้ป่วยแพ้ยาเพนิซิลลิน แพทย์จะให้รับประทานยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) แทน โดยให้รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง นาน 30 วัน
  • สำหรับซิฟิลิสแต่กำเนิด แพทย์จะให้การรักษาโดยการฉีดเพนิซิลลินจี (Penicillin G) ให้ในขนาดวันละ 50,000 ยูนิต/กิโลกรัม โดยแบ่งให้วันละ 2 ครั้ง นาน 10 วัน

การป้องกันโรคซิฟิลิส

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคซิฟิลิส สามารถทำได้โดยการรักษาสุขอนามัยและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่มีโอกาสในการรับเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา แพลลิดัม ( Treponema pallidum ) ซึ่งแนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • คู่นอนควรจะต้องแจ้งถึงสถานะการติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ รวมทั้งซิฟิลิส เพื่อจะได้ป้องกันการติดเชื้อ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และใช้สารเสพติด เพราะจะทำให้ขาดสติและเพิ่มการมีเพศสัมพันธ์แบบเสี่ยงได้
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิส
  • หลีกเลี่ยงการเที่ยวหรือการสำส่อนทางเพศ และถ้าจะหลับนอนกับคนที่สงสัยว่าเป็นโรค ควรป้องกันการติดเชื้อโดยสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ซึ่งจะช่วยป้องกันได้เกือบ 100%
  • แผลของอวัยวะเพศ เช่น ซิฟิลิส เกิดได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ทั้งที่ถุงยางครอบถึงหรือไม่ถึงได้ การใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซิฟิสได้
  • การใช้ถุงยางอนามัยที่มีสารฆ่าเชื้ออสุจิ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Nonoxynol-9 นั้นไม่ได้ผลดีไปกว่าถุงยางที่ไม่มีสารชนิดนี้ในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงไม่แนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยที่มีสารชนิดนี้เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งซิฟิลิสไม่สามารถป้องกันได้ด้วยการล้างอวัยวะเพศ การปัสสาวะ หรือสวนล้างช่องคลอดทันทีหลังการมีเพศสัมพันธ์
  • ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศและร่างกายอยู่เสมอ รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ดีโดยการปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและช่วยลดโอกาสการติดเชื้อต่าง ๆ
  • ไปพบแพทย์เสมอเมื่อมีอาการดังกล่าว อย่ารักษาด้วยตัวเอง หรือไปพบแพทย์เมื่อมีความกังวลในอาการหรือสงสัยว่าตนเองอาจติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งรวมถึงซิฟิลิส

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

หูดหงอนไก่ ภาวะติดเชื้อไวรัส HPV อาการมีหูดขึ้นที่ มือ เท้า คอ อวัยวะเพศ หูด HPV ทำให้เสี่ยงโรคมะเร็งได้ ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคหูดหงอนไก่ HPV โรค โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ภาวะติดเชื้อ HPV  ( Human Papilloma virus ) เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่ด้วยการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่เชื้อไวรัส HPV มีมากกว่า 100 สายพันธุ์  HPV บางสายพันธุ์เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งชนิดต่างๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก  มะเร็งช่องปากและลำคอ เป็นต้น สามารถติดต่อได้ทั้งทางพันธุกรรม และ ทางเพศสัมพันธ์ทั้งชายและหญิง นอกจากนั้นยังสามารถติดต่อกันทางการร่วมเพศทางปาก คอหอย และ ทวารหนักได้

ปัจจุบันยังไม่มียารักษาการติดเชื้อไวรัส HPV ซึ่งแนวทางการรักษาโรคผู้ป่วยต้องดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง ผู้ที่ติดเชื้อ HPV ต้องเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี

สาเหตุของโรคหูดหงอนไก่

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ คือ การติดเชื้อไวรัส HPV จากการมีเพศสัมพันธ์ สามารถติดเชื้อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ทุกรูปแบบ ไม่วา่จะทางช่องคลอด ทวารหนัก ปาก หรือ การใช้อุปกรณ์เพื่อสนองความต้องการทางเพศร่วมกัน รวมถึงติดต่อทางผิวหนังจากรอยแผลต่างๆ และ สตรีมีครรภ์สามารถแพร่เชื้อสู่บุตรได้จากการคลอดลูก

ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัส HPV

สำหรับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงตอการเกิดโรคติดเชื้อไวรัส HPV นั้น พบว่ากลุ่มคนที่มีลักษณะและพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ มีความเสี่ยงของการเกิดโรคสูงที่สุด คือ

  1. คนที่สูบบุหรี่
  2. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์
  3. คนที่ขาดสารอาหารและขาดวิตามินบี 9
  4. กลุ่มคนที่มีโรคการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
  5. กลุ่มคนที่ร่างกายไม่แข็งแรง คนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ
  6. กลุ่มคนใช้ยาคุมกำเนิด นานกว่า 5 ปี
  7. กลุ่มหญิงและชายที่ชอบเปลี่ยนคู่นอน
  8. กลุ่มคนที่มีแผลหรือรอยขีดข่วนตามผิวหนังและสัมผัสคนที่มีเชื้อโรค
  9. กลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
  10. กลุ่มคนที่อยู่ในสถานที่ที่มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เช่น สระว่ายน้ำ เป็นต้น

อาการของโรคหูดหงอนไก่ ( HPV )

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อไวรัส HPV ส่วนมากมักจะไม่แสดงอาการของโรค แต่จะมีความผิดปรกติที่ผิวหนัง คือ เกิดหูดขึ้นโดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศ ผู้ป่วยหูดหงอนไก่ มี 4 ลักษณะ คือ หูดทั่วไป หูดแบบแบนราบ หูดฝ่าเท้า และ หูดอวัยวะเพศ ลักษณะของหูดจะแตกต่างกัน รายละเอียด ดังนี้

  • หูดทั่วไป ลักษณะของหูด เป็นตุ่มเล็ก ๆ ผิวขรุขระ สีเนื้อออกชมพู มักขึ้นตามมือ นิ้วมือ หรือ ข้อศอก ส่วนมากหูดลักษณะนี้ไม่อันตราย แต่อาจมีอาการเจ็บปวดบางครั้ง
  • หูดชนิดแบนราบ ลักษณะของหูด ขนาดเล็ก นูน ผิวเรียบ สีหูดจะเข้มกว่าสีผิว สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย ผู้หญิงมักเกิดบริเวณขา ผู้ชายมักพบบริเวณเครา
  • หูดฝ่าเท้า ลักษณะของหูด เป็นตุ่มแข็ง ผิวสัมผัสหยาบ มักขึ้นบริเวณส้นเท้า หูดจะทำให้รู้สึกเจ็บในระหว่างการยืนหรือเดิน
  • หูดอวัยวะเพศ เรียกว่า หูดหงอนไก่ ลักษณะเป็นติ่งเนื้อคล้ายดอกกะหล่ำที่อวัยวะเพศ หรือ ทวารหนัก มักเกิดอาการคันแต่ไม่มีอาการเจ็บ หูดที่อวัยวะเพศสามารถเป็นปัจจัยทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้

การรักษาโรคหูดหงอนไก่ ( HPV )

ปัจจุบันไม่มียารักษาอาการติดเชื้อไวรัส HPV  ซึ่งการรักษาโรคร่างกาคจะค่อยๆสร้างภูมิคุ้มกันโรคและกำจัดเชื้อโรคเอง แต่เป็นหูดที่มีความผิดปรกติ ลักษณะเสี่ยงว่าเป็นหูดมะเร็ง เช่น มะเร็งหรือหูด วิธีรักษาจะแตกต่างกันไปตามอาการของโรคที่พบ ซึ่งผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือฉายรังสี เพื่อไม่ให้มะเร็งลุกลาม

การป้องกันโรคหูดหงอนไก่ ( HPV )

โรคหูดหงอนไก่สามารถป้องกันได้โดยการรับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ Human papillomaviruses ( HPVs ) และ การป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อจากปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดโรค สามารถสรุปแนวทางการป้องกันโรค ได้ดังนี้

  1. ดูแลร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยให้รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่
  3. พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  4. หากมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช้คู่นอนให้ป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง
  5. เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV เพื่อลดโอกาสการเกิดมะเร็งปากมดลูก

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove