สะเดา Siamese neem tree พืชพื้นบ้าน สมุนไพร สรรพคุณช่วยดูแลช่องปาก ถ่ายพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง ลดความดันโลหิต ลดไข้ ไล่แมลง ช่วยเจริญอาหาร โทษของสะเดาเป็นอย่างไร

สะเดา พืชพื้นบ้าน สรรพคุณสะเดา

ต้นสะเดา ภาษาอังกฤษ เรียก Siamese neem tree. ชื่อวิทยาศาสตร์ของสะเดา คือ Azadirachta indica A. Juss. Var. siamensis Veleton. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของสะเดา เช่น สะเลียม กะเดา จะตัง สะเดาบ้าน เดา กระเดา จะดัง จะตัง ผักสะเลม ลำต๋าว สะเรียม ตะหม่าเหมาะ ควินิน สะเดาอินเดีย ไม้เดา เป็นต้น สะเดาเป็นพืชท้องถิ่นในแถบประเทศพม่าและอินเดีย พบมากในป่าแล้งแถบประเทศปากีสถาน ศรีลังกา มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย

ต้นสะเดาในประเทศไทย

คนไทยเชื่อว่าต้นสะเดาเป็นไม้มงคล เชื่อกันว่าหากปลูกสะเดาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้านจะช่วยป้องกันโรคร้ายต่างๆ กิ่งและใบของสะเดาช่วยป้องกันภูตผีปีศาจได้ ต้นสะเดาเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดอุทัยธานี

สารสกัดสะเดาจากเมล็ดและใบ สามารถใช้ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่น ด้วงเต๋า ตั๊กแตน เพลี้ยกระโดดสีเขียว เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว มอดข้าวโพดผีเสื้อกิน มอดแป้ง แมลงหวี่ขาวยาสูบ แมลงวันผลไม้ ใบส้ม หนอนกอ หนอนกอสีครีม หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนใยกะหล่ำ หนอนใยผัก เป็นต้น สารสกัดจากสะเดาชื่อ อาซาดิเรซติน ( Azadirachtin ) ใช้เป็นส่วนผสมทำยาฆ่าแมลง ฉีดในสวนผักผลไม้ได้โดยไม่มีสารพิษตกค้าง ไม่เป็นอันตราย และไม่ทำลายศัตรูธรรมชาติ

ชนิดของสะเดา

สะเดาในประเทศไทยมี 3 ชนิดหลักๆ คือ สะเดาไทย(สะเดาบ้าน) สะเดาอินเดีย และ สะเดาช้าง ซึ่งรายละเอียด ดังนี้

  • สะเดาไทย หรือ สะเดาบ้าน มี 2 ชนิด คือ ชนิดขม และ ชนิดมัน ลักษณะของใบสะเดาชนิดนี้จะหยักเป็นฟันเลื่อย ปลายของฟันเลื่อยทู่ โคนใบเบี้ยวแต่กว้างกว่า ปลายใบแหลม
  • สะเดาอินเดีย ลักษณะของสะเดาชนิดนี้ ขอบใบเป็นหยักคล้ายฟันเลื่อย ปลายของฟันเลื่อยแหลม ปลายใบมีลักษณะแหลมเรียวแคบมาก ส่วนโคนใบเบี้ยว
  • สะเดาช้าง หรือ สะเดาเทียม สะเดาชนิดนี้ลักษณะขอบใบจะเรียบ ปลายใบเป็นติ่งแหลม ขนาดของใบใหญ่ และผลใหญ่

ลักษณะของต้นสะเดา

ต้นสะเดา เป็นไม้ยืนต้น ความสูงประมาณ 7 เมตร เนื้อไม้ มีสีแดงเข้มปนน้ำตาล เสี้ยนค่อนข้างสับสนเป็นริ้วๆ แคบ เนื้อหยาบเป็นมัน เลื่อม แข็งทนทาน แกนมีสีน้ำตาลแดง ลักษณะของต้นสะเดา มีดังนี้

  • ลำต้นสะเดา เป็นพันธุ์ไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบตลอดปี เปลือกไม้ค่อนข้างหนาแตกเป็นร่องตื้นๆ หรือเป็นสะเก็ดยาวๆ เยื้องสลับกัน สีน้ำตาลเทา เปลือกของกิ่งค่อนข้างเรียบ
  • ใบสะเดา ลักษณะใบ ขอบใบจะหยักเล็กน้อย สีเขียวเข้ม
  • ดอกสะเดา ลักษณะดอก ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว กลิ่นหอมอ่อนๆ
  • ผลและเมล็ดสะเดา ลักษณะคล้ายผลองุ่น ผลสุกสีเหลืองอมเขียว ลักษณะกลมรี รสหวานเล็กน้อย เมล็ดมีผิวค่อนข้างเรียบ ลักษณะกลมรี

การปลูกสะเดา สามารถปลูกได้ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และก่อนปลูกควรไถพรวนแปลงอีกรอบ และตากดินนาน 3-5 วัน วิธีการปลูก เตรียมต้นกล้าสำหรับปลูกที่มีอายุ 3-5 เดือน และมีความสูงประมาณ 20 เซ็นติเมตร จากนั้นนำลงแปลงปลูก ขุดหลุมในระยะระหว่างหลุมประมาณ 3 เมตร ควรให้ขนานกับแนวของดวงอาทิตย์ในทิศตะวันออก-ตะวันตก เพื่อให้ต้นสะเดาสามารถรับแสงได้อย่างทั่วถึง

คุณค่าทางโภชนาการของสะเดา

สำหรับการรับประทานสะเดาเป็นอาหาร นิยมรับประทานยอดสะเดาเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของยอดสะเดา ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 76 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย น้ำ 77.9 กรัม แคลเซี่ยม 354 มิลลิกรัม โปรตีน 5.4 กรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 12.5 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม กากใยอาหาร 2.2 กรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 194 มิลลิกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.06 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 3611 ไมโครกรัม วิตามินบีสอง 0.07 มิลลิกรัม

นอกจากนี้ในสะเดาพบว่ามีสารสำคัญที่มีประโยชน์ เช่น ใบสะเดามี quercetin และสารพวก limonoid ได้แก่ nimbolide และ nimbic acid ในเมล็ดสะเดามี Azadirachtin ประมาณ 0.4-1% ในเปลือกต้นสะเดามีสาร nimbin และ desacetylnimbin

สรรพคุณทางสมุนไพรของสะเดา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากสะเดา ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้ เช่น ยอดอ่อน ขนอ่อน เปลือกต้น ก้ายใบ กระพี้ ยาง แก่น ราก ใบ ผล เมล็ด ซึ่งรายละเอียดสรรพคุณของสะเดา มีดังนี้

  • ดอกสะเดาและยอดอ่อนสะเดา สามารถใช้ แก้พิษโลหิต หยุดเลือดกำเดา รักษาริดสีดวงในลำคอ บำรุงธาตุ ช่วยขับลม
  • ขนอ่อนสะเดา สามารถใช้ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ
  • เปลือกต้นสะเดา ใช้ลดไข้ ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องเดิน
  • ก้านใบสะเดา สามารถใช้ลดไข้ นำมาทำเป็นยารักษาโรคมาลาเรีย
  • กระพี้ สามารถใช้รักษาถุงน้ำดีอักเสบ
  • ยางของต้นสะเดา ใช้ในการดับพิษร้อน
  • แก่นสะเดา รักษาอาการแก้อาเจียน ช่วยขับเสมหะ
  • รากสะเดา สามารถนำมาใช้รักษาโรคผิวหนัง ขับเสมหะ
  • ใบสะเดา และผลสะเดา สามารถใช้ทำเป็นยาฆ่าแมลง และบำรุงธาตุ
  • ผลของสะเดา จะมีรสขม นิยมนำมาใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ เป็นยาระบาย รักษาโรคหัวใจเดินผิดปกติ
  • เปลือกของรากสะเดา จะมีรสฝาด ใช้ลดไข้ ทำให้อาเจียน และใช่รักษาโรคผิวหนัง
  • เมล็ดสะเดา สามารถนำมาสกัดน้ำมัน และสามารถใช้รักษาโรคผิวหนัง และทำเป็นยาฆ่าแมลง

โทษของสะเดา

สำหรับการใช้ประโยชน์ขากสะเดา มีข้อควรระวัง ดังนี้

  1. ห้ามบริโภคสะเดาในคนที่มีความดันต่ำ เนื่องจากสะเดามีฤทธ์ให้ความดันโลหิตต่ำลง
  2. สะเดา เป็น ยาเย็น มีรสขมอาจทำให้ท้องอืด เกิดลมในกระเพาะได้
  3. สำหรับหญิงที่กำลังตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร การรับประทานสะเดาอาจทำให้เกิดการแท้งบุตรและทำให้ไม่มีน้ำนมได้
  4. สะเดาอาจเป็นอันตรายต่ออสุจิ รวมถึงลดโอกาสในการมีบุตรในทางอื่น ๆ ผู้ที่ต้องการมีบุตรจึงควรหลีกเลี่ยง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

มะละกอ นิยมรับประทานผลมะละกอเป็นอาหาร สรรพคุณของมะละกอ เช่น บำรุงระบบทางเดินอาหาร บำรุงสายตา เป็นยาระบาย ทำความรู้จักกับมะละกอกันให้มากขึ้น

มะละกอ สมุนไพร สรรพคุณของมะละกอ

มะละกอ ภาษาอังกฤษ เรียก papaya ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะละกอ คือ Carica papaya L สำหรับชื่ออื่นของมะละกอ เช่น บักหุ่ง ก้วยลา แตงต้น มะก้วยเทศ มะเต๊ะ ลอกอ เป็นต้น นิยมนำผลมะละกอมาประกอบอาหาร ตัวอย่างเมนูอาหารที่มีมะละกอเป็นส่วนประกอบ เช่น ส้มตำ แกงส้ม เป็นต้น ผลสุกก็รับประทานเป็นผลไม้สด หวานอร่อย มะละกอไม่ใช่พืชท้องถิ่นของประเทศไทย โดยมีถิ่นกำเนิดที่ทวีปอเมริกา ซึ่งชาวต่างชาตินำเข้ามาปลูกในประเทศไทย ต่อมาได้รับความนิยมในการรับประทานจึงมีการปลูกกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งปัจจุบันมะละกอถือเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย มีการปลูกมะละกอเชิงพาณิชย์อย่างหลากหลาย

สรรพคุณของมะละกอ ช่วยดูแลช่องปาก ดูแลเหงือกและฟัน ช่วยยาถ่ายพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย บำรุงสายตาและระบบประสาท ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน สารต้านอนุมูลอิสระ

ลักษณะของต้นมะละกอ

ต้นมะละกอ เป็นพืชล้มลุกอายุสั้น สามารถเจริญเติบโตได้ในทุกสถาพดิน ไม่ชอบน้ำขัง สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะละกอ มีดังนี้

  • ลำต้นมะละกอ ลำต้นมะละกอตั้งตรง ลักษณะกลม ความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นอวบน้ำ ไม่มีแก่นลำต้น ลำต้นมีน้ำยางสีขาว
  • ใบมะละกอ ลักษณะใบเดี่ยว ก้านใบยาว ขอบใบหยัก ฟันเลื่อย ใบมะละกอมีขนอ่อนๆ ผิวใบสากมือ สีเขียว ก้านใบของมะละกอ มีลักษณะกลม บวมน้ำ ออกมาจากข้อของลำต้น
  • ดอกมะละกอ ลักษณะดอกเป็นช่อ สีขาวนวล กลิ่นหอม ออกดอกออกตามซอกใบ
  • ผลมะละกอ ลักษณะเรียวยาว ปลายผลแหลม ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ผลดิบมะละกอเป็นสีเขียว ส่วนผลสุกมะละกอเป็นสีส้มเมล็ดของผลดิบสีขาว เมล็ดของผลสุกมีสีดำ

สายพันธ์ของมะละกอ

สายพันธ์มะละกอมีหลายสายพันธ์ แนะนำสายพันธ์ต่างๆของมะละกอ มีดังนี้

  • พันธุ์แขกดำ ลักษณะทรงพุ่มเตี้ย แข็งแรง ผลดิบเนื้อหนา ผลสุกสีส้มอมแดงเหมาะสำหรับบริโภคสุกและดิบ มะละกอแขกดำ มีหลายสายพันธ์ เช่น มะละกอแขกดำศรีสะเกษ มะละกอแขกดำท่าพระ1 มะละกอแขกดำท่าพระ2 มะละกอแขกดำท่าพระ3 แขกดำดำเนิน
  • พันธุ์ปากช่อง เป็นพันธุ์ที่มีผลขนาดเล็กตรงตามความต้องการของตลาดยุโรป
  • พันธุ์โกโก้ เป็นมะละกอพันธุ์เตี้ย ลำต้นแข็งแรง ลำต้นอ่อนมีสีม่วงอยู่ประปราย
  • พันธุ์แขกนวล เป็นพันธุ์ที่กลายพันธุ์มาจากพันธุ์แขกดำปลูกมากที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
  • พันธุ์สายน้ำผึ้ง เป็นมะละกอพันธุ์เตี้ย ก้านใบยาวกว่าพันธุ์แขกดำ แต่แข็งแรงน้อยกว่า
  • พันธุ์จำปาดะ มีลำต้นขนาดใหญ่ แข็งแรง
  • พันธุ์โซโล ( Sunrise Solo ) เป็นมะละกอพันธุ์ที่นิยมปลูกมากในต่างประเทศ โดยเฉพาะที่มลรัฐฮาวาย
  • มะละกอพันธุ์ครั่ง มีสีแดง อมม่วงอ่อน ตามก้านใบ และเป็นจุด ๆ ตามลำต้นสีเหมือนฝรั่งดิบ
  • มะละกอฮอลแลนด์ ลำต้นใหญ่สีเขียว
  • มะละกอพันธุ์ฟลอริด้า โทเลอแร้นต์ ได้มาจากการคัดเลือกของ Dr. R. Conover แห่งมหาวิทยาลัยฟลอริด้า ระหว่างปี ค.ศ.1979-1980
  • พันธุ์ซันไรซ์ เป็นมะละกอผลเล้กกระทัดรัด น้ำหนักเฉลี่ย 400-500 กรัม เนื้อสีแดงเข้ม รสชาติอร่อย มีกลิ่นหอม

ประโยชน์ของมะละกอ

  1. มะละกอมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอยู่หลายชนิด ซึ่งช่วยให้สุขภาพของคุณแข็งแรง
  2. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสอยู่เสมอ
  3. ช่วยในการชะลอวัย ลดเลือน และป้องกันการเกิดริ้วรอยต่าง ๆ
  4. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
  5. สามารถนำมาใช้เป็นทรีตเมนต์ทำหน้าให้หน้าใสได้อีกด้วย ด้วยการนำมะละกอสุกผสมกับน้ำผึ้งและนมสด แล้วนำมาปั่นให้เข้ากัน หลังจากนั้นนำมาทาผิวหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วค่อยล้างออก
  6. ใช้นำมารับประทานเป็นผลไม้หรือของว่าง
  7. ใช้นำมาปรุงเป็นอาหาร เช่น แกงส้ม ส้มตำ เป็นต้น
  8. สามารถนำมะละกอไปใช้หมักให้เนื้อนุ่มได้อีกด้วย เพราะมีเอนไซม์ที่ชื่อว่า Papain ซึ่งเป็นส่วนประกอบของผงหมักสำเร็จรูปที่เราเห็นขายกันอยู่ตามท้องตลาดนั่นเอง
  9. นำมาแปรรูป การแปรรูปมะละกอ เช่น มะละกอแช่อิ่ม มะละกอแผ่น แยมมะละกอ มะละกอเชื่อม ซอสมะละกอ เยลลี่มะละกอ มะละกอแช่อิ่ม มะละกอสามรส มะละกอดอง มะละกอผง เป็นต้น

ประโยชน์ของมะละกอนั้นก็มีค่อนข้างมาก มีสรรพคุณเป็นทั้งยารักษาโรค โดยสรรพคุณมะละกอก็เช่น ใช้เป็นยาระบาย ยาขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด เป็นต้น และยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โปรตีน เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของมะละกอ

สำหรับการรับประทานมะละกอเป็นอาหาร นิยมรับประทานผลมะละกอ ทั้งผลมะละกอดิบและผลมะละกอสุก ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะละกอ มีรายละเอียด ดังนี้

ค่าทางโภชนาการของมะละกอดิบ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 43 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.82 กรัม น้ำตาล 7.82 กรัม กากใยอาหาร 1.7 กรัม ไขมัน 0.26 กรัม โปรตีน 0.47 กรัม วิตามินเอ 47 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 274 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 89 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.023 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.027 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.357 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.191 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.038 มิลลิกรัม วิตามินบี9 38 ไมโครกรัม วิตามินซี 62 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.3 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.6 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.25 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.04 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 182 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 8 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม และ ไลโคปีน 1,828 ไมโครกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของมะละกอสุก ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 0.5 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม วิตามินซี 70 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 4 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.04 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม และ วิตามินบี3 0.4 มิลลิกรัม

สรรพคุณทางยาของมะละกอ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะละกอ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จาก ราก ผล และ ยางจากผลดิบ รายละเอียด มีดังนี้

  • ผลของมะละกอ ทั้งผลดิบและผลสุก นำมาต้มกิน สามารถช่วย ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน ขับน้ำเหลือง บำรุงน้ำนม ขับพยาธิ รักษาโรคริดสีดวงทวาร ผลมะละกอมี แคลเซี่ยม ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน  มีวิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดีและช่วยป้องกันเลือดอกตามไรฟัน มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตาและระบบประสาท
  • ผลสุกของมะละกอ สามารถใช้เป็นยาระบาย ในอาการท้องผูกได้ดี
  • ยางจากผลดิบของมะละกอ สามารถใช้เป็นยาช่วยย่อย และฆ่าพยาธิ
  • รากของมะละกอ ใช้ขับปัสสาวะได้ดี

โทษของมะละกอ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะละกิมีข้อควรระวังการใช้ประโยชน์ ซึ่งโทษของมะละกอ มีดังนี้

  • ไม่ควรรับประทานมะละกอสุกในปริมาณมาก ๆ หรือติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะ อาจจะทำให้ผิวของคุณเปลี่ยนเป็นสีเหลืองได้
  • ยางของมะละกอ มีฤทธ์เป็นพิษ สามารถนำมาหมักเนื้อเป็นเนื้อเปื่อยได้ ไม่ควรรับประทานยางมะละกอ แบบสดๆ โดยไม่ผ่านความร้อน

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove