ไมยราบ พืชท้องถิ่น วัชพืช ใบหุบได้ สมุนไพรประโยชน์หลากหลาย ต้นไมยรายเป็นอย่างไร สรรพคุณของไมยราบ ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปวดเมื่อย แก้ปวดหัว โทษของไมยราบมีอะไรบ้าง

ไมยราบ สมุนไพร พืชพื้นบ้าน สรรพคุณของไมยราบ

ต้นไมยราบ ภาษาอังกฤษ เรียก Sensitive plant ชื่อวิทยาศาสตร์ของไมยราบ Mimosa pudica L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของไมยราบ เช่น กระทืบยอด หนามหญ้าราบ หงับพระมาย ก้านของ ระงับ หญ้าปันยอด หญ้าจิยอบ กะหงับ ด้านของหงับพระพาย หญ้าปันยอบ กะเสดโคก หญ้างับ เป็นต้น ต้นไมยราบ มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา มักถูกจัดว่าเป็นพืชสายพันธุ์รุกราน ถูกเป็นวัชพืช ไมยราบ ในบางประเทศถูกจัดเป็นพืชควบคุม

ลักษณะของต้นไมยราบ

ต้นไมยราบ พืชตระกูลถั่ว มีถิ่นกำเนิดจากทวีปอเมริกาใต้ ในประเทศไทยสามารถพบเห็นได้ทั่วไป เป็นพืชคลุมดิน มีหนามแหลม อายุหลายปี สามารถขยายพันธ์โดยใช้เมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นไมยราบ มีดังนี้

  • ลำต้นไมยราบ จะแผ่ทอดเลื้อยตามพื้นดิน ความสูงประมาณ 1 เมตร ต้นอ่อน บวมน้ำ มีสีน้ำตาลแดง ลำต้นมีขนหยาบๆปกคลุม มีหนามแหลม
  • ใบไมยราบ ลักษณะเป็นใบประกอบ คล้ายรูปขอบขนานหรือคล้ายๆรูปเคียวยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร
  • ดอกไมยราบ ดอกออกเป็นช่อ ดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ ลักษณะดอกกลม สีชมพู ออกดอกบริเวณซอกใบ ก้านดอกยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร
  • ผลไมยราบ ลักษณะเป็นฝัก แบน ยาวเรียว มีขนแข็งปกคลุมตามสันขอบผล ภายในฝักมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อน ลักษณะแบนนูน

สรรพคุณของไมยราบ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากไมยราบ สามารถใช้บำรุงร่างกายและรักษาโรคได้ โดยใช้ประโยชน์จาก ลำต้น ทั้งต้น ราก ใบ และ สารสกัดจากต้น สรรพคุณของไมยราบ มีดังนี้

  • ทั้งต้นไมยราบ สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย แก้กษัย ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเลือด แก้ปวดเมื่อย ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ลดคอเรสเตอรัล ช่วยแก้เด็กเป็นตานขโมย ช่วยแก้ตานซางในเด็กเล็ก แก้อาการปวดศีรษะ แก้อาการนอนไม่หลับ ช่วยทำให้สงบผ่อนคลาย แก้ตาบวม แก้เจ็บตา ช่วยแก้ไข้ออกหัด ช่วยแก้กระเพาะอาหารอักเสบ แก้ลำไส้อักเสบ ช่วยแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับนิ่ว ช่วยแก้ไส้เลื่อน ช่วยขับระดูขาว แก้ไตพิการ ช่วยแก้อาการผื่นคันตามตัว ช่วยแก้แผลฝี แก้ปวดข้อ แก้บวมตามตัว ช่วยขับน้ำนม
  • ลำต้นไมยราบ สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยขับเลือด ช่วยแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับระดูขาว แก้ไตพิการ
  • รากไมยราย สรระคุณช่วยระงับประสาท บำรุงสายตา ทำให้ตาสว่าง แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร แก้อาการบิด แก้ท้องร่วง แก้ปัญหาระบบย่อยอาหา ช่วยขับปัสสาวะ แก้ริดสีดวงทวาร
  • ใบไมยราบ สรรพคุณรักษาเริม รักษางูสวัด ช่วยแก้ไฟลามทุ่ง ช่วยรักษาโรคพุพอง ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง ช่วยรักษาแผลฝีหนอง
  • สารสกัดจากต้นไมยราย สรรพคุณช่วยฆ่าเชื้อโรค

โทษของไมยราบ

สำหรับการใช้ไมยราบ ต้องมีการระวังในการใช้ ต้องใช้ให้เหมาะสมกับและเลือกใช้อย่างถูกต้อง โดย คำแนะนำมีดังนี้
  • ลำต้นของของไมยราบมีหนาม การนำมารับประทานหรือใช้ประโยชน์ต้องนำหนามออกก่อน
  • ไมยราบ มีสรรพคุณช่วยขับระดูขาว และ ขับเลือด สำหรับคนท้องห้ามรับประทาน เพราะอาจทำให้ตกเลือด แท้งลูกได้
  • ไม่ควรรับประทานไมยรายต่อเนื่องเป็นเวลานาน เนื่องจากไมยราบมีฤทธิ์ต่อสมองส่วนกลาง

ไมยราบ พืชท้องถิ่น วัชพืช ใบหุบได้ สมุนไพรประโยชน์หลากหลาย ลักษณะของต้นไมยรายเป็นอย่างไร สรรพคุณของไมยราบ เช่น ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปวดเมื่อย แก้ปวดหัว โทษของไมยราบ มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

มะพร้าว พืชอยู่คู่สังคมไทย ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ลักษณะของต้นมะพร้าว คุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าว สรรพคุณของมะพร้าว เช่น บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ โทษของมะพร้าว

สรรพคุณของมะพร้าว สมุนไพร สมุนไพรไทย ต้นมะพร้าว

ต้นมะพร้าว ภาษาอังกฤษ เรียก Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะพร้าว คือ Cocos nucifera L. พืชตระกูลปาล์ม ( ARECACEAE ) สำหรับชือเรียกอื่นๆของมะพร้าว เช่น ดุง โพล คอส่า เอี่ยจี้ หมากอุ๋น หมากอูน เป็นต้น ต้นมะพร้าว เป็นไม้ยืนต้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้ง เป็นอาหาร เครื่องใช้ รวมถึงทำเฟอร์นิเจอร์ มะพร้าว เป็นพืชที่อยู่คู่สังคมไทย และ เอเชียอย่างลึกซึ้ง

ปัจจุบัน มะพร้าวเป็นที่นิยมในการบริโภคทั่วโลก โดยพื้นที่ที่มีการผลิตมะพร้าวเพื่อการส่งออกมากที่สุดในโลก คือ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งสำหรับประเทศไทยสามารถส่งออกมะพร้าวได้เป็นอันดับ 6 ของโลก มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวทะเล มะพร้าวไฟ มะพร้าวซอ มะพร้าวกะทิ มะพร้าวพวงร้อย มะพร้าวมลายูสีเหลืองต้นเตี้ย เป็นสาวพันธ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

ลักษณะของต้นมะพร้าว

ต้นมะพร้าว เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นสูงใหญ่ นิยมรับประทานผลมะพร้าว เป็นอาหาร และ ผลไม้ มะพร้าว สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะพร้าว มีดังนี้

  • ลำต้นมะพร้าว ลักษณะเป็นต้นเดียว ตั้งตรง ลักษณะลำต้นแข็ง ผิวของลำต้นมีรอยแผลจากการหลุดร่วงของใบ ลำต้นสีน้ำตาล ลักษณะสาก
  • ใบมะพร้าว เป็นลักษณะใบประกอบ ใบมีก้านเป็นทาง และ มีใบแยกออกจากก้าน ใบยาว ผิวใบเรียบ ใบเป็นสีเขียว
  • ดอกมะพร้าว ลักษณะดอกเป็นช่อ มีกลีบดอกสีครีม ไม่มีก้านดอกย่อย กลีบดอกหนาและแข็ง
  • ผลมะพร้าว ลักณะกลม ผลสดมีสีเขียว ผลแก่เป็นสีนน้ำตาล ซึงผลมะพร้าวมี 3 ชั้น ประกอบด้วย เปลือกชั้นนอก ( exocarp )  เปลือกชั้นกลาง ( mesocarp ) และ เปลือกชั้นใน ( endocarp )
  • เมล็ดมะพร้าว คือ ส่วนของเนื้อมะพร้าว ซึ่งภายในมีน้ำอยู่เต็ม

สายพันธ์มะพร้าว

สำหรับการแบ่งสายพันธุ์ของมะพร้าว โดยธรรมชาติแล้วมะพร้าวแบ่งได้ 2 ประเภท คือ มะพร้าวพันธ์ต้นเตี้ย และ มะพร้าวพันธ์ต้นสูง รายละเอียด ดังนี้

  • มะพร้าวสายพันธืต้นเตี้ย มักให้ผลดก นิยมปลูกไว้เพื่อรับประทานผลอ่อน ลักษณะเนื้อมะพร้าวอ่อนนุ่ม และ น้ำมะพร้าวรสหวาน บางสายพันธุ์น้ำมีกลิ่นหอม
  • มะพร้าวสายพันธ์ต้นสูง เป็นมะพร้าวเศรษฐกิจ นิยมปลูกเป็นสวนอาชีพ ใช้เพื่อรับประทานเนื้อมะพร้าว รวมถึงนำไปใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมันพืชพันธุ์

การใช้ประโยชน์จากมะพร้าว

สำหรับมะพร้าวสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างจาก น้ำมะพร้าว เนื้อมะพร้าว กากมะพร้าว ยอดอ่อนมะพร้าว ใยมะพร้าว น้ำมันมะพร้าว กะลามะพร้าว ก้านมะพร้าว และ จาวมะพร้าว เป็นต้น การใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆของมะพร้าว มีดังนี้

  • กากมะพร้าว คือ ส่วนของเนื้อมะพร้าวแก่ที่ได้จากการคั้นกะทิ สามารถนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ได้
  • นํ้ามะพร้าว สามารถดื่มกินเพื่อทดแทนน้ำได้ ความหวานของน้ำมะพร้าว สามารถนำมาทำอาหารและขนมได้
  • เนื้อมะพร้าว เนื้อมะพร้าวอ่อนสามารถรับประทานได้ ส่วนเนื้อมะพร้าวแก่นำมาขูดและคั้นเอาน้ำกะทิ มาประกอบอาหาร
  • น้ำมันมะพร้าว น้ำมันที่ได้จากการต้มกากมะพร้าวบด สามารถนำไปปรุงอาหาร รวมถึงใช้ผลิตไบโอดีเซลได้
  • ยอดอ่อนของมะพร้าว สามารถรับประทานได้ ซึ่งยอดอ่อนมีราคาแพงมาก
  • ใยมะพร้าว นำมาทำเสื่อ หรือ ยัดเตียงนอน รวมถึงใช้ในการเกษตรทำปุ๋ยบำรุงดิน
  • กะลามะพร้าว สามารถนำไปทำสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆได้ เช่น กระบวยตังน้ำ เครื่องดนตรี เป็นต้น
  • ก้านมะพร้าว สามารถใช้ทำไม้กวาด และ ของเล่นเด็ก เช่น โมบาย
  • ใบมะพร้าว สามารถนำทาสานเป็นของเล่น และ เครื่องใช้ เช่น ปลาตะพียน หมวก เป็นต้น
  • จาวมะพร้าว สามารถนำมารับประทานเป็นอาหารได้

มะพร้าวในประเทศไทย

ผลมะพร้าว จัดเป็นพืชที่มีความสำคัญสำหรับสังคมไทย รวมถึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ จากสถิติการบริโภคมะพร้าว ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประชากรไทย 1 คน จะบริโภคมะพร้าวประมาณ 18 ผลต่อคนต่อปี ผลมะพร้าวถูกนำมาแปรรูปเป็นสินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งอุตสาหกรรมมะพร้าว สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ผลิตภัณฑ์แปรรูปเพื่อการบริโภค และ ผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมและอุปโภค

ต้นมะพร้าว สามารถปลูกได้ทั่วประเทศ แต่มะพร้าวสามารถขึ้นได้ดีในดินที่มีสภาพเป็นกลาง ดินร่วนร่วนปนทรายที่ระบายน้ำดี มีฝนตกอย่างสม่ำเสมอ ภูมิภาคที่มีการปลูกมะพร้าวมากที่สุดและปลูกเป็นอาชีพ คือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก

มะพร้าวมีความสำคัญกับความเชื่อของสังคมไทย เชื่อว่าการปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน จะส่งเสริมให้อยู่เย็นเป็นสุข ส่วนด้านพิธีกรรมทางศาสนา นำมะพร้าวอ่อน เป็นเครื่องสังเวย เส้นไหว้ เนื่องจากเชื่อว่ามะพร้าวเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์  น้ำมะพร้าวใช้ล้างหน้าศพ เนื่องจากน้ำมะพร้าวเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ ทำให้ผู้ตายเดินทางไปยังภพภูมิหน้าได้อย่างเป็นสุข

คุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าว

สำหรับการบริโภคมะพร้าวเป็นอาหาร นิยมรับประทานเนื้อมะพร้าวและน้ำมะพร้าว เป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าว มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อมะพร้าว ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 354 กิโลแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 24.23 กรัม น้ำตาล 6.23 กรัม กากใยอาหาร 9 กรัม ไขมัน 33.49 กรัม โปรตีน 3.33 กรัม วิตามินบี1 0.066 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.54  มิลลิกรัม วิตามินบี5 1.014  มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.05  มิลลิกรัม วิตามินซี 3.3  มิลลิกรัม แคลเซียม 14  มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.43 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 32  มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 113  มิลลิกรัม โพแทสเซียม 356  มิลลิกรัม และ สังกะสี 12%

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำมะพร้าว ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 19 กิโลแคลลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 3.71 กรัม น้ำตาล 2.61 กรัม กากใยอาหาร 1.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.72 กรัม วิตามินบี1 0.03  มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.057  มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.08  มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.032  มิลลิกรัม วิตามินซี 2.4  มิลลิกรัม แคลเซียม 24  มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.29  มิลลิกรัม แมกนีเซียม 25  มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20  มิลลิกรัม โพแทสเซียม 250  มิลลิกรัม และ สังกะสี 0.1  มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะพร้าว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะพร้าวด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์จาก น้ำมะพร้าว เนื้อมะพร้าว ดอกมะพร้าว รากมะพร้าว น้ำมันมะพร้าว และ กะลามะพร้าว สรรพคุณของมะพร้าว มีดังนี้

  • น้ำมันพร้าว สรรพคุณช่วยบำรุงผิว  ช่วยลดลอยเหี่ยวย่น ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกาย มีไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย  ทำให้ร่างกายสดชื่น ช่วยดับความร้อนในร่างกาย ช่วยล้างพิษ ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย แก้กระหายน้ำ แก้บวม ลดอาการบวมน้ำ บำรุงสมอง ลดการเกิอโรคอัลไซเมอร์ บำรุงหัวใจ รักษาเบาหวาน รักษาตาอักเสบ ช้วยลดไข้ แก้ไอ แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องร่วง แก้อาการอาเจียนเป็นเลือด รักษาโรคกระเพาะ แก้โรคบิด ช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลีย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้นิ่ว แก้อาการเม็ดผดผื่นคันตามตัว
  • เนื้อมะพร้าว สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย แก้กระหายน้ำ แก้ระคายเคืองตา ช่วยลดไข้ แก้ร้อนใน ช่วยขับปัสสาวะ
  • ดอกมะพร้าว สรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต แก้กระหายน้ำ แก้อาการเจ็บปากเจ็บคอ ช่วยกล่อมเสมหะ แก้อาการท้องเสีย
  • รากมะพร้าว สรรพคุณรักษาโรคคอตีบ แก้อาการท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ
  • กาบมะพร้าว สรรพคุณรักษาไข้ทับระดู
  • น้ำกะทิ สรรพคุณรักษาอาการปากเปื่อย
  • เปลือกลำต้นมะพร้าว สรรพคุณแก้เจ็บฟัน
  • น้ำมันมะพร้าว สรรพคุณช่วยแก้อาการปวดฟัน ช่วยบำรุงและแก้อาการปวดกระดูกและเอ็น รักษาโรคผิวหนัง ช่วยสมานแผล แก้ผิวหนังแตกลาย แก้กลากเกลื้อน รักษาเล็บขบ
  • กะลามะพร้าว สรรพคุณแก้อาการท้องเสีย ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

โทษของมะพร้าว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะพร้าว สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม แต่การรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของกะทิ หากรับประทานกะทิมากเกินไป หรือ รับประทานในปริมาณมากและติดต่อกัน จะทำให้เกิดการสะสมของไขมันในร่างกาย ทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด และ หัวใจได้

มะพร้าว พืชอยู่คู่สังคมไทย สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ลักษณะของต้นมะพร้าว คุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าว สรรพคุณของมะพร้าว เช่น บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ โทษของมะพร้าว

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove