ชะมวง Cowa สมุนไพร สรรพคุณของชะมวง บำรุงเลือด รักษาไข้ ละลายเสมหะ ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน แก้ไอ แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน ถอนพิษ แก้บิด เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ธาตุพิการ

สรรพคุณของชะมวง ชะมวง ใบชะมวง สมุนไพร

ต้นชะมวง ภาษาอังกฤษ เรียก Cowa ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะมวง คือ Garcinia cowa Roxb. ex Choisy ชะมวงเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับมังคุด สำหรับชื่อเรียกอื่นของชะมวง เช่น ส้มป้อง มะป่อง หมากโมก มวงส้ม กะมวง มวง ส้มมวง กานิ ตระมูง ยอดมวง ส้มม่วง ส้มโมง ส้มป่อง เป็นต้น พืชท้องถิ่นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย พม่า มาเลเซีย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และอินโดนีเซีย โดยมักจะพบตามป่าดิบชื้น สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาคของประเทศ แต่จะพบมากในแถบภาคใต้และภาคตะวันออก

ประโยชน์ของชะมวง ใบชะมวงมีรสเปรี้ยว นิยมใช้ปรุงอาหารให้รสเปรี้ยว เช่น หมูชะมวง ผลชะมวงสุก ใช้รับประทานได้ ยอดอ่อนหรือใบอ่อนชะมวง ใช้รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก ป่นแจ่ว หรือนำไปใช้ปรุงอาหาร เช่น ต้มส้ม ต้มส้มปลาไหล ต้มส้มปลาแห้ง ทำแกงชะมวง ต้มซี่โครงหมูใบชะมวง ใช้แกงกับหมู หมูชะมวง หรือนำมาใส่ในแกงอ่อม เป็นต้น ผลและใบอ่อน ใช้ปรุงเป็นอาหารรับประทาน ให้รสเปรี้ยว ผลและใบแก่ นิยมนำมาหมักจะฤทธ์เป็นกรด นำมาใช้สำหรับการฟอกหนังวัวหรือหนังควาย ต้นชะมวง สามารถใช้ปลูกเป็นไม้ประดับและไม้ให้ร่มเงาได้ดี เนื้อไม้ชะมวง สามารถนำมาแปรรูปใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ หรือใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ได้ เช่น โต๊ะ ตู้ เตียง เป็นต้น น้ำยางจากต้นชะมวง ใช้ผสมในน้ำมันชักเงา ยอดอ่อนชะมวง นำมาหมักกับจุลินทรีย์จะทำให้เกิดรสเปรี้ยว ใช้เป็นยาปราบศัตรูพืช

ลักษณะของต้นชะมวง

ต้นชะมวง เป็นพืชท้องถิ่น เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงปานกลาง สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด การปักชำกิ่ง และการตอนกิ่ ลักษณะของต้นชะมวง มีดังนี้

  • ลำต้น ลักษณะของต้นชะมวง จะเป็นทรงพุ่มคล้ายกรวยคว่ำ ความสูงของต้นชะมวงประมาณ 10 เมตร ลำต้นของชะมวงจะเกลี้ยง แตกกิ่งก้านใบตอนบนของลำต้น
  • เปลือกของชะมวงจะเป็นสีดำออกน้ำตาล มีลักษณะขรุขระ เป็นสะเก็ด แต่เปลือกด้านในจะมีสีขมพูออกแดง มีน้ำยางออกบริเวณเปลือก
  • ใบของชะมวง เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว รูปรี ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8 เซนติเมตร ใบอ่อนของชะมวงจะมี สีเขียวอ่อน ส่วนใบแก่จะมีสีเขียวเข้ม
  • ดอกของชะมวง จะออกดอกตามซอกใบและกิ่ง ดอกจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร
  • ผลของชะมวง จะเป็นทรงกลม ผิวเรียบและมัน ผลอ่อนจะมีสีเขียวและผลสุกจะมีสีเหลือง ผลสุกจะมีรสเปรี้ยว สามารถทานได้

คุณค่าทางโภชนาการของต้นชะมวง

สำหรับการรับประทานชะมวง นิยมรับประทานใบชะมวง ปรุงรสอาหารให้รสเปรี้ยว นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของใบชะมวง ขนาด  100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 51 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 3.2 กรัม แคลเซียม 27 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 13 มิลลิกรัม เหล็ก 1.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 7333 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.7 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.04 มิลลิกรัม ไนอาซีน 0.2 มิลลิกรัม และวิตามินซี 29 มิลลิกรัม

สรรพคุณของชะมวง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากชะมวง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สรรพคุณของชะมวง เราสามารถนำชะมวงมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น ราก ใบ และผล รายละเอียดมี ดังนี้

  • ผลอ่อนของชะมวง สามารถนำมาใช้ เป็นยาแก้ไข้ ช่วยฟอกโลหิต เป็นยาระบาย
  • ผลแก่ของชะมวง สามารถนำมาใช้ ช่วยรักษาธาตุพิการ แก้อาการกระหายน้ำ แก้อาการไอ ช่วยแก้เสมหะ
  • รากของชะมวง สามารถนำมาใช้ ช่วยถอนพิษไข้ เป็นยาแก้ไข้ แก้อาการร้อนใน ช่วยแก้เสมหะ ช่วยแก้บิด
  • ดอกของชะมวงสามารถนำมาใช้ ช่วยรักษาธาตุพิการ ช่วยแก้เสมหะ เป็นยาระบาย ช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยแก้ดีพิการ
  • ใบของชะมวง สามารถนำมาใช้ ช่วยรักษาธาตุพิการ เป็นยาแก้ไข้ ช่วยฟอกโลหิต แก้อาการกระหายน้ำ แก้อาการไอ ช่วยแก้เสมหะ เป็นยาระบาย เป็นยาขับเลือดเสีย ช่วยขับโลหิตระดูของสตรี ช่วยป้องกันมะเร็ง
  • เนื้อไม้ของชะมวง สามารถนำมาใช้ ยาระบาย แก้อาการเหน็บชา

โทษของชะมวง 

การใช้ประโยชน์จากชะมวง ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากชะมวง โทษของชะมวง มีดังนี้

  • ใบชะมวง มีสรรพคุณเป็นยาขับเลือดเสีย ช่วยขับระดูของสตรี สำหรับสตรีตั้งครรภ์ ไม่ควรรับประทานชะมวง อาจทำให้แท้งได้
  • ยางจากผลชะมวง ทำให้เกิดการฝืดในช่องปาก ทำให้ติดฟัน

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

ชมจันทร์ Moonflower พืชพื้นบ้าน นิยมทานดอกเป็นผักสด สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ มีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงสมอง บำรุงเลือด ขับปัสสาวะ ดอกชมจันทร์เป็นอย่างไร

ดอกชมจันทร์ สมุนไพร สรรพคุณของชมจันทร์

ชมจันทร์ ภาษาอังกฤษ เรียก Moonflower ชื่อวิทยาศาสตร์ของชมจันทร์ คือ Ipomoea alba L. สำหรับชื่เรียกอื่นๆของชมจันทร์ เช่น เครือเถาเมื่อย เถาเอ็น ขยุ้มตีนหมา ผักบุ้งเล คอนสวรรค์ สนก้างปลา จิงจ้อขาว จิงจ้อเหลือง จิงจ้อแดง เป็นต้น ต้นชมจันทร มีถิ่นกำเนิดที่ทวีปอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ สามารถปลูกได้ในประเทศเขตร้อน สำหรับในประเทศไทยนิยมปลูกชมจันทร์เพื่อใช้เป็นอาหาร ดอกชมจันทร์สามารถใช้ทำอาหารได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นต้ม ผัด แกง ทอด เดี๋ยวนี้ตามร้านอาหารก็นำดอกชมจันทร์มาเป็นเมนูอาหารกันมากขึ้น

ดอกชมจันทร์มีความสวยงาม ลักษณะเป็นดอกเดี่ยวสีขาว มีกลิ่นหอมจะบานในเวลากลางคืนตั้งแต่ช่วงประมาณหัวค่ำ สามารถปลูกชมจันทร์ เพื่อใช้เป็นไม้ประดับได้

ประโยชน์ของชมจันทร์

ดอกชมจันทร์สามารถนำมารับประทานเป็นอาหารได้ โดยใช้ดอกตูมนำมาทำอาหาร เช่น ผัดน้ำมันหอย หรือ ลวกจิ้มกับน้ำพริก ดอกชมจันทร์มีไขมันต่ำมาก สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ เหมาะแก่ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก นอกจากนี้ยังมีธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัสและและวิตามินต่างๆ มากมาย

ต้นชมจันทร์มีดอกสีขาวสวยงาม บานในเวลาตอนกลางคืน และกลิ่นหอม ในต่างประเทศ เช่นยุโรปและสหรัฐอเมริกาปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ แต่บางพื้นที่ของประเทศไทย เช่น ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มมีการนำดอกมารับประทานเป็นอาหาร โดยใช้ดอกตูมมาผัดกับน้ำมันหอย หรือลวกจิ้มกับน้ำพริก จากผลการวิเคราะห์พบสรรพคุณดอกชมจันทร์ ดังนี้

  • ดอกชมจันทร์ เป็นผักที่ไขมันต่ำและมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ เหมาะแก่ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
  • ดอกชมจันทร์ มีธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส และยังประกอบด้วยวิตามินต่าง ๆ ได้แก่ วิตามินบี เป็นต้น ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ดอกชมจันทร์ มีสรรพคุณแก้ร้อนใน บำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันโรคดีซ่าน ขับปัสสาวะ และบรรเทาริดสีดวงทวาร ขณะที่เกสรดอกชมจันทร์มีสรรพคุณช่วยบำรุงประสาท ช่วยให้ผ่อนคลายทำให้สดชื่น และมีฤทธิ์เป็นยานอนหลับอ่อน ๆ จึงช่วยให้หลับสบาย

ลักษณะของต้นชมจันทร์

ชมจันทร์เป็นพืชล้มลุก ไม้เลื้อย ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ปักชำ ลักษณะของต้นชมจันทร์ มีดังนี้

  • ลำต้นชมจันทร์ ลักษณะเป็นเถา ไม่มีขน ลำต้นมียางใส สีเขียว
  • ใบชมจันทร์ ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบคล้ายรูปหัวใจ กว้าง 5-13 เซนติเมตร ยาว 8-17 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม โคนใบเว้าลึก ก้านใบเรียว ยาว 5-18 เซนติเมตร
  • ดอกชมจันทร์ ลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยว ดอกมีสีขาว กลิ่นหอม บานตอนเช้าและพลบค่ำ

คุณค่าทางโภชนาการของดอกชมจันทร์

สำหรับการบริโภคชมจันทร์เป็นอาหารนิยมบริโภคดอกตูมของชมจันทร์ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของดอกชมจันทร์ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 34.91 กิโลแคลอรี และ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย วิตามินบี 1 0.04 มิลลิกรัม แคลเซียม 22.74 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.05 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 34.42 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.25 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.05 มิลลิกรัม วิตามินซี 0.09 มิลลิกรัม วิตามินเอ 136.11 มิลลิกรัม โคเอนไซม์คิว 0.28 มิลลิกรัมมีสารต้านอนุมูลอิสระ

สรรพคุณของต้นชมจันทร์

สรรพคุณของชมจันทร์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคใช้ประโยชน์จากดอกของชมจันทร์ ซึ่งดอกชมจันทร์ มีสรรพคุณ เป็นยาเย็น มีฤทธิ์ เป็นยาระบายอ่อนๆ มีไขมันต่ำ วิตามินบี ช่วยบำรุงสมอง ช่วยให้ความจำดี และวิตามินซีในดอกชมจันทร์ จะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ใช้เพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย และป้องกันมะเร็ง ดอกชมจันทร์ สามารถใช้ แก้ร้อนใน บำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันโรคดีซ่าน ขับปัสสาวะ และบรรเทาริดสีดวงทวาร ส่วน เกสรของดอกชมจันทร์ สามารถช่วยบำรุงระบบประสาท ทำให้ผ่อนคลาย มีฤทธิ์เป็นยานอนหลับอ่อนๆ

โทษของชมจันทร์

สำหรับการใช้ประโยชน์จากชมจันทร์ มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • ดอกชมจันทร์มีฤทธิ์เป็นยาเย็น สำหรับคนที่มีภาวะร่างกายเย็น ไม่ควรบริโภคชมจันทร์ติดต่อกันในปริมาณมากๆ
  • ดอกชมจันทร์มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ สำหรับคนที่มีภาวะท้องเสีย ไม่ควรบริโภคดอกชมจันทร์มากๆ

ต้นชมจันทร์ เป็นพืชที่ปลูกได้ไม่ยาก เจริญเติบโตง่าย แถมยังมีแมลงมารบกวนน้อยมาก จึงไม่ต้องพึ่งพาการใช้สารเคมีใดๆ เลยก็ได้ ทำให้ไม่ว่าจะนำมาใช้ประโยชน์ในด้านไหนก็รู้สึกถึงได้ความปลอดภัย โดยเฉพาะการใช้เป็นยาสมุนไพรป้องกันและรักษาโรคต่างๆ นั้น ดอกชมจันทร์สามารถให้สรรพคุณและประโยชน์ที่เต็มร้อยแน่นอน

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove