ผักไชยา Chaya คะน้าเม็กซิกัน สมุนไพร เรียกต้นผงชูรส ต้นไชยาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของผักไชยา เช่น บำรุงเลือด บำรุงกระดูก โทษของผักไชยา มีอะไรบ้างคะน้าเม็กซิกัน ผักไชยา สมุนไพร ต้นผงชูรส

ต้นผักไชยา ( Chaya ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักไชยา คือ Cnidoscolus chayamansa เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับต้นยางพารา สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของผักไชยา เช่น ชายา มะละกอกินใบ คะน้าเม็กซิกัน ต้นผงชูรส ผักโขมต้น เป็นต้น ลำต้นผักไชยา นำมาตากแห้ง บดให้เป็นผง ใช้แทนผงชูรสได้ดี ใช้ผสมกับอาหาร ช่วยให้มีรสชาติกลมกล่อม ผักไชยา นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารโดยใช้ส่วนของยอดอ่อนและใบ เมื่อเด็ดยอดอ่อนแล้วต้องนำมาปอกเปลือกออก ในเมืองไทยนิยมนำมาทำเมนู ผัดไชยาน้ำมันหอย ผักไชยาผัดไข่ ผัดราดหน้า ผัดซีอิ๊ว แกงส้ม ลวกจิ้มกับน้ำพริกก็ได้

ลักษณะของต้นผักไชยา

ต้นผักไชยา หรือ คะน้าเม็กซิกัน สามารถขยายพันธุ์ ได้โดยการตอนกิ่ง ปักชำ และ เพาะเมล็ดพันธ์ คะน้าเม็กซิโก เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีความชื้น ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดด ระยะเวลาปลูก 60 วัน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อนำมารับประทานได้

ต้นคะน้าเม็กซิโก เป็นไม้ยืนต้น ทรงพุ่ม ถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเขตร้อน ประเทศเม็กซิโก พบต้นคะน้าเม็กซิกัน การกระจายพันธุ์อยู่ในกัวเตมาลา และ ทวีปอเมริกากลาง ลักษณะของต้นไชยา มีดังนี้

  • ลำต้นไชยา ลักษณะอวบน้ำ ความสูงประมาณ 2 ถึง 6 เมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาล ลำต้นมีน้ำยางสีขาว
  • ใบไชยา ลักษณะใบสีเขียวคล้ายใบมะละกอ ขอบเป็นแฉกๆ ใบหนึ่งมี 3 ถึง 4 แฉก
  • ดอกผักไชยา ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกบริเวณปลายกิ่ง

ต้นไชยาเป็นไม้พุ่ม ชนิดหนึ่ง ลักษณะใบสีเขียวคล้ายใบมะละกอ เมื่อเด็ดออกมาจะมียางสีขาว ต้นโตง่าย สามารถสูงได้ถึง 6 เมตร รสชาติไม่ขม ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว ได้รับความนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารในประเทศเม็กซิโก กัวเตมาลา และประเทศแถบอเมริกากลาง

คุณค่าทางโภชนาการของผักไชยา

สำหรับคะน้าเม็กซิโกหรือผักไชยา นำยมรับประทานก้านและยอด มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบผักไชยาขนาด 100 กรัม ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอด้วย น้ำร้อยละ 85.3 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 4.2 โปรตีนร้อยละ 5.7 ไขมันร้อยละ 0.4 กากใยอาหารร้อยละ 1.9 แคลเซียม 199.4 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 217.2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 11.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 164.7 มิลลิกรัม และ วิตามินเอ 0.085 มิลลิกรัม ผักไชยามีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าผักโขมมากถึง 2 เท่า

สรระคุณของผักไชยา

การนำผักไชยามาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย ใช้ประโยชน์จากก้านและใบ โดย สรรพคุณของผักไชยา มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงร่างกาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง
  • ช่วยบำรุงเลือด ทำให้เลือดหมุนเวียนดี ช่วยลดคอเลสเตอรอล เพิ่มธาตุเหล็กให้กับเลือด ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดการอักเสบในเส้นเลือด ช่วยบรรเทาโรคไขข้ออักเสบ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยการย่อยอาหาร ช่วยบรรเทาริดสีดวงทวาร
  • บำรุงสายตา ช่วยในการมองเห็น บำรุงสายตา
  • บำรุงกระดูก เพิ่มแคลเซียมให้กระดูก รักษาโรคกระดูกพรุน
  • บำรุงสมอง ช่วยให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันอาการปวดหัว
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ รักษาโรคหอบหืด ป้องกันอาการไอ ลดการสะสมและลดการติดเชื้อในปอด ช่วยฆ่าเชื้อในปอด
  • ช่วยลดน้ำหนัก ปรับสมดุลของระบบการเผาผลาญ
  • บำรุงตับ ช่วยล้างพิษในตับ

โทษของผักไชยา

ต้นไชยามีพิษ เนื่องจาก มีสารกลูโคไซด์ เป็นสารที่อยู่ในผักไชยาดิบ การนำผักไชยามารับประทานต้องทำให้้สุกก่อน เพื่อทำลายฤทธิ์ของสารพิษ ให้นำไปต้ม หรือ ผัด อย่างน้อย 1 นาที และ  ห้ามต้มในภาชนะอะลูมิเนียม เพราะ อาจทำให้น้ำพิษ ทำให้ท้องร่วงได้

ผักไชยา ( Chaya ) หรือ คะน้าเม็กซิกัน สมุนไพร ต้นผงชูรส ลักษณะของผักไชยา เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของผักไชยา เช่น บำรุงเลือด บำรุงกระดูก โทษของผักไชยา มีอะไรบ้าง

เก๋ากี้ หรือ โกจิเบอร์รี่ สมุนไพรจีน ต้นเก๋ากี้เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของเก๋ากี้ เช่น บำรุงเลือด บำรุงสายตา บำรุงกำลัง ชะลอวัย โทษของเก๋ากี้มีอะไรบ้าง

เก๋ากี้ สมุนไพร โกจิเบอร์รี่ สรรพคุณของโกจิเบอร์รี่

ต้นเก๋ากี่ หรือ โกจิเบอรี่ ( Wolfberry ) คือ ผลไม้เมืองหนาว ชื่อเรียกอื่นๆของเก๋ากี้ เช่น พินอิน คำว่า ” เก๋ากี้ ” เป็นภาษาจีน นิยมนำผลกินสดๆ หรือ อบแห้ง ผลเก๋ากี้ สรรพคุณทางยามากมาย ชาวจีน นิยมนำเก๋ากี้มาตุ๋นทำยาจีน ทำเป็น ยาบำรุง ชื่อวิทยาศาสตร์ของเก๋ากี้ คือ Lycium barbarum ชื่อเรียกอื่นๆของเก๋ากี้ เช่น ฮ่วยกี้ เก่ากี้ เป็นต้น

ถิ่นกำเนิดโกจิเบอร์รี่ หรือ ถิ่นกำเนิดของเก๋ากี้ อยู่ที่ ตำบลจงหนิง เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย ประเทศจีน เก๋ากี้ ได้รับการการันตีว่ามีคุณภาพดีที่สุด คือ เก๋ากี้ ที่ปลูกที่ มณฑลเหอเป่ย์ มณฑลซานตง มณฑลเจียงซู มณฑลเจ้อเจียง

ลักษณะของต้นเก๋ากี้

ต้นเก๋ากี้ เป็นพืชเมืองหนาว ขนาดเล็ก ซึ่ง ความสูง ไม่เกิน 2 เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นทรงพุ่ม มีหนามคม ลักษณะของใบ เป็นใย เดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นกระจุก ใบทรงรี ขอบใบเรียบ ลักษณะดอก เป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกสีเหลือง ทรงไข่ ปลายแหลม ลักษณะของผล ทรงกลมรี ผลสุกมีเนื้อผลนุ่ม ผลสีแดง มีเมล็ดภายในผล ขนาดเล็ก มีจำนวนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของเก๋ากี้

เก๋ากี้ มีสารอาหารสำคัญหลายชนิด มี กรดอะมิโน 19 ชนิด แร่ธาตุต่างๆ 21 ชนิด เช่น ธาตุสังกะสี ธาตุเหล็ก ธาตุทองแดง ธาตุแคลเซี่ยม ธาตุฟอสฟอรัส ซิลีเนียม และ เจอร์มาเนียม วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินซี วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี6 และ วิตามินอี

สารอาหารต่างๆ เช่น สารโพลี่แซคคาไรด์ สารเจอร์มาเนี่ยม ( Germanium ) สารซิแซนทิน ( Zeaxanthin ) เบต้า-ไซโตสเตอรอล ( Beta – sitosterol ) สารไซเพอโรน ( Cyperone ) สารไฟซาลิน ( Physalin ) สารบีรเทน ( Betaine ) และ สารต้านอนุมูลอิสระ ( Antioxidant )

สรรพคุณเก๋ากี้

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเก๋ากี้ หรือ โกจิเบอร์รี่ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น ใช้ประโยชน์จากผลเก๋ากี้ ซึ่งใช้ทั้งผลสดและผลตากแห้ง สรรพคุณของเก๋ากี้ มีรายละเอียด ดังนี้

  • สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วนให้มีกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้รู้สึกสดชื่น บรรเทาอาการนอนไม่หลับ
  • สรรพคุณบำรุงหัวใจ ลดความดันโลหิต
  • สรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยระบบเจริญพันธุ์ ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอโรน ( Testosterone ) ในเลือด
  • สรรพคุณสำหรับสตรีมีครรภ ช่วยป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • สรรพคุณบำรุงกระดูกและกล้ามเนื้อ ช่วยลดอาการไขข้ออักเสบ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • สรรพคุณบำรุงสมอง ลดความเครียด แก้ปวดศีรษะ แก้เวียนหัว ช่วยในเรื่องความจำ
  • สรรพคุณบำรุงสายตา ป้องกันเลนส์ตาเสื่อม รักษาโรคตาบอดกลางคืน ช่วยรักษาอาการเยื่อบุตาแห้ง
  • สรรพคุณบำรุงเลือด ช่วยกระตุ้นให้เซลเม็ดเลือดขาวทำงานได้ดีขึ้น เสริมสร้างความแข็งแรงของเม็ดเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดคอเลสเตอรอล
  • สรรพคุณบำรุงผิวพรรณ ช่วยชะลอวัย

โทษของเก๋ากี้

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเก๋ากี้ มีข้อควรระวังในการใช้งาน ดังนี้

  • เก๋ากี้ สรรพคุณช่วยลดการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดหยุดไหลช้า
  • ป่วยเป็นไข้ตัวร้อน มีอาการอักเสบ หรือ ท้องเดิน ไม่เหมาะที่จะรับประทาน เก๋ากี้ เพราะ อาจทำให้อาการหนักขึ้น

เก๋ากี้ หรือ โกจิเบอร์รี่ สมุนไพรจีน ประโยชน์หลากหลาย ลักษณะของต้นเก๋ากี้ เป็นอย่างไร สรรพคุณของเก๋ากี้ เช่น บำรุงเลือด บำรุงสายตา บำรุงกำลัง ช่วยชะลอวัย โทษของเก๋ากี้ มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove