ส้มโอ Pomelo มีวิตามินซีและแคลเซียมสูง สรรพคุณของส้มโอ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงกระดูกและฟัน

ส้มโอ ผลไม้ สมุนไพร

ต้นส้มโอ ภาษาอังกฤษ เรียก Pomelo มาจากคำว่า Pampelmoose ภาษาดัตซ์ แปลว่า ส้มที่มีขนาดเท่าฟักทอง ชื่อวิทยาศาสตร์ของส้มโอ คือ Citrus maxima (Burm.) Merr. ชาวจีน นิยมใช้ส้มโอเป็นไหว้เจ้า เชื่อว่า ส้มดอสื่อความหมายถึงความโชคดี ส้มโอ เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมาก

ประโยชน์ของส้มโอ ส้มโอ เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์หลากหลายและยังมีสรรพคุณทางยาในการรักษาโรคต่าง ๆ เพราะอุดมไปด้วยวิตามินซีซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมาก และยังมีวิตามินและแร่ธาตุอื่น ๆที่จำเป็นต่อร่างกายอีกหลายชนิด โดยส่วนที่จะนำมาใช้ประโยชน์ก็มีหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นผล เปลือก ใบ และเมล็ด ก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปลือกและผลซึ่งเป็นส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด

ส้มโอในประเทศไทย

ส้มโอ ในประเทศไทยนิยมรับประทานผลส้มโอเป็นอาหารอาหาร รสชาติอร่อย ส้มโอจึงเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีการปลูกส้มโอเชิงพาณิชย์ เพื่อการบริโภคภายในประเทศ สำหรับการปลูกส้มโอในประเทศไทยในช่วงแรกๆ มีการปลูกบริเวณที่ราบลุ่มรอบๆแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมากมีการแพร่กระจายการปลูกทั่วภาคกลาง แต่แหล่งส้มโอที่ได้รับความนิยม คือ ส้มโอนครปฐม โดยสายพันธ์ส้มโอที่นิยมปลูกทางการค้า มี 7 สายพันธ์ ประกอบด้วย ส้มโอทับทิมสยาม ส้มโอทองดี ส้มโอขาวน้ำผึ้ง ส้มโอขาวใหญ่ ส้มโอขาวพวง ส้มโอขาวแตงกวา ส้มโอท่าข่อย และ ส้มโอปัตตาเวีย

ส้มโอกับความเชื่อในสังคมไทย

ส้มโอ แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ จึงมีการนำส้มโอมาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชิวิต รวมถึงพิธีกรรมต่างๆในสังคม เช่น พิธีไหว้พระจันทร์ของชาวไทยเชื้อสายจีน ส้มโอใช้แทนสัญลักษณ์แทนศีรษะของชาวจีนที่เสียชีวิตในการกู้ชาติ เราจึงเห็นส้มโอเป็นเครื่องเซ่นไหว้สำคัญ แต่นอกจากนั้น การรับประทานส้มโอ และนำส้มโอมาเป็นส่วนประกอบของอาหารไทยทั้งหวานคาว รวมถึงทานเป็นผลไม้สด เช่น ยำส้มโอ เป็นต้น

ลักษณะของต้นส้มโอ

ต้นส้มโอ ไม้ยืนต้น สามารถขยายพันธ์ส้มโอสามารถใช้การเพาะเมล็ดพันธ์ การติดตา การตอนกิ่ง และ การเสียบกิ่ง ลักษณะของต้นส้มโอ มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้น ขนาดสูงประมาณ 10 เมตร ลำต้นของส้มโอมีสีน้ำตาล
  • ใบส้มโอ ใบรูปมนรี ขอบใบเป็นคลื่น ปลายใบมน เหมือนโคนใบ
  • ดอกของส้มโอออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบมีสีขาว
  • ผลของส้มโอ กลม มีเปลือกหนา น้ำมันมาก ผลอ่อนของส้มโอจะมีสีเขียว เมื่อผลของส้มโอแก่จะเป็นสีเหลืองอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของส้มโอ

ในการบริโภคส้มโอเป็นอาหารนิยมบริโภคผลของส้มโอ ซึ่งนักโภชนาการได้การศึกษาคุรค่าทางโภชนาการของผลส้มโอ ขนาด 100 กรัม พบว่า พลังงาน 38 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.62 กรัม กากใยอาหาร 1 กรัม ไขมัน 0.04 กรัม โปรตีน 0.76 กรัม วิตามินบี 1 0.034 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.027 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.22 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.036 มิลลิกรัม วิตามินซี 61 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.11 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.017 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 17 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 216 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม

สรรพคุณของส้มโอ

สำหรับการใช้ส้มโอในด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่ ผล เปลือกของผล ใบ เมล็ด ดอก ซึ่งรายละเอียด สรรพคุณของส้มโอ มีดังนี้

  • ผลสดของส้มโอ สรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการเมาค้างได้ ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา
  • เปลือกของผลส้มโอ สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้จุกแน่นหน้าอก บรรเทาอาการไส้เลื่อน
  • ใบของส้มโอ สรรพคุณบรรเทาอาการปวดหัว แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • ดอกของส้มโอ สรรพคุณแก้อาการจุกสียดที่กระเพาะอาหาร
  • เมล็ดของส้มโอ สรรพคุณแก้ไข้หวัด แก้ไอ แก้อาการปวดท้องน้อย รักษาโรคกระเพาะอาหาร

โทษของส้มโอ 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากส้มโอ ด้านการรักษาโรคและการรับประทาน มีข้อควรระวัง ซึ่งโทษของส้มโอ มีดังนี้

  • เมล็ดส้มโอ มีความขมมาก หากรับประทานเข้าไปอาจทำให้อาเจียนได้
  • เปลือกส้มโอมีน้ำมันหอมระเหย หากเข้าตาจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา
  • เปลือกส้มโอไม่ควรรับประทานแบบสดๆได้ เพราะ จะทำให้เกิดอาการเวียนศรีษะ อาเจียนได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

ชะพลู นิยมรับประทานใบชะพลูเป็นอาหาร ช่วยขับลม และ ลดน้ำตาลในเลือดได้ดี ลักษณะของต้นชะพลูเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของชะพลู และ โทษของชะพลูมีอะไรบ้าง

ชะพลู สมุนไพร สรรพคุณของชะพลู

ชะพลู ( Wildbetal Leafbush ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะพูล คือ Piper sarmentosum Roxb. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของชะพลู เช่น ปูนก ปูลิง ช้าพลู  นมวา ผักอีเลิศ เป็นต้น ลักษณะเด่นของชะพลู คือ มีกลิ่นหอม นิยมนำมาประกอบอาหาร เราจะพบบ่อย โดยนำใบชะพลูมาทำเป็น เครื่องเคียง ทานกับแหนมคลุก หรือน้ำพริก ชะพลู เป็นสมุนไพรมีสรรพคุณด้านการรักษาโรค ดอกชะพลูช่วยขับลม ทำให้เสมหะแห้ง รากชะพลูช่วยขับเสมหะ ใบทำให้เจริญอาหาร ทั้งต้นช่วยลดน้ำตาลในเลือดรักษาโรคเบาหวานได้ ชะพลูมีถิ่นกำเนิดที่หมู่เกาะชวาและหมูเกาะมาเลย์

ประโยชน์ของชะพลู ใบชะพลูมีสารบีตาแคโรทีนสูงมาก ใบนำมารับประทานกับเมี่ยงคำ นำมาแกงใส่กะทิ ข้าวยำ ห่อหมก หรือเป็นผักจิ้มน้ำพริก ทางภาคใต้ใส่ในแกงกะทิหอยขม แกงคั่วปูในจังหวัดจันทบุรีใส่ในแกงป่าปลาในใบมีออกซาเลทสูง จึงไม่ควรรับประทานมากเป็นประจำ

นอกจากนนั้นชะพลูสามารถใช้รักษาโรคได้ เช่น ดอกทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้ รากขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง ต้นขับเสมหะในทรวงอก ใบมีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ใบ ต้น และดอกใช้ขับเสมหะ รากใช้ขับลม น้ำต้มทั้งต้นช่วยลดน้ำตาลในเลือดของกระต่ายที่เป็นเบาหวานได้

ลักษณะของต้นชะพลู

ต้นชะพลู เป็นพืชล้มลุกมีขนาดเล็ก เป็นเถาเลื้อยรวมกัน ใบชะพลูมีสีเขียวสดเป็นมัน ปลายใบชะพลูแหลม คล้ายรูปหัวใจ มีกลิ่นฉุน รสเผ็ดเล็กน้อย ดอกชะพลูมีสีขาว ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อรูปทรงกระบอกยาว สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์การแยกหน่อและการปักชำ ลักษณะของต้นชะพลู มีดังนี้

  • ลำต้นชะพลู ลักษณะตั้งตรง มีความสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลำต้นสีเขียวเข้ม มีข้อเป็นปมๆ แตกกอออกเป็นพุ่ม
  • ใบชะพลู ลักษณะเป็นใบดี่ยว ก้านใบยาวประมาณ 3 เซ็นติเมตร ใบมีสีเขียวสด ใบคล้ายรูปหัวใจ
  • ดอกชะพลู ลักษณะดอกเป็นช่อ ทรงกระบอก ชูตั้งขึ้น ดอกอ่อนมีสีขาว ดอกแก่จะออกสีเขียว ดอกจะแทงดอกบริเวณปลายยอดและช่อใบ
  • ผลชะพลู เจริญเติบโตจากช่อดอก ผลสีเขียว ผิวมัน ดอกมักออกมากในฤดูฝน

คุณค่าทางโภชนาการของชะพลู

สำหรับการกินชะพลูเป็นอาหารนิยมรับประทานใบชะพลูเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาใบชะพลูขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 101 กิโลแคลลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 5.4 กรัม ไขมัน 2.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 14.2 กรัม แคลเซียม 298 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 กรัม วิตามินบี1 0.09 กรัม วิตามินบี2 0.2 กรัม ไนอาซีน 3.4 กรัม วิตามินซี 22 กรัม เบต้าแคโรทีน 414 ไมโครกรัมและการใยอาหาร 6.9 กรัม

สรรพคุณของชะพลู

สำหรับการใช้ประโยชน์จากชะพลูด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ลำต้นใบและ ดอก รายละเอียด ดังนี้

  • รากของชะพลู  ช่วยขับเสมหะ ขับลมในลำไส้
  • ลำต้นของชะพลู สามารถใช้ขับเสมหะได้
  • ใบชะพลู จะมีรสเผ็ดร้อน นำมารับประทาน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ลดน้ำตาลในเลือด ใช้รักษาโรคเบาหวาน มีสารต้านอนุมูลอิสระ ใช้ป้องกันโรคมะเร็ง แก้ขัดเบา บำรุงธาตุ บำรุงเลือด ลดความดันโลหิต บำรุงกระดูก บำรุงสายตา ช่วยแก้ท้องอืด
  • ดอกของชะพลู นำมาอบแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้

โทษของชะพลู

หากรับประทานในปริมาณมากหรือติดต่อกันเป็นเวลานาน แคลเซียมที่มีอยู่ในใบชะพลูจะเปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกซาเลต (Oxalate) ซึ่งสารชนิดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนิ่วในไตได้ ดังนั้นคุณจึงควรดื่มน้ำตามมาก ๆ เพื่อให้สารออกซาเลตเจือจางลง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove