เก๋ากี้ หรือ โกจิเบอร์รี่ สมุนไพรจีน ต้นเก๋ากี้เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของเก๋ากี้ เช่น บำรุงเลือด บำรุงสายตา บำรุงกำลัง ชะลอวัย โทษของเก๋ากี้มีอะไรบ้าง

เก๋ากี้ สมุนไพร โกจิเบอร์รี่ สรรพคุณของโกจิเบอร์รี่

ต้นเก๋ากี่ หรือ โกจิเบอรี่ ( Wolfberry ) คือ ผลไม้เมืองหนาว ชื่อเรียกอื่นๆของเก๋ากี้ เช่น พินอิน คำว่า ” เก๋ากี้ ” เป็นภาษาจีน นิยมนำผลกินสดๆ หรือ อบแห้ง ผลเก๋ากี้ สรรพคุณทางยามากมาย ชาวจีน นิยมนำเก๋ากี้มาตุ๋นทำยาจีน ทำเป็น ยาบำรุง ชื่อวิทยาศาสตร์ของเก๋ากี้ คือ Lycium barbarum ชื่อเรียกอื่นๆของเก๋ากี้ เช่น ฮ่วยกี้ เก่ากี้ เป็นต้น

ถิ่นกำเนิดโกจิเบอร์รี่ หรือ ถิ่นกำเนิดของเก๋ากี้ อยู่ที่ ตำบลจงหนิง เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย ประเทศจีน เก๋ากี้ ได้รับการการันตีว่ามีคุณภาพดีที่สุด คือ เก๋ากี้ ที่ปลูกที่ มณฑลเหอเป่ย์ มณฑลซานตง มณฑลเจียงซู มณฑลเจ้อเจียง

ลักษณะของต้นเก๋ากี้

ต้นเก๋ากี้ เป็นพืชเมืองหนาว ขนาดเล็ก ซึ่ง ความสูง ไม่เกิน 2 เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นทรงพุ่ม มีหนามคม ลักษณะของใบ เป็นใย เดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นกระจุก ใบทรงรี ขอบใบเรียบ ลักษณะดอก เป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกสีเหลือง ทรงไข่ ปลายแหลม ลักษณะของผล ทรงกลมรี ผลสุกมีเนื้อผลนุ่ม ผลสีแดง มีเมล็ดภายในผล ขนาดเล็ก มีจำนวนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของเก๋ากี้

เก๋ากี้ มีสารอาหารสำคัญหลายชนิด มี กรดอะมิโน 19 ชนิด แร่ธาตุต่างๆ 21 ชนิด เช่น ธาตุสังกะสี ธาตุเหล็ก ธาตุทองแดง ธาตุแคลเซี่ยม ธาตุฟอสฟอรัส ซิลีเนียม และ เจอร์มาเนียม วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินซี วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี6 และ วิตามินอี

สารอาหารต่างๆ เช่น สารโพลี่แซคคาไรด์ สารเจอร์มาเนี่ยม ( Germanium ) สารซิแซนทิน ( Zeaxanthin ) เบต้า-ไซโตสเตอรอล ( Beta – sitosterol ) สารไซเพอโรน ( Cyperone ) สารไฟซาลิน ( Physalin ) สารบีรเทน ( Betaine ) และ สารต้านอนุมูลอิสระ ( Antioxidant )

สรรพคุณเก๋ากี้

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเก๋ากี้ หรือ โกจิเบอร์รี่ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น ใช้ประโยชน์จากผลเก๋ากี้ ซึ่งใช้ทั้งผลสดและผลตากแห้ง สรรพคุณของเก๋ากี้ มีรายละเอียด ดังนี้

  • สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วนให้มีกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้รู้สึกสดชื่น บรรเทาอาการนอนไม่หลับ
  • สรรพคุณบำรุงหัวใจ ลดความดันโลหิต
  • สรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยระบบเจริญพันธุ์ ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอโรน ( Testosterone ) ในเลือด
  • สรรพคุณสำหรับสตรีมีครรภ ช่วยป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • สรรพคุณบำรุงกระดูกและกล้ามเนื้อ ช่วยลดอาการไขข้ออักเสบ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • สรรพคุณบำรุงสมอง ลดความเครียด แก้ปวดศีรษะ แก้เวียนหัว ช่วยในเรื่องความจำ
  • สรรพคุณบำรุงสายตา ป้องกันเลนส์ตาเสื่อม รักษาโรคตาบอดกลางคืน ช่วยรักษาอาการเยื่อบุตาแห้ง
  • สรรพคุณบำรุงเลือด ช่วยกระตุ้นให้เซลเม็ดเลือดขาวทำงานได้ดีขึ้น เสริมสร้างความแข็งแรงของเม็ดเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดคอเลสเตอรอล
  • สรรพคุณบำรุงผิวพรรณ ช่วยชะลอวัย

โทษของเก๋ากี้

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเก๋ากี้ มีข้อควรระวังในการใช้งาน ดังนี้

  • เก๋ากี้ สรรพคุณช่วยลดการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดหยุดไหลช้า
  • ป่วยเป็นไข้ตัวร้อน มีอาการอักเสบ หรือ ท้องเดิน ไม่เหมาะที่จะรับประทาน เก๋ากี้ เพราะ อาจทำให้อาการหนักขึ้น

เก๋ากี้ หรือ โกจิเบอร์รี่ สมุนไพรจีน ประโยชน์หลากหลาย ลักษณะของต้นเก๋ากี้ เป็นอย่างไร สรรพคุณของเก๋ากี้ เช่น บำรุงเลือด บำรุงสายตา บำรุงกำลัง ช่วยชะลอวัย โทษของเก๋ากี้ มีอะไรบ้าง

ถั่วเขียว พืชเศรษฐกิจ ถั่วงอกทำมาจากถั่วเขียว ต้นถั่วเขียวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงสายตา ลดความดัน ช่วยเจริญอาหาร โทษของถั่วเขียวมีอะไรบ้าง

ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพร

ต้นถั่วเขียว ( Green bean ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วเขียว คือ Vigna radiata (L.) R.Wilczek สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเขียว เช่น ถั่วจิม ถั่วมุม ถั่วเขียว ถั่วทอง เป็นต้น สำหรับต้นถั่วเขียว มีประวัติการบริโภคมากกว่า 4,000 ปี ที่แคว้นมัธยประเทศ ในประเทศอินเดีย ซึ่งถั่วเขียวเป็นพืชที่ปลูกกันอย่างแพร่หลาย ในประเทศไทย พม่า ศรีลังกา ปากีสถาน อิหร่าน และ จีน เนื่องจากเมล็ดถั่วเขียว สามารถเก็บได้นาน เมล็ดนิยมนำมาทำอาหาร เมนูอาหารที่มีถั่วเขียวเป็นส่วนประกอบ เช่น เต้าส่วน ถั่วทอง ขนมข้าวเกรียบอ่อน เป็นต้น และ นำมาเพาะเป็น ถั่วงอก ได้

ลักษณะของต้นถั่วเขียว

ต้นถั่วเขียวเป็นพืชล้มลุก อายุเพียงแค่หนึ่งปี สามารถปลูกได้ตลอดปี ใช้น้ำน้อย ทนแล้งได้ดี สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นถั่วเขียว มีดังนี้

  • ลำต้นถั่วเขียว ลักษณะเป็นพุ่มตั้งตรง ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นแตกแขนง ลำต้นลักษณะค่อนข้างเป็นเหลี่ยม ลำต้นมีขนอ่อนๆปกคลุมทั่วลำต้น
  • ใบถั่วเขียว ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ขึ้นแบบสลับอยู่บนลำต้น ใบมีสีเขียว ลักษณะคล้ายรูปไข่ ปลายใบแหลม ใบมีขนปกคลุม
  • ดอกถั่วเขียว ลักษณะดอกออกเป็นช่อ กลีบดอกสีขาว สีม่วง และ สีเหลือง ก้านช่อดอกยาวประมาณ 20 เซนติเมตร
  • ฝักถั่วเขียว ลักษณะยาวกลม ความยาวของฝักประมาณ 15 เซนติเมตร ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาลอ่อน ภายในฝักจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 10-15 เมล็ด
  • เมล็ดถั่วเขียว อยู่ภายในฝักถั่วเขียว ลักษณะของเมล็ดกลมรี มีสีเขียว เนื้อในเป็นสีเหลือง เมล็ดผิวเรียบ แข็ง

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว

สำหรับการบริโภถั่วเขียว นิยมนำมาบริโภคทั้งเมล็ดถั่วเขียวดิบ และ เมล็ดถั่วเขียวสุก นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วเขียวดิบ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 347 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 62.62 กรัม น้ำ 9.05 กรัม น้ำตาล 6.6 กรัม กากใยอาหาร 16.3 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 23.86 กรัม วิตามินบี1 0.621 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.233 มิลลิกรัม วิตามินบี3 2.251 มิลลิกรัม วิตามินบี5 1.91 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.382 มิลลิกรัม วิตามินบี9 625 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.8 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.51 มิลลิกรัม วิตามินเค 9 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 132 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.74 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 189 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.035 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,246 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 2.68 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วเขียวต้ม ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 105 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 19.15 กรัม น้ำ 72.66 กรัม น้ำตาล 2 กรัม กากใยอาหาร 7.6 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 7.02 กรัม วิตามินบี1 0.164 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.577 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.41 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 159 ไมโครกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.7 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 48 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.298 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 99 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.84 มิลลิกรัม

สรรพคุณของถั่วเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่วเขียว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้การบริโภคเมล็ดถั่วเขียว โดยสรรพคุณของถั่วเขียว มีดังนี้

  • บำรุงร่างกาย ช่วยเสริมสร้างกล้าม บำรุงกำลัง และ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค
  • ป้องกันมะเร็ง มีสารต้านเอนไซม์โปรตีเอสสูง
  • ช่วยเจริญอาหาร แก้ปัญหาการไม่อยากกินข้าว และ แก้เบื่ออาหาร
  • บำรุงเลือด ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยไขมันและคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
  • บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • ช่วยลดไข้ ช่วยขับร้อนในร่างกาย แก้ร้อนใน
  • แก้กระหายน้ำ
  • ช่วยถอนพิษในร่างกาย ช่วยแก้อาการอาเจียนจากการดื่มเหล้า ช่วยขับของเหลวในร่างกาย ขับปัสสาวะ
  • บำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยกระตุ้นประสาท ช่วยให้สมองทำงานฉับไว
  • บำรุงสายตา รักษาตาอักเสบ แก้อาการตาพร่า
  • ช่วยขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก
  • รักษาแผลฝี

โทษของถั่วเขียว

สำหรับการบริโภคถั่วเขียว ข้อควรระวังในการรับประทาน ดังนี้

  • การกินถั่วเขียวทำให้ท้องอืด สำหรับคนที่มีอาการท้องอืดง่าย ไม่ควรรับประทานถั่วเขียว
  • สำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรรับประทานถั่วเขียว เพราะ อาจทำให้อุจจาระบ่อย หรือ ท้องเดิน
  • การกินถั่วเขียวมากเกินไป ทำให้อ้วนได้ อาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป
  • ถั่วเขียว มีสารพิวรีน ( Purine ) กระตุ้นให้เกิดข้อกระดูกอักเสบ ผู้ป่วยโรคเกาต์ ไม่ควรรับประทาน

ถั่วเขียว ธัญพืช พืชเศรษฐกิจ ถั่วงอก ทำมาจากถั่วเขียว ลักษณะของต้นถั่วเขียว เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว สรรพคุณของถั่วเขียว เช่น ช่วยถอนพิษ บำรุงสายตา ลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร โทษของถั่วเขียว มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove