กัญชา สมุนไพรแสนวิเศษ มีทั้งประโยชน์และโทษ ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท รักษามะเร็งได้ ต้นกัญชาเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยผ่อนคลาย ช่วยเจริญอาหาร โทษของกัญชามีอะไรบ้าง

กัญชา สมุนไพร

ปัจจุบัน การครอบครองกัญชาผิดกฏหมายในประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก กัญชา เป็นสารเสพติดออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท สิ่งที่ทำให้กัญชาออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท คือ เตตระไฮโดรแคนนาบินอล ( THC ) เป็นสารประกอบชนิดหนึ่งจาก 483 ชนิด การใช้กัญชา ด้วยการเสพ สูบดม หรือ บริโภคน้ำมันกัญชา จะทำให้เกิดอาการเคลิ้ม ผ่อนคลาย และอยากกินอาหารเพิ่มขึ้น แต่ทำให้เกิดผลข้าวเคียงสามารถสังเกตุได้ คือ ปากแห้ง การเคลื่อนไหวร่างกายช้าลง ตาแดง เป็นต้น

ต้นกัญชา ภาาอังกฤษ เรียก Cannabis ชื่อวิทยาศาสตร์ของกัญชา คือ Cannabis sativa L. ชื่อเรียกอื่นๆของกัญชา เช่น ปาง ยานอ คุนเช้า คุณเช้า ต้าหมา เป็นต้น กัญชา มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย มีการปลูกมากตามแนวเขาทางภาคเหนือของประเทศไทย และกระจายไปทั่วโลก ทวีปแอฟริกา ทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาเหนือและใต้ และสหรัฐอเมริกา

ลักษณะของต้นกัญชา

ต้นกัญชา เป็นพืชล้มลุก สามารถ ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ถ้าปลูกในดินร่วนซุยและมีอาหารอุดมสมบูรณ์จะงอกงามดีมาก ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ลักษณะของต้นกัญชา มีดังนี้

  • ลำต้นกัญชา ลักษณะลำต้นตั้งตรง ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีขนสีเขียวอมเทาและไม่ค่อยแตกสาขา ความสูงได้ประมาณ 1 เมตร
  • ใบกัญชา ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ขนาดใบที่ฝ่ามือ ใบลักษณะเป็นแฉกๆ 5 ถึง 8 แฉก ใบยาวรี ปลายใบแหลม ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบเป็นสีเทาอ่อน ใบมีกลิ่นเหม็นเขียว
  • ดอกกัญชา ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ดอกออกตามปลายกิ่งและง่ามใบ ดอกกัญชาเป็นสีเหลือง และ สีเขียว
  • ผลกัญชา ลักษณะเป็นผลแห้ง มีขนาดเล็ก ผลเป็นรูปรีมน ผลมีผิวเรียบและเป็นมัน สีน้ำตาล ในผลมีเมล็ดขนาดเล็กลักษณะกลมๆ

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกัญชา

มีการศึกษาสารเคมีและสารอาหารในกัญชา พบว่ามี สารcannabinol สารcannabidiol สารtetrahydrocannabinol (THC) ย่ำมันหอมระเหยของกัญชา มีสารcannabichromenic acid สารlinolledie acid สารlecihin โปรตีน วิตามินบี1 วิตามินบี2 และ choline เป็นต้น

  • สารtetrahydrocannabinol (THC) สามารถใช้รักษาโรคได้หลายอาการ เช่น แก้ปวด ลดอาการเกร็ง รักษาอาการกล้ามเนื้อชักกระตุก รักษาโรคพาร์กินสัน รักษาโรคอัลไซเมอร์
  • สาร cannabinol สามารถใช้รักษาอาการปวด แต่สรรพคุณยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด และมีฤทธิ์ช่วยให้ผ่อนคลาย เคลิ้ม และ ทำให้ความจำเสื่อม

สรรพคุณของกัญชา

สำหรับการใช้ประโยชนืจากกัญชา ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก เมล็ด ใบ ดอก หรือ ทั้งต้น สรรพคุณของกัญชา มีดังนี้

  • เมล็ดกัญชา สรรพคุณเป็นยาชูกำลัง ช่วยเจริญอาหาร แก้ปวดท้อง แก้ท้องร่วง แก้กระหายน้ำ เป็นยาคุมกำเนิดสำหรับสตรี
  • ยอดอ่อนใบกัญชา สรรพคุณเป็นยาช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท ทำให้นอนหลับ แก้บปวด
  • ดอกกัญชา สรรพคุณช่วยผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเสมหะ
  • ใบกัญชา สรรพคุณบำรุงกำลัง รักษาโรคหอบหืด ช่วยขยายหลอดลม
  • ทั้งต้นกัญชา สรรพคุณช่วยให้ประจำเดือนมาตามปรกติ รักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลือน รักษากล้ามเนื้อกระตุก

โทษของกัญชา

กัญชา มีทั้งประโยชน์และโทษ การสูบกัญชาทำให้เกิดการเสพติด ทำลายระบบประสาทและสมอง ซึ่งการใช้ประโยชน์จากกัญชา ต้องเลือกใช้เฉพาะส่วนที่มีประโยชน์ โทษของกัญชา มีดังนี้

  • การเสพกัญชา ส่งผลต่อระบบประสาทและสมอง ผู้เสพกัญชาจะมีอาการ คล้ายเมาเหล้า เซื่องซึม และ ง่วงนอน หากเสพในปริมาณมากติดตอกันนานๆ จะเกิดอาการหลอน เห็นภาพลวงตา หูแว่ว หวาดระแวง ความคิดสับสน และควบคุมตัวเองไม่ได้
  • การเสพกัญชา ผู้เสพบางราย อาจสูญเสียความทรงจำได้ บางคนมีปัญหาเรื่องการทรงตัว กัญชามีฤทธิ์ทำลายสมรรถภาพทางกาย
  • การเสพกัญชาทำให้เสื่ิมสมรรถภาพทางเพศ ทำลายความรู้สึกทางเพศ ทำให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเพศชายลดลง

กัญชา พืชที่มีทั้งประโยชน์และโทษ มีฤทธิ์ต่อจิตประสาทและเป็นยารักษาโรคได้ ลักษณะของต้นกัญชา เป็นอย่างไร สรรพคุณของกัญชา ช่วยผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับ ช่วยเจริญอาหาร โทษของกัญชา มีอะไรบ้าง

ลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม สรรพคุณขับปัสสาวะ ช่วยขับประจำเดือน ลดความดันโลหิต ลดความเป็นพิษต่อตับ ลักษณะของต้นลูกใต้ใบเป็นอย่างไร โทษของลูกใต้ใบมีอะไรบ้าง

ลูกใต้ใบ

ลูกใต้ใบ ภาษาอังกฤษ เรียก Egg woman พืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ทวีปอเมริกา ทวีปแอฟริกา และทวีปเอเชีย ชื่อวิทยาศาสตร์ของลูกใต้ใบ คือ Phyllanthus amarus Schumach. & Thonn. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของลูกใต้ใบ เช่น หญ้าใต้ใบ ต้นใต้ใบ หญ้าลูกใต้ใบ หมากไข่หลัง ไฟเดือนห้า หญ้าใต้ใบขาว หน่วยใต้ใบ มะขามป้อมดิน จูเกี๋ยเช่า เป็นต้น

ลูกใต้ใบ พืชตระกูลเดียวกับมะขาป้อม พืชที่มีประโยชน์ทางสมุนไพร สรรพคุณรักษาโรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยขับประจำเดือน ลดความดันโลหิต ลดความเป็นพิษต่อตับ

ชนิดของลูกใต้ใบ

สำหรับต้นลูกใต้ใย สามารถแบ่งชนิดได้ 4 ชนิด ประกอบด้วย

  • Phyllanthus amarus Schumach. & Thonn.
  • Phyllanthus debilis Klein ex Willd.
  • Phyllanthus urinaria L. (หญ้าใต้ใบ)
  • Phyllanthus virgatus G.Forst.

ในประเทศไทยมีการค้นพบลูกใต้ใบเพิ่มเติมอีก 3 ชนิด คือ ลูกใต้ใบดอกขาว ( Phyllanthus sp.1 ) ลูกใต้ใบตีนชี้ ( Phyllanthus sp.2 ) และ ลูกใต้ใบหัวหมด ( Phyllanthus sp.3 )

ลักษณะของต้นลูกใต้ใบ

ต้นลูกใต้ใบ เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น อายุเพียงปีเดียว ลักษณะของต้ยลูกใต้ใบ มีดังนี้

  • ลำต้นลูกใต้ใบ ลำต้นมีรสขมมาก ความสูงประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นมีขน แตกกิ่งก้านสาขามากมาย
  • ใบลูกใต้ใบ เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ใบแบบขนนกชั้นเดียว โคนใบมนแคบ ปลายใบมนกว้าง มีหูใบ สีขาวนวล
  • ดอกลูกใต้ใบ ดอกเป็นช่อ ขนาดเล็ก สีขาว ดอกออกบริเวณโคนของก้านใบ กลีบดอกเป็นรูปไข่ ขอบกลีบมีสีอ่อน
  • ผลลูกใต้ใบ ลักษณะกลมแบน ผลของผิวเรียบ สีเขียวอ่อน ผลจะเกาะติดที่ใต้โคนใบ

คุณค่าทางโภชนาการของลูกใต้ใบ

คุณค่าทางโภชนาการของลูกใต้ใบ มีสารอาการสำคัญ ประกอบด้วย ธาตุโซเดียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุอะลูมิเนียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคดเมียม และ สารหนู

สารเคมีที่พบในลูกใต้ใบ ประกอบด้วย สารแทนนิน ( Tannins ) ฟลาโวนอยด์ ( Flavonoids ) ลิกแนนส์ ( Lignans ) ไกลโคไซด์ ( Glycosides ) และ ซาโปนิน ( Saponin ) เป็นต้น

สรรพคุณลูกใต้ใบ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากลูกใต้ใบ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ทั้งตน ใบ และ ผล สรรพคุณของลูกใต้ใบ มีดังนี้

  • รากลูกใต้ใบ สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยลดไข้ รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว
  • ใบลูกใต้ใบ สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา รักษาโรคตา ช่วยลดไข้ รักษามาลาเรีย แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการคัน รักษาแผลสด รักษาแผลฟกช้ำ
  • ทั้งต้นลูกใต้ใบ สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยลดไข้ แก้ไอ แก้หืด แก้กระหายน้ำ  ช่วยขับเสมหะ รักษาดีซ่าน บำรุงสายตา แก้ท้องเสีย ป้องกันพยาธิในเด็ก ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับระดูขาว ชวยขับประจำเดือน รักษาไข้ทับระดู รักษากามโรค รักษาเริม รักษาฝี
  • ผลลูกใต้ใบ สรรพคุณช่วยลดไข้ แก้กระหายน้ำ รักษาพิษตาซาง บำรุงตับ แก้ปวดหลัง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

โทษของลูกใต้ใบ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากลูกใต้ใบ มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • ลูกใต้ใบมีสรรพคุณขับประจำเดือน สำหรับสตรีมีครรภ์ห้ามใช้ลูกใต้ใบ เพราะ อาจเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์
  • สำหรับผู้ป่วยโรคตับ ก่อนใช้สมุนไพรลูกใต้ใบ ควรศึกษาให้ละเอียด เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม สรรพคุณ โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยขับประจำเดือน ลดความดันโลหิต ลดความเป็นพิษต่อตับ ลักษณะของต้นลูกใต้ใบเป็นอย่างไร โทษของลูกใต้ใบ มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove