บุก Konjac พืชไฟเบอร์สูง  King Of Fiber สมุนไพรสำหรับคนลดน้ำหนัก บุกช่วยลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวานได้ ทำความรู้จักกับสรรพคุณและโทษของบุก ประโยชน์ของบุก โดยทั่วไปนิยมใช้ประโยชน์จากหัวบุกในการบริโภค

บุก สรรพคุณของบุก สมุนไพร

ต้นบุก ภาษาอังกฤษ เรียก Konjac อ่านออกเสียงว่า คอน-จัค ชื่อวิทยาศาสตร์ของบุก คือ Amorphophallus konjac K.Koch สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของบุก เช่น บุกคุงคก เบีย เบือ มันซูรัน หัวบุก บุกคางคก บุกหนาม บุกหลวง หมอ ยวี จวี๋ ยั่ว หมอยื่อ เป็นต้น บุกมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบมากในประเทศอินโดนีเซียและไทย ซึ่งประเทศไทยพบบุกมากในแถบภาคเหนือและภาคตะวันตก ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี เป็นต้น

ประโยชน์ของบุก โดยทั่วไปนิยมใช้ประโยชน์จากหัวบุกในการบริโภค ซึ่งหัวบุกเป็นแป้งสามารถทานแทนข้าวได้ มีการนำบุกมาทำอาหารไทยหลายเมนู เช่น แกงบวชมันบุก แกงส้ม แกงเลียง ห่อหมก หรือนำมาต้มลวกจิ้มกับน้ำพริกรับประทานได้ นอกจากนี้มีการนำบุกมาแปรรูปเป็นอาหารต่างๆ เช่น วุ้นเส้นบุก เส้นหมี่แป้งหัวบุก วุ้นบุกก้อน ขนมบุก เครื่องดื่มบุกผง

ประโยชน์จากบุกไม่ใช่เพียงเป็นอาหาร บุกสามารถปลูกเพื่อเป็นพืชสวยงามได้ นิยมนำมาปลูกประดับตามใต้ร่มเงาของไม้ยืนต้น ปลูกใส่กระถางเป็นไม้ประดับทั่วไป

ส่วนประโยชน์ของบุกด้านการรักษาโรค สรรพคุณของบุก ช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน เป็นยาแก้ไข้จับสั่น ช่วยแก้ไอ ละลายเสมหะ แก้โรคท้องมาน ใช้สำหรับสตรีประจำเดือนมาไม่ปรกติ ใช้แก้พิษงู ใช้เป็นยาแก้แผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก แก้ฝีหนองบวมอักเสบ  ใช้เป็นยาแก้ปวด แก้ฟกช้ำดำเขียว ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ช่วยขับระดูของสตรี ใช้เป็นยาพอกฝี

ลักษณะของต้นบุก

ต้นบุก ถือเป็น พืชล้มลุกชนิกหนึ่ง เป็นไม้เนื้ออ่อน ลักษณะของลำต้นอวบและมีสีเขียวเข้ม ใบบุกเป็นใบเดี่ยว ซึ่งใบของบุกจะแตกใบที่ยอดและใบแผ่ขึ้นเหมือนร่มกาง ดอกของบุกจะมีสีเหลือง จะบานในตอนเย็น มีกลิ่นฉุน ลักษณะเหมือนดอกหน้าวัว ลักษณะของต้นบุก มีดังนี้

  • ลำต้นแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน มีความสูงของต้นประมาณ 50-150 เซนติเมตร หัวที่อยู่ใต้ดินนั้นมีขนาดใหญ่ ลักษณะของหัวเป็นรูปค่อนข้างกลมแบนเล็กน้อย หรือกลมแป้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 เซนติเมตร ผิวเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ลำต้นและกิ่งก้านมีลักษณะกลมใหญ่ เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวมีลายแต้มสีขาวปะปนอยู่
  • ใบบุก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลมรี ปลายใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร
  • ดอกบุก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะของดอกเป็นรูปทรงทรงกระบอกกลมแบน มีกลิ่นเหม็น สีม่วงแดงอมเขียว มีกาบใบยาวประมาณ 30 เซนติเมตร สีม่วงอมเหลือง โผล่ขึ้นพ้นจากกลีบเลี้ยงที่มีสีม่วง
  • ผลบุก ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแบน เมื่อสุกจะเป็นสีส้ม

สรรพคุณของบุก

สำหรับสรรพคุณของบุก เรานิยมใช่ประโยน์ทางยาของบุก จาก หัว รากและเนื้อของลำต้น รายละเอียด ดังนี้

  • หัวบุก มีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน เป็นยาแก้ไข้จับสั่น ช่วยแก้ไอ ละลายเสมหะ แก้โรคท้องมาน ใช้สำหรับสตรีประจำเดือนมาไม่ปรกติ ใช้แก้พิษงู ใช้เป็นยาแก้แผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก แก้ฝีหนองบวมอักเสบ  ใช้เป็นยาแก้ปวด แก้ฟกช้ำดำเขียว
  • รากของบุก ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ช่วยขับระดูของสตรี ใช้เป็นยาพอกฝี

ข้อควรระวังในการบริโภคบุก

สำหรับข้อห้ามสำหรับการรับประทานบุก คือ หัวบุกจะมีรสเผ็ด เป็นยาร้อน มีพิษ ออกฤทธิ์ต่อม้าม ตับ และระบบทางเดินอาหาร ดังนั้น ในกลุ่มคนที่ ม้าม ตับ และระบบทางเดินอาหาร ไม่ดี ควรหลีกเลี่ยงรับประทาน และไม่รับประทานมากเกินไป ซึงข้อควรระวังในการบริโภคบุก มีรายละเอียดดังนี้

  • ในเนื้อหัวบุกป่าจะมีผลึกของแคลเซียมออกซาเลท (Calcium oxalate) เป็นจำนวนมาก ที่ทำให้เกิดอาการคัน ส่วนเหง้าและก้านใบถ้าปรุงไม่ดีแล้วรับประทานเข้าไปจะทำให้ลิ้นพองและคันปากได้
  • ก่อนนำมารับประทานจะต้องกำจัดพิษออกก่อน และไม่รับประทานกากยาหรือยาสด
  • กรรมวิธีการกำจัดพิษจากหัวบุก ให้นำหัวบุกมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตำพอแหลก คั้นเอาน้ำออกพักไว้ นำกากที่ได้ไปต้มน้ำ แล้วคั้นเอาแต่น้ำ นำไปผสมกับน้ำที่คั้นครั้งแรก แล้วนำไปต้มกับน้ำปูนใสเพื่อให้พิษหมดไป เมื่อเดือดก็พักไว้ให้เย็น จะจับตัวกันเป็นก้อน จึงสามารถใช้ก้อนดังกล่าวในการปรุงอาหารหรือนำไปตากแห้งเพื่อใช้เป็นยาได้
  • ถ้าเกิดอาการเป็นพิษจากการรับประทานบุก ให้รับประทานน้ำส้มสายชูหรือชาแก่ แล้วตามด้วยไข่ขาวสด แล้วให้รีบไปพบแพทย์
  • เนื่องจากวุ้นบุกสามารถขยายตัวได้มาก จึงไม่ควรบริโภควุ้นบกภายหลังการรับประทาน แต่ให้รับประทานก่อนอาหารไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง ส่วนการบริโภคอาหารที่ผลิตจากวุ้น เช่น วุ้นก้อนและเส้นวุ้น สามารถบริโภคพร้อมอาหารหรือหลังอาหารได้ เพราะวุ้นดังกล่าวได้ผ่านกรรมวิธีและได้ขยายตัวมาก่อนแล้ว และการการที่จะขยายตัวหรือพองตัวได้อีกนั้นจึงเป็นไปได้ยาก ส่วนในเรื่องของคุณค่าทางโภชนาการนั้นพบว่าวุ้นบุกไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย เนื่องจากไม่มีการย่อยสลายเป็นน้ำตาลในร่างกาย และไม่มีวิตามินและแร่ธาตุ หรือสารอาหารใด ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเลย
  • กลูโคแมนแนนมีผลทำให้การดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมันลดลง ซึ่งจะไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมได้ แต่จะไม่มีผลต่อการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในน้ำ
  • การกินผงวุ้นบุกในปริมาณมาก อาจทำให้มีอาการท้องเดินหรือท้องอืด มีอาการหิวน้ำมากกว่าเดิม บางคนอาจมีอาการอ่อนเพลียเพราะระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

ปอผี ผักกระเดียง สมุนไพร สรรพคุณบำรุงหัวใจ รักษามาลาเรีย แก้เบาหวาน สมานแผล รักษาแผลอักเสบ ข้อควรระวังในการกินปอผี ลักษณะของต้นปอผีเป็นอย่างไร

ปอผี ผักกระเดียง สมุนไพร

ปอผี หรือ ผักกระเดียง สมุนไพร พืชล้มลุก สรรพคุณของปอผี บำรุงหัวใจ ตับ รักษามาลาเรีย แก้เบาหวาน ยาฆ่าเชื้อ รักษาโรคตาฟาง สมานแผลพุพอง รักษาแผลอักเสบ ผักกระเดียง(ปอผี) ข้อควรระวังในการกินปอผี ลักษณะของต้นปอผีเป็นอย่างไร

ปอผีมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hydrolea zeylanica (L.) Vahl ชื่ออื่นๆของผักกระเดียง(ปอผี) เช่น ผักกะเดียง บีปลาไหล ไส้เอี่ยน บีเอี่ยน ปอผี ผักกระเดียง ดีปลาไหล สะเดาดิน เป็นต้น ต้นปอผี สามารถเจริญเติบดตได้ดี ในประเทศเขตร้อน เช่น อินเดีย ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศในทวีปออสเตรเลีย

ต้นปอผี หรือ ผักกะเดียง เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง ปอผีจะเลื้อยไปตามพื้นดินและแตกแขนงชูยอดขึ้นสูง ต้นปอผีมีความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นกลมและแข็ง รากของปอผีจะออกตามข้อ สามารถขยายพันธุ์ได้โดยใช้เมล็ด  ปอผีชอบความชื้น ชอบดินที่มีน้ำขัง ใบของปอผี เป็นใบเดี่ยวลักษณะใบเป็นรูปรี ปลายแหลม ดอกของปอผี จะออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียว กลีบดอกเป็นสีน้ำเงินอมม่วง ปอผีจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี ผลของปอผี ผลจะเป็นผลแห้งรูปทรงรี ภายในผลจะมีเมล็ดสีดำจำนวนมาก ปอผีจะติดผลในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ของทุกปีี

ลักษณะของต้นปอผี

ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในเขตร้อนของทวีปออสเตรเลีย ชอบขึ้นบริเวณที่ชื้นแฉะ บนดินชื้นและมีน้ำขัง ตามนาข้าว หนองน้ำ ริมหนองน้ำ หรือขึ้นแผ่คลุมผิวน้ำ สามารถพบได้ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลไปจนถึงที่ความสูงประมาณ 1,000 เมตร

  • ลำต้นปอผี ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน แตกแขนงมาก ชูยอดตั้งขึ้น สูงได้ประมาณ 10-100 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะกลมและแข็ง มีรากออกตามข้อ ลำต้นเรียบหรือมีขนนุ่ม
  • ใบปอผี ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียน ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกถึงรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5-5 เซนติเมตร ไม่มีหูใบ
  • ดอกปอผี ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะแยกแขนงหรือออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบและที่ปลายยอด ช่อดอกยาวได้ถึง 5 เซนติเมตร มีดอกย่อยสมบูรณ์เพศจำนวนมาก ดอกย่อยนั้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 1-3 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียว ลักษณะเป็นรูปหอก มีขนนุ่ม วงกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ปลายกลีบแหลมด้านนอกมีขนขึ้นปกคลุม ขนาดประมาณ 4.5-8 มิลลิเมตร เรียงสลับกับกลีบดอก ส่วนกลีบดอกนั้นมีลักษณะเป็นรูปไข่ มี 5 กลีบ กลีบดอกเป็นสีน้ำเงินอมม่วงหรือสีม่วงอมเขียว กลางดอกเป็นสีขาว ขนาดประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน เรียงสลับกับกลีบดอก ก้านชูเกสรเพศเมียมี 2 อัน อับเรณูเป็นสีแดงเข้ม ออกดอกในช่วงประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
  • ผลปอผี ผลเป็นผลแห้งและแตกได้ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรี มีขนาดกว้างประมาณ 2.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ห่อด้วยกลีบรองดอก มีกลีบเลี้ยงติดคงทน ภายในมีเมล็ดสีดำจำนวนมาก ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน มีขนาดประมาณ 0.3-0.4 มิลลิเมตร จะติดผลในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน

สรรพคุณของปอผีหรือผักกระเดียง

สำหรับ ปอผี นั้นสามารถนำ ต้น และใบ มาใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้

  • ทั้งต้นปอผี มาต้ม สามารถรักษาโรคตาฟางได้  เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงตับ รักษาโรคมาลาเรีย และแก้เบาหวาน
  • ใบของต้นปอผี สามารถนำมาใช้ รักษาลำไส้ผิดปกติ และใช้เป็นยาสมานแผล เป็นยาฆ่าเชื้อ

ข้อควรระวังในการบริโภคปอผี

ในสตรีหลังคลอดไม่ควรรับประทานเป็นผักสด เนื่องจากจะทำให้น้ำนมขม

อ้างอิง

  • ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “ผักกะเดียง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com.  [24 ก.ย. 2015].
  • ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.  “ปอผี”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org.  [23 ก.ย. 2015].
  • ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร.  “ผักกระเดียง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : ftp://smc.ssk.ac.th/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/.  [23 ก.ย. 2015].
  • กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.  “ดีปลาไหล”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.fisheries.go.th.  [23 ก.ย. 2015].

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove