ถั่วเขียว พืชเศรษฐกิจ ถั่วงอกทำมาจากถั่วเขียว ต้นถั่วเขียวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงสายตา ลดความดัน ช่วยเจริญอาหาร โทษของถั่วเขียวมีอะไรบ้าง

ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพร

ต้นถั่วเขียว ( Green bean ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วเขียว คือ Vigna radiata (L.) R.Wilczek สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเขียว เช่น ถั่วจิม ถั่วมุม ถั่วเขียว ถั่วทอง เป็นต้น สำหรับต้นถั่วเขียว มีประวัติการบริโภคมากกว่า 4,000 ปี ที่แคว้นมัธยประเทศ ในประเทศอินเดีย ซึ่งถั่วเขียวเป็นพืชที่ปลูกกันอย่างแพร่หลาย ในประเทศไทย พม่า ศรีลังกา ปากีสถาน อิหร่าน และ จีน เนื่องจากเมล็ดถั่วเขียว สามารถเก็บได้นาน เมล็ดนิยมนำมาทำอาหาร เมนูอาหารที่มีถั่วเขียวเป็นส่วนประกอบ เช่น เต้าส่วน ถั่วทอง ขนมข้าวเกรียบอ่อน เป็นต้น และ นำมาเพาะเป็น ถั่วงอก ได้

ลักษณะของต้นถั่วเขียว

ต้นถั่วเขียวเป็นพืชล้มลุก อายุเพียงแค่หนึ่งปี สามารถปลูกได้ตลอดปี ใช้น้ำน้อย ทนแล้งได้ดี สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นถั่วเขียว มีดังนี้

  • ลำต้นถั่วเขียว ลักษณะเป็นพุ่มตั้งตรง ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นแตกแขนง ลำต้นลักษณะค่อนข้างเป็นเหลี่ยม ลำต้นมีขนอ่อนๆปกคลุมทั่วลำต้น
  • ใบถั่วเขียว ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ขึ้นแบบสลับอยู่บนลำต้น ใบมีสีเขียว ลักษณะคล้ายรูปไข่ ปลายใบแหลม ใบมีขนปกคลุม
  • ดอกถั่วเขียว ลักษณะดอกออกเป็นช่อ กลีบดอกสีขาว สีม่วง และ สีเหลือง ก้านช่อดอกยาวประมาณ 20 เซนติเมตร
  • ฝักถั่วเขียว ลักษณะยาวกลม ความยาวของฝักประมาณ 15 เซนติเมตร ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาลอ่อน ภายในฝักจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 10-15 เมล็ด
  • เมล็ดถั่วเขียว อยู่ภายในฝักถั่วเขียว ลักษณะของเมล็ดกลมรี มีสีเขียว เนื้อในเป็นสีเหลือง เมล็ดผิวเรียบ แข็ง

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว

สำหรับการบริโภถั่วเขียว นิยมนำมาบริโภคทั้งเมล็ดถั่วเขียวดิบ และ เมล็ดถั่วเขียวสุก นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วเขียวดิบ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 347 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 62.62 กรัม น้ำ 9.05 กรัม น้ำตาล 6.6 กรัม กากใยอาหาร 16.3 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 23.86 กรัม วิตามินบี1 0.621 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.233 มิลลิกรัม วิตามินบี3 2.251 มิลลิกรัม วิตามินบี5 1.91 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.382 มิลลิกรัม วิตามินบี9 625 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.8 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.51 มิลลิกรัม วิตามินเค 9 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 132 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.74 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 189 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.035 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,246 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 2.68 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วเขียวต้ม ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 105 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 19.15 กรัม น้ำ 72.66 กรัม น้ำตาล 2 กรัม กากใยอาหาร 7.6 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 7.02 กรัม วิตามินบี1 0.164 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.577 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.41 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 159 ไมโครกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.7 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 48 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.298 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 99 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.84 มิลลิกรัม

สรรพคุณของถั่วเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่วเขียว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้การบริโภคเมล็ดถั่วเขียว โดยสรรพคุณของถั่วเขียว มีดังนี้

  • บำรุงร่างกาย ช่วยเสริมสร้างกล้าม บำรุงกำลัง และ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค
  • ป้องกันมะเร็ง มีสารต้านเอนไซม์โปรตีเอสสูง
  • ช่วยเจริญอาหาร แก้ปัญหาการไม่อยากกินข้าว และ แก้เบื่ออาหาร
  • บำรุงเลือด ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยไขมันและคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
  • บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • ช่วยลดไข้ ช่วยขับร้อนในร่างกาย แก้ร้อนใน
  • แก้กระหายน้ำ
  • ช่วยถอนพิษในร่างกาย ช่วยแก้อาการอาเจียนจากการดื่มเหล้า ช่วยขับของเหลวในร่างกาย ขับปัสสาวะ
  • บำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยกระตุ้นประสาท ช่วยให้สมองทำงานฉับไว
  • บำรุงสายตา รักษาตาอักเสบ แก้อาการตาพร่า
  • ช่วยขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก
  • รักษาแผลฝี

โทษของถั่วเขียว

สำหรับการบริโภคถั่วเขียว ข้อควรระวังในการรับประทาน ดังนี้

  • การกินถั่วเขียวทำให้ท้องอืด สำหรับคนที่มีอาการท้องอืดง่าย ไม่ควรรับประทานถั่วเขียว
  • สำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรรับประทานถั่วเขียว เพราะ อาจทำให้อุจจาระบ่อย หรือ ท้องเดิน
  • การกินถั่วเขียวมากเกินไป ทำให้อ้วนได้ อาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป
  • ถั่วเขียว มีสารพิวรีน ( Purine ) กระตุ้นให้เกิดข้อกระดูกอักเสบ ผู้ป่วยโรคเกาต์ ไม่ควรรับประทาน

ถั่วเขียว ธัญพืช พืชเศรษฐกิจ ถั่วงอก ทำมาจากถั่วเขียว ลักษณะของต้นถั่วเขียว เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว สรรพคุณของถั่วเขียว เช่น ช่วยถอนพิษ บำรุงสายตา ลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร โทษของถั่วเขียว มีอะไรบ้าง

ตะลิงปลิง ผลรสเปรี้ยว สมุนไพร นิยมรับประทานผลสด ต้นตะลิงปลิง คุณค่าทางโภชนาการของตะลิงปลิง สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร บำรุงผิวพรรณ ขับเสมหะ โทษของตะลิงปลิงมีอะไรบ้างตะลิงปลิง ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของตะลิงปลิง

ต้นตะลิงปลิง ( Bilimbi ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะลิงปลิง คือ Averrhoa bilimbi L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของตะลิงปลิง เช่น มูงมัง กะลิงปริง ลิงปลิง ปลีมิง บลีมิง มะเฟืองตรน หลิงปลิง เป็นต้น ตะลิงปลิง เป็นพืชท้องถิ่นของภาคใต้ สามารถพบได้ตามป่าดิบชื้นในพื้นที่ภาคใต้ รวมถึงประเทศใกล้เคียง อย่าง มาเลเชีย และ อินโดนีเชีย

ตะลิงปลิง เป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่เขตร้อน และ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศบราซิล นิยมปลูกทั่วไป เพื่อใช้รับประทานผล ตะลิงปลิงคล้ายกับมะเฟือง แต่มีความแตกต่างกันตรงขนาดของผลมะเฟืองใหญ่กว่าตะลิงปลิง

ลักษณะของต้นตะลิงปลิง

สำหรับต้นตะลิงปลิง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ การตอนกิ่ง และ การเสียบยอด เป็นต้น ลักษณะของตะลิงปลิง มีดังนี้

  • ลำต้นตะลิงปลิง ลักษณะลำต้นขนาดเล็ก ความสูงประมาณ 8 เมตร มีใบจำนวนมาก ลักษณะของลำต้นคล้ายกับต้นมะยม เปลือกลำต้นสีน้ำตาล แต่ผิวเปลือกลำต้นเรียบ เนื้อไม้ไม่แข็ง ค่อนข้างเปราะ กิ่งหักง่าย
  • ใบตะลิงปลิง ลักษณะเป็นใบเลี้ยงคู่ ลักษณะใบรีปลายใบแหลม คล้ายหอก ใบเป็นมัน ใบอ่อนมีสีส้มแดง ใบแก่สีเขียวสด
  • ดอกตะลิงปลิง ลักษณะดอกเป็นช่อ ออกดอกตามลำต้น และ โคนกิ่ง ช่อดอกมีสีน้ำตาลอมม่วง  กลีบดอกมีสีแดงอมม่วง
  • ผลตะลิงปลิง ลักษณะทรงกลมรียาว เป็นทรงกระบอก ผลอ่อนสีเขียวสด เนื้อในผลสีเขียวอ่อนอมขาว ส่วนผลสุกสีเหลือง ภายในผลมีเมล็ด ผลมีรสเปรี้ยว
  • เมล็ดตะลิงปลิง อยู่ภายในผลตะลิงปลิง เมล็ดสีน้ำตาล เมล็ดเป็นทรงกระบอกแบน

คุณค่าทางโภชนาการของตะลิงปลิง

สำหรับการบริโภคตะลิงปลิง นิยมกินผล ซึ่งให้รสเปรี้ยว นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลตะลิงปลิง พบว่ารายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลตะลิงปลิง ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 0.61 กรัม เบต้า แคโรทีน 0.035 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.010 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.026 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.302 มิลลิกรัม วิตามินซี 15.5 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 3.4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.01 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 11.1 มิลลิกรัม

สรรพคุณของตะลิงปลิง

สำหรับประโยชน์ของตะลิงปลิง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผล ดอก ใบ เมล็ด เปลือกลำต้น และ ราก โดย สรรพคุณของตะลิง รายละเอียด ดังนี้

  • ผลตะลิงปลิง สรรพคุณบำรุงร่างกาย ป้องกันมะเร็ง ช่วยย่อยอาหาร บำรุงผิวพรรณ ปกป้องการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง ช่วยขับสารพิษ แก้ไอ แก้คออักเสบ ช่วยละลายเสมหะ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน รักษาโรคหอบหืด รักษาแผลร้อนใน เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยรักษาสิว รักษาฟ้า รักษากะ และ รักษาผิวด่างดำ ช่วยรักษาตาอักเสบ
  • ดอกตะลิงปลิง สรรพคุณแก้ไอ บำรุงผิวพรรณ รักษาสิว ลดรอยกะ ลดรอยฟ้า และ รักษารอยด่างดำ
  • ใบตะลิงปลิง สรรพคุณช่วยแก้ผดผื่นคัน รักษาโรคผิวหนัง รักษาแผลฝี ช่วยรักษาสิว แก้ท้องเสีย ช่วยลดไข้ รักษาโรคซิฟิลิส และ แก้ปวดตามข้อกระดูก
  • เมล็ดตะลิงปลิง สรรพคุณช่วยขับพยาธิ แก้ท้องอืด และ ช่วยขับลม
  • เปลือกลำต้นตะลิงปลิง และ แก่นไม้ตะลิงปลิง สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคผิวหนัง
  • รากตะลิงปลิง สรรพคุณแก้ร้อนใน แก้กระหาย ช่วยลดไข้ ลดอาการกระเพาะอาหารอักเสบ รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้อาการคันตามผิวหนัง รักษาโรคผิวหนัง ช่วยรักษาแผล

โทษของตะลิงปลิง

ตะลิงปลิง เป็นผลไม้รสเปรี้ยว ซึ่งการกินอาหารเปรี้ยวจัด ส่งเสียต่อสุขภาพของฟัน ทำให้ฟันกันกล่อนง่าย ทำให้เกิดอาการท้องร่วง ท้องเสีย และทำให้บาดแผลหายช้า

ตะลิงปลิง ไม้ผลรสเปรี้ยว สมุนไพร นิยมรับประทานผลสด ลักษณะของต้นตะลิงปลิง คุณค่าทางโภชนาการของตะลิงปลิง สรรพคุณของตะลิงปลิง เช่น ช่วยย่อยอาหาร บำรุงผิวพรรณ ช่วยขับเสมหะ โทษของตะลิงปลิง มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove