กระเจี๊ยบเขียว นิยมรับประทานผลเป็นอาหาร ต้นกระเจี๊ยบเขียวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณเป็นยาระบาย บำรุงสมอง โทษของกระเจี๊ยบเขียวมีอะไรบ้างกระเจี๊ยบเขียว ผักสด สมุนไพร สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว

ต้นกระเจี๊ยบเขียว ภาษาอังกฤษ เรียก Lady‘s Finger ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเจี๊ยบเขียว คือ Abelmoschus esculentus Moench. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระเจี๊ยวเขียว เช่น กระเจี๊ยบมอญ กระเจี๊ยบ มะเขือมื่น ส้มพม่า มะเขือหวาย มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือละโว้ กระต้าด ถั่วเละ เป็นต้น กระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สรรพคุณ ขับสารพิษในร่างกาย บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสมอง ยาระบาย รักษาโรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ ลดความดันโลหิต ถ่ายพยาธิ แก้ท้องผูก บำรุงตับ

ผลกระเจี๊ยบเขียว นิยมนำมาทำอาหาร โดยใช้ลวกเป็นผักเคียงกับน้ำพริก นอกจากนี้ยังนิยานำมาทำอาหาร หลายชนิด เช่น แกงส้ม แกงใส่ปลาย่าง กระเจี๊ยบเขียวหากกินกับ น้ำพริกกะปิ ปลาทู จะให้รสชาติที่ดีมาก กรเจี๊ยบเขียวเส้นมีใยอาหารตามธรรมชาติ ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย มีแคลเซียมช่วยในการบำรุงกระดูกและฟัน และยังมี วิตามินต่างๆสูง และนอกจากนั้นยังมีโฟเลตสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง บำรุงสมอง และจำเป็นต่อทารกในครรถ์

ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบเขียว

ต้นกระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชล้มลุก อายุสั้นเพียง 1 ปี สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบเขียว มีดังนี้

  • ลำต้นกระเจี๊ยบเขียว ลำต้นตั้งตรงความสูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะเป็นไม้เนื้ออ่อน เปลือกลำต้นบาง เนื้อลำต้นมีสีขาวนวล
  • ใบกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะเป็นใบเดี่ยว คล้ายใบละหุ่ง คือ ใบกลมเป็นแฉกแบบร่องลึก ปลายใบแหลม ใบหยักแหลมคล้ายฟันเลื่อย โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ผิวใบหยาบสากมือ ใบมีสีเขียว
  • ดอกกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบ ดอกมีสีเหลืองอมขาว บริเวณกลางดอกมีสีม่วง
  • ผลกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะเป็นฝัก เจริญเติบโตมาจากดอก ฝักเรียวยาวปลายฝักแหลม เหมือนรูปนิ้วมือ ฝักมีขนอ่อนๆทั่วฝัก มีสันเป็นเหลี่ยมตามยาว 5 เหลี่ยม ฝักกระเจี๊ยบมีทรงยาวสีเขียว

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบเขียวนิยมรับประทานผลสดกระเจี๊ยบเขียวเป็นผักสด ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลกระเจี๊ยบเขียว ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน พลังงาน 33 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 7.45 กรัม น้ำตาล 1.48 กรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม ไขมัน 0.19 กรัม โปรตีน 1.93 กรัม น้ำ 89.58 กรัม วิตามินเอ 36 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.215 มิลลิกรัม วิตามินซี 23 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.27 มิลลิกรัม วิตามินเค 31.3 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 82 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.62 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 57 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 299 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.58 มิลลิกรัม

ฝักของกระเจี๊ยบเขียว มีเมือก ซึ่งมีสารประเภท เพ็กติน ( Pectin ) และกัม ( Gum ) ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้  ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ รักษาระดับความดันให้สมดุล เป็นยาบำรุงสมองเป็นยาระบาย แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด

สรรพคุณของกระเจียบเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพรจากกระเจี๊ยบเขียว สามารถใช้ประโยชน์จาก ฝักกระเจี๊ยบเขียว ใบกระเจี๊ยบเขียว รากกระเจี๊ยบเขียว และ เมล็ดกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว มีดังนี้

  • ฝักของกระเจี๊ยบเขียว มีเมือก ซึ่งมีสารประเภท เพ็กติน (Pectin) และกัม (Gum) ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้  ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ รักษาระดับความดันให้สมดุล เป็นยาบำรุงสมองเป็นยาระบาย แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด
    รับประทานฝักกระเจี๊ยบ 10 -15 ฝัก ตอนเย็นหรือก่อนนอน สามารถ ลดอาการท้องผูก
    รับประทานฝักกระเจี๊ยบ 3 – 5 ฝัก ก่อนอาหาร ทุกวัน สามารถ รักษา แผลในกระเพาะอาหาร
    รับประทานฝักกระเจี๊ยบ 10 – 15 ฝัก ทุกวัน สามารถ บำรุงตับ
    รับประทานฝักกระเจี๊ยบ 5 ฝัก ก่อนอาหาร 3 มื้อ ติดต่อกันทุกวัน สามารถ กำจัด พยาธิตัวจี๊ด
    รับประทานฝักกระเจี๊ยบ 30 – 40 ฝัก ตอนเย็น หรือ ก่อนนอน สามารถ ดีท็อกซ์ลำไส้ ขับสารพิษ อุจจาระตกค้าง
  • ใบกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณ ลดอาการอักเสบปวดบวมได้ และช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ช่วยขับเหงื่อ รักษาโรคปากนกกระจอก
  • รากกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณรักษาแผลพุพอง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคซิฟิลิส
  • เมล็ดกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณแก้อาการคัน ช่วยขับปัสสาวะ
  • ยางจากฝักกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณรักษาแผล ช่วยทำให้แผลหายเร็ว
  • ดอกกระเจี๊ยบ สรรพคุณรักษาฝี ช่วยขับปัสสาวะ

โทษของกระเจี๊ยบเขียว

การรับประทานกระเจี๊ยบเขียว หรือ ใช้ประโยชน์ส่วนต่างๆของกระเจี๊ยบเขียว ในการรักษาโรคมีข้อควรระวัง ดังนี้

  • สำหรับเมล็ดแก่ของกระเจี๊ยบเขียว มีความเป็นพิษ ในเมล็ดแก่สารพิษที่มีผลต่อระบบประสาท คือ gossypol จึงไม่ควรรับประทานเมล็ดจากฝักกระเจี๊ยบเขียวแก่
  • การรับประทานกระเจี๊ยบเขียว อาจทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร ปวดบีบท้อง ท้องอืด หรือ ท้องเสียได้ เนื่องจากกระเจี๊ยบเขียวมีคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
  • การรับประทานกระเจี๊ยบเขียวมากเกินไป อาจทำให้เกิดนิ่วได้ ้เนื่องจากกระเจี๊ยบเขียวมีออกซาเลตสูง
  • กระเจี๊ยบเขียวมีวิตามินเค ที่สรรพคุณช่วยต้านการเกิดลิ่มเลือด สำหรับกลุ่มคนที่กำลังใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดไม่ควรรับประทานกระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบเขียว ( Lady‘s Finger ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเจี๊ยบเขียว คือ Abelmoschus esculentus Moench. สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบเขียว ประโยชน์และสรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว ขับสารพิษในร่างกาย บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสมอง ยาระบาย รักษาโรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ ลดความดันโลหิต ถ่ายพยาธิ แก้ท้องผูก บำรุงตับคุณ ชื่อเรียกอื่นๆของกระเจี๊ยวเขียว เช่น กระเจี๊ยบมอญ กระเจี๊ยบ มะเขือมื่น ส้มพม่า มะเขือหวาย มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือละโว้ กระต้าด ถั่วเละ เป็นต้น

กระเจี๊ยบเขียว พืชท้องถิ่น นิยมรับประทานผล ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบเขียว เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว เช่น เป็นยาระบาย บำรุงสมอง โทษของกระเจี๊ยบเขียว มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ตะขบ สมุนไพร พืชท้องถิ่น ผลตะขบสามารถรับประทานได้ รสหวาน ลักษณะของต้นตะขบเป็นอย่างไร สรรพคุณของตะขบ เช่น บำรุงกำลัง ช่วยขับเงื่อ โทษของตะขบ มีอะไรบ้าง

ตะขบ สมุนไพร

ต้นตะขบ ภาษาอังกฤษ เรียก West Indian Cherry ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะขบ คือ Muntingia calabura L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของตะขบ มีหลากหลาย เช่น คนสุราษฏร์ธานี เรียก ครบฝรั่ง กะเหลี่ยงแดง เรียก หม่ากตะโก่เสะ ชาวม้ง เรียก ตากบ เมี่ยน เรียก เพี่ยนหม่าย ชาวภาคกลาง เรียก ตะขบฝรั่ง เป็นต้น

ต้นตะขบ มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับและผลไม้รับประทานผล ซึ่งตะขบมักพบตามพื้นที่รกร้างว่างเปล่าตามป่าโปร่ง เนื่องจากลักษระของตะขนมีผลมาก และสามารถแพร่กระจายง่ายตามรอบๆของต้นตะขบ รวมถึงผลตะขบนิยมเป็นอาหารของนกและสัตว์ขนาดเล็ก

ลักษณะของต้นตะขบ

ต้นตะขบ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ปลูกง่าย สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นตะขบ มีดังนี้

  • ลำต้นต้นตะขบ ความสูงได้ประมาณ 5 ถึง 7 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านและแผ่ขนานกับพื้นดิน ลักษณะของเปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทา กิ่งอ่อนมีขนปกคลุมทั่วกิ่งก้าน
  • ใบตะขบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับตามกิ่งก้าน ลักษณะใบเป็นรูปไข่ปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบเป็นหยักๆ ใบลักษณะหยาบ มีขนปกคลุม ใบมีสีเขียว
  • ดอกตะขบ ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกใบ เป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกเป็นสีขาว
  • ผลตะขบ เจริญเติบโตจากดอกตะขบ ลักษณะผลกลม ผลสดสีเขียว และ ผลสุกสีแดง ภายในผลมีเมล็ด และ เนื้อผลมีรสหวาน

คุณค่าทางโภชนาการของตะขบ

สำหรับตะขบมีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลตะขบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 97 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ เช่น แคลเซียม 51.7 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 773 มิลลิกรัม โซเดียม 12.8 มิลลิกรัม และวิตามินกับสารอาหารต่างๆอีกมากมาย จากผลงานการวิจัยของ นพ.สมยศ ดีรัศมี พบว่าตะขบ สามารถช่วยดูดซับคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ และ ป้องกันเส้นเลือดในสมองแตกได้

สรรพคุณของตะขบ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตะขบ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผล ดอก เนื้อไม้ ราก และ ใบ สรรพคุณของตะขบ มีดังนี้

  • ผลตะขบ สรรพคุณบำรุงกำลัง ทำให้ร่างกายสดชื่น แก้กระหายน้ำบำรุงสมอง ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็งลำไส้
  • ดอกตะขบ สรรพคุณแก้ปวดหัว แก้ปวดท้อง แก้อาการเกรงในทางเดินอาหาร ช่วยขัยระดูสตรี แก้ตับอักเสบ แก้ปวด แก้อักเสบ
  • เนื้อไม้ตะขบ สรรพคุณแก้ปวดหัว แก้หวัด ลดไข้  แก้ท้องเสีย ช่วยขับพยาธิ แก้ตานขโมย รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการคันตามตัว
  • ใบตะขบ สรรพคุณช่วยขับเหงื่อ
  • รากตะขบ สรรพคุณขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการคันตามตัว
  • เปลือกตำต้น สรรพคุณเป็นยาระบาย

โทษของตะขบ

สำหรับการรับประทานผลตะขบเป็นอาหาร เนื่องจากผลตะขบมีรสหวาน สำหรับผู้ป่วยที่มีน้ำตาลในเลือดสูง ผู้ป่วยเบาหวาน ควรรับประทานตะขบในปริมาณที่เหมาะสม และ เปลือกของลำต้นตะขบ มีสรรพคุณเป็นยาระบาย สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องท้องเสีย ไม่ควรรับประทานยาทีมีส่วนผสมของเปลือกลำต้นตะขบ

ตะขบ คือ พืชท้องถิ่น ผลตะขบสามารถรับประทานได้ รสหวาน ลักษณะของต้นตะขบเป็นอย่างไร สรรพคุณของตะขบ เช่น บำรุงกำลัง ช่วยขับเงื่อ โทษของตะขบ มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove