กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณมีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศกุยช่าย สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของกุยช่าย

กุยช่าย ( Garlic chives ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกุยช่าย คือ Allium tuberosum Rottler ex Spreng. สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว

ต้นกุยช่าย เป็นพืชสมุนไพร ในครัวเรือน นิยมนำใบและดอกกุยช่ายมาทำอาหาร สรรพคุณของกุยช่าย เช่น รักษาหวัด บำรุงกระดูก แก้ลมพิษ แก้ท้องอืด บำรุงไต บำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ กุยช่ายที่รู้จักกันในท้องตลาด มี กุยช่ายขาว และกุยช่ายเขียว ซึ่งคือพืชชนิดเดียวกัน แต่เทคนิคด้านการผลิตพืช ทำให้ใบกุยช่ายสามารถเป็นสีขาวได้ ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสมุนไพร ชื่อ กุยช่าย กัน

กุยช่าย นิยมนำใบมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร ตัวอย่างอาหารเมนูกุยช่าย เช่น ผัดเต้าหู้ ผัดหมูกรอบ ผัดหมี่ซั่ว ผัดหมีฮ่องกง เป็นต้น กุยช่ายเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออก แถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย ประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น กุยช่าย ภาษาอังกฤษ เรียก Garlic chives กุยช่าย มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Allium tuberosum Rottler ex Spreng. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับพลับพลึง สำหรับกุยช่ายมีชื่อเรียกอื่น ๆ อาทิเช่น ผักไม้กวาด, ผักแป้น, กูไฉ่ เป็นต้น

ลักษณะของต้นกุยช่าย

ต้นกุยช่าย เป็นพืชตระกูบล้มลุก ความสูงของต้นกุยช่ายประมาณไม่เกิน 45 เซนติเมตร มีเหง้าเล็กๆ และแตกกอ ลักษณะของต้นกุ่ยฉ่าย มีดังนี้

  • ใบของกุยช่าย เป็นใบแบน และยาว ขึ้นที่โคนต้นเหมือนต้นหญ้า
  • ดอกของกุยช่าย จะออกเป็นช่อ มีดอกสีขาว มีกลิ่นหอม
  • ก้านของช่อดอกกุยช่าย มีความยาวประมาณ 45 เซนติเมตร
  • ผลของกุยช่าย มีลักษณะกลม เมล็ดของกุยช่าย มีสีน้ำตาล ลักษณะแบน

คุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของใบกุยช่ายและดอกกุยช่าย พบว่า ต้นกุยช่ายขนาด 100 กรัม สามารถให้พลังงาน 28 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ มากมายประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม กากใยอาหาร 3.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม เบต้าแคโรทีน 136.79 ไมโครกรีม ธาตุแคลเซียม 98 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.5 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม ในการศึกษาดอกกุยช่ายขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.3 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม เบต้าแคโรทีน 152.92 ไมโครกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 31 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกุยช่าย

สำหรับ ประโยชน์ของกุยช่าย ด้านการรักษาโรคต่างๆ นั้่น สามารถใช้กุยช่าย ตั้งแต่ ต้น ใบ ราก เมล็ด ดอก รายละเอียดของ สรรพคุณของกุยช่าย มีดังนี้

  • ใบกุยช่าย ช่วยบำรุงกระดูก กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ปัญหาการหลั่งเร็วในเพศชาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคเบาหวาน ช่วยรักษาโรคหูน้ำหนวก เป็นยาแก้หวัด แก้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาแผลริดสีดวงทวาร ช่วยแก้โรคนิ่ว รักษาหนองในได้ บำรุงไต แก้พิษแมลงกัดต่อย รักษาห้อเลือด รักษาอาการฟกช้ำ รักษาแผลเป็นหนอง บำรุงน้ำนม ช่วยลดอักเสบ
  • รากกุยช่าย ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล แก้อาการอาเจียน มีฤทธิ์ในการช่วยห้ามเหงื่อ ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก ช่วยแก้อาการปัสสาวะขัด
  • เมล็ดของกุยช่าย ช่วยอุดฟัน ป้องกันฟันผุ ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาฆ่าแมลง
    ช่วยแก้อาเจียน ด้วยการใช้ต้นกุยช่ายนำมาคั้นเอาแต่น้ำผสมกับเกลือเล็กน้อย หรือจะผสมกับน้ำขิงสักเล็กน้อยอุ่นให้
  • ต้นกุยช่าย ช่วยรักษาอาการท้องเสีย ช่วยแก้โรคนิ่ว ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี รักษาโรคหนองใน บำรุงน้ำนม ลดอาการอักเสบ

ข้อควรระวังในการบริโภคกุยช่าย

  • กุยช่ายมีสรรพคุณให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย หากรับประทานมากเกินไปจะทำให้ตัวร้อน และร้อนในได้
  • ไม่ควรดื่มสุรา ร่วมกับกุยช่าย เนื่องจากกุยช่ายทให้ร่างกายร้อนขึ้น และสุราก็มีฤทธิ์ร้อนเช่นกัน อาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • กุยช่ายกระตุ้นการทำงานของระบบลำไส้ หากมีอาการท้องเสีย หรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรกินกุยช่าย
  • กุยช่ายแก่ จะมีกากใยอาหารมาก ในการรับประทานกุยช่าย จะทำให้ระบบลำไส้ ทำงานหนักมากขึ้น

กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ

มะเขือพวง สมุนไพร สรรพคุณมะเขือพวง ช่วยเจริญอาหาร ย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย ช่วยบำรุงเลือด ช่วยลดเบาหวาน ช่วยเผาผลาญไขมัน ผักพื้นบ้าน ประโยชน์ของมะเขือพวงมะเขือพวง สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของมะเขือพวง

ต้นมะเขือพวง สมุนไพร คู่ครัวไทย เป็นสมุนไพรช่วยบำรุงสุขภาพ มากมาย สรรพคุณมะเขือพวง ช่วยเจริญอาหาร ย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยบำรุงเลือด ช่วยลดเบาหวาน ช่วยเผาผลาญไขมัน มะเขือพวง เป็นพืชผักสมุนไพร และนิยมปลูกจนกลายเป็นพืชผักสวน  นิยมนำผลมาประกอบอาหาร ผักพื้นบ้านของไทย

มะเขือพวง ภาษาอังกฤษ เรียก Pea Eggplant มะเขือพวง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Solanum torvum Sw. มะเขือพวง มีชื่ออื่นๆ อาทิ เช่น มะเขือละคร มะแว้งช้าง มะแคว้งกุลา หมากแข้ง เขือน้อย เขือพวง เขือเทศ ลูกแว้ง เป็นต้น ต้นมะเขือพวง เป็นพืชในเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา เป็นพืชที่ทนต่อโรคสูง สำหรับประเทศไทย นิยมนำผลมะเขือพวงมาทำอาหาร ไม่ว่าจะเป็น แกงป่า แกงคั่วปลาไหล แกงอ่อมปลาดุก แกงเขียวหวาน น้ำพริกกะปิ น้ำพริกแมงดา น้ำพริกกุ้งสด น้ำพริกไข่เค็ม ปลาร้าทรงเครื่อง ผัดเผ็ดต่างๆ เป็นต้น

มะเขือพวง มีสาร อยู่ 2 กลุ่ม ที่มีความสำคัญ เป็นสารในกลุ่มไฟโตนิวเทรียนท์ และสารกลุ่มอัลคาลอยด์ มาทำความรู้จักกับสาร 2 กลุ่มนี้ ว่ามีประโยชน์อย่างไร

  • สารกลุ่มไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrient) สารอาหารเหล่านี้จะช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายให้ดีขึ้น  สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ สารสำคัญที่เป็นสารในกลุ่มนี้ คือ Torvoside และซาโปนิน เป็นสารที่ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด กระตุ้นให้ตับนำโคเลสเตอรอลในเลือดไปใช้มากขึ้น ยับยั้งการดูดซึมโคเลสเตอรอลในลำไส้ด้วย ป้องกันโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด มีฤทธิ์ขับเสมหะ เป็นยาเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • สารกลุ่มอัลคาลอยด์ (Alkaloids) สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์เป็นด่าง รสขม ไม่มีสี มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท และอวัยวะต่างๆ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย อัลคาลอยด์เป็นสารที่สลายตัวได้ง่าย ซึ่งหากนำมาผ่านความร้อนแล้ว สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย สารกลุ่มนี้มีสรรพคุณในการต้านโรคมะเร็ง ยับยั้งการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์มะเร็ง

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือพวง

การศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผลมะเขือพวง ขนาด 100 กรัม พบว่า ผลมะเขือพวงให้พลังงาน 24 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ อาทิ เช่น คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม น้ำตาล 2.35 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.19 กรัม โปรตีน 1.01 กรัม วิตามีนบี1 0.039 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.037 มิลลิกรัม สารไนอะซิน 0.649 มิลลิกรัม กรดแพนโทเทนิก 0.281 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.084 มิลลิกรัม กรดโฟเลต 22 ไมโครกรัม วิตามินซี 22 มิลลิกรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.24 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 14 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 230 มิลลิกรัม สังกะสี 0.16 มิลลิกรัม และธาตุแมงกานีส 0.25 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นมะเขือพวง

ต้นมะเขือพวง เป็น พืชล้มลุก ลำต้นมีความสูง 1 ถึง 4 เมตร กิ่งก้านแตกสาขามากมาย เป็นลักษณะพุ่ม ใบมะเขือพวง ตรงข้ามกิ่งก้าน ใบเป็นมีรูปไข่ สีเขียว ดอกของมะเขือพวง ออกเป็นช่อ เป็นลักษณะรูปกรวย มีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ ดอกสีขาวหรือสีม่วง และเกสรสีเหลือง ผลของมะเขือพวง เป็นลักษณะกลม ขนาดของผลประมาณ 1 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลอ่อนจะมีรสขม แต่ผลสุกจะเป็นสีเหลือง รสฝาด เปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะกลม แบน มีสีน้ำตาล

สรรพคุณของมะเขือพวง

สำหรับการใช้ ประโยชน์ของมะเขือพวง ด้านสมุนไพร นั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ทั้งต้น เมล็ด ผล ใบ และราก ประโยชน์ของมะเขือพวง มีรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดของมะเขือพวง ช่วยแก้ปวดฟัน
  • ผลของมะเขือพวง ช่วยบำรุงไต ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผลกระเพาะอาหาร รักษาท้องผูก ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ บำรุงสายตา บำรุงเลือด ช่วยให้นอนหลับสบาย รักษาความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอล ช่วยดูดซับไขมัน ช่วยขับเสมหะ ป้องกันมะเร็ง
  • ทั้งต้นมะเขือพวง ช่วยรักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน รักษาฝี รักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ใบของมะเขือพวง ช่วยรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย ใช้ห้ามเลือด รักษาโรคผิวหนัง แก้ฟกช้ำ แก้ปวดตามข้อและกระดูก ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยลดไข้ ขับเหงื่อ ขับของเสียออกจากร่างกาย
  • รากของมะเขือพวง ช่วยรักษาแผล รักษาตาปลา รักษาเท้าแตก

การปลูกมะเขือพวง

การปลูกมะเขือพวง นั้นง่ายมาก การขยายพันธ์มะเขือพวงสามารถทำได้โดยเมล็ดมะเขือพวง การปักชำลำต้น การปักชำราก การปักชำยอด การตอนกิ่ง หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และให้ผลผลิตตลอดทั้งปี เป็นผักที่ปลูกตามครัวเรือน มีเรื่องที่สำคัญ เป็นเรื่องการเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยวผลผลิต รายละเอียดมีดังนี้

  • การเตรียมดิน มะเขือพวงชอบดินร่วน การเตรียมปลูกมะเขือพวง ให้ยกร่องเป็นแปลง ระยะห่างระหว่างต้น 2-3 เมตร
  • การปลูกมะเขือพวง มะเขือพวงสามารถปลูกได้ในทุกภาคของประเทศไทย และปลูกได้ตลอดปี สามารถเลือกการปลูกได้ตามต้องการ เช่น เมล็ดมะเขือพวง การปักชำลำต้น การปักชำราก การปักชำยอด การตอนกิ่ง หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สำหรับการเพาะเมล็ด นั้น เพาะในกระบะ ในกระถางหรือในถุง อายุได้ 1 เดือน ก็สามารถย้ายลงแปลงที่เตรียมไว้ได้
  • การดูแลมะเขือพวง ให้หมั่นพรวนดิน รดน้ำสม่ำเสมอ หากบำรุงด้วยฮอร์โมน โดยการฉีดพ่นทางใบในทุกๆ 10 วัน ช่วยให้มะเขือพวงออกดอกดก ติดลูกดก
  • การเก็บเกี่ยวมะเขือพวง สามารถเก็บเกี่ยวหลังจากมะเขือพวง อายุ 120 วัน และหากบำรุงดีๆ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานถึง 3 ปี

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove