มะขาม Tamarind พืชสารพัดประโยชน์ นิยมกินผลมะขามเ็นอาหาร สรรพของมะขาม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงผิว เป็นยาระบายอ่อนๆ ลักษณะของต้นมะขามเป็นอย่างไร

มะขาม สมุนไพร สรรพคุณของมะขาม

ต้นมะขาม ภาษาอังกฤษ Tamarind ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะขาม คือ Tamardus lndica Linn  สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะขาม เช่น ขาม ตะลูบ ม่องโคล้ง มอดเล ส่ามอเกล หมากแกงอำเบียล มะขามไทย อำเปียล เป็นต้น มะขามจัดเป็นพันธุ์ไม้มงคล พืชที่มีคำว่าขาม พ้องกับคำว่า น่าเกรงขาม จึงนิยมปลูกในบ้าน มะขามยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์

ประโยชน์ของมะขามมีมากมาย เป็นพืชที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ คุณค่าทางโภชนาการสูง ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาจะเป็นเนื้อฝักแก่ (มะขามเปียก) เปลือกของลำต้น (ทั้งสดและแห้ง) และเนื้อในเมล็ด สามารถช่วยรักษาได้หลายโรค เช่น เป็นยาขับเสมหะ แก้อาการท้องเดิน บรรเทาอาการท้องผูก ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ เป็นต้น

ลักษณะของต้นมะขาม

ต้นมะขาม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามากไม่มีหนาม สามารถขยายพันธ์ได้หลายวิธี เพาะเมล็ดพันธ์ การตอนกิ่ง เป็นต้น

  • ลำต้นมะขาม ลำต้นขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขามากมาย เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน
  • ใบมะขาม ลักษณะเป็นใบประกอบ ใบมีเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ปลายใบและโคนใบมน
  • ดอกมะขาม ดอกจะออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลือง
  • ผลมะขาม ลักษณะผลเป็นฝักยาว รูปร่างโค้ง ฝักอ่อนเปลือกสีเขียวอมเทา ฝักแก่สีน้ำตาลเกรียม ภายในฝักมีเนื้อสีน้ำตาล เนื้อมีรสเปรี้ยวหรือหวาน ภายในเนื้อฝักมีเมล็ดลักษณะแบนเป็นมันสีน้ำตาล

คุณค่าทางโภชนาการของมะขาม

สำหรับการรับประทานมะขามเป็นอาหารสามารถรับประทานใบและเนื้อผลมะขาม ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเนื้อมะขามดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 239 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 62.5 กรัม น้ำตาล 57.4 กรัม กากใยอาหาร 5.1 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม โปรตีน 2.8 กรัม วิตามินบี 1 0.428 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.152 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.938 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.143 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.066 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 14 ไมโครกรัม โคลีน 8.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 3.5 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.1 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.8 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 74 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.8 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 92 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 113 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 628 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 28 มิลลิกรัม และสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามินเอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี

เนื้อฝักมะขามที่แก่จัดอุดมด้วยกรดอินทรีย์ เช่น กรดซิตริก ( Citric Acid ) กรดทาร์ทาริก ( Tartaric Acid ) หรือ กรดมาลิก ( Malic Acid ) เป็นต้น คุณสมบัติชำระล้างความสกปรกรูขุมขน คราบไขมันบนผิวหนังได้ดี

สรรพคุณของมะขาม

สำหรับการนำมะขามมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากใบและผลมะขาม สรรพคุณของมะขาม มีดังนี้

  • ใบมะขาม สรรพคุณบำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวพรรณสะอาดและช่วยต้านทานโรค รักษาแผลเรื้อรัง
  • เนื้อผลของมะขาม สรรพคุณช่วยต้านอนุมูลอิสระ บำรุงผิว ลดรอยคล้ำของผิว ช่วยให้ผิวสดใส เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ไอ ขับเสมหะ ถ่ายพยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นด้าย ช่วยขับน้ำนม สำหรับสตรีหลังคลอด
  • เปลือกของผลมะขาม สรรพคุณช่วยสมานแผล

โทษของมะขาม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะขามมีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากมะขาม ดังนี้

  • มะขามมีความเป็นกรด หากมีบาดแผลและโดยเนื้อมะขาม อาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง แสบได้
  • มะขามหากกินมากเกินไป อาจทำให้ท้องเสีย การท้องเสียมากเกินไป อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำเป็นอันตรายได้
  • มะขามเปียกใช้ขัดผิว หรือ พอกหน้า แต่หากใช้มะขามเปียกเกินอาทิตย์ละ 2 ครั้ง อาจทำให้ผิวระคายเคืองได้
  • สำหรับการขัดผิว หรือ พอกหน้า ด้วยมะขามปียก อย่าลืมบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น ด้วยครีมบำรุงผิว และ ครีมกันแดด

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

หอมหัวใหญ่ นิยมนำมาทำอาหาร มีประโยชน์ด้านสมุนไพร สรรพคุณบำรุงเลือด บำรุงหัวใจ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ทำความรู้จักกับหอมหัวใหญ่ว่าเป็นอย่างไร

หอมหัวหใญ่ สรรพคุณหอมใหญ่ สมุนไพร

หอมหัวใหญ่ ภาษาอังกฤษ เรียก Onion ชื่อวิทยาศาสตร์ของหอมใหญ่ คือ Allium cepa L. สำหรับชื่อเรียกอ่ืนๆของหอมหัวใหญ่ เช่น หัวหอม หัวหอมใหญ่ หอมฝรั่ง หอมหัว เป็นต้น หอมหัวใหญ่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียกลาง และแหล่งผลิตหอมหัวใหย่ที่สำคัญของโลก ได้แก่ ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และประเทศอินเดีย นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน

หอมหัวใหญ่มีวิตามินซีสูง และสารอื่นๆ เช่น สารเคอร์ซีทิน สามารถช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระในร่างกาย สรรพคุณอื่นๆของหอมใหญ่ เช่น รักษาเบาหวาน รักษาโรคหัวใจ ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงระบบโลหิต ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ป้องกันโรคต่างๆได้ดี

ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่

ต้นหอมหัวใหญ่ เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่ มีดังนี้

  • ต้นหอมใหญ่ มีความสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร มีหัวอยู่ใต้ดินคล้ายหัวหอม ลักษณะกลมป้อม มีเปลือกนอกบาง ๆ สีม่วงแดงหุ้มอยู่ แต่เมื่อแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
  • ใบหอมใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุก 3-4 ใบ ลักษณะเป็นรูปดาบ มีความกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร เส้นใบจีบตามยาวลักษณะคล้ายพัด
  • ดอกหอมใหญ่ ออกดอกเป็นช่อ แทงขึ้นมาจากลำต้นใต้ดิน กลีบดอกมีสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวใหญ่

สำหรับการบริโภคหอมหัวใหญ่นิยมรับประทานหัวหอมใหญ่ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวหอมใหญ่ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 40 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.34 กรัม น้ำตาล 4.24 กรัม กากใยอาหาร 1.7 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 1.1 กรัม น้ำ 89.11 กรัม วิตามินบี 1 0.046 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.027 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 0.116 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.123 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.12 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 19 ไมโครกรัม วิตามินซี 7.4 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 23 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.21 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.129 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 29 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 146 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.17 มิลลิกรัม และ ธาตุฟลูออไรด์ 1.1 ไมโครกรัม

สรรพคุณของหอมหัวใหญ่

สำหรับการใช้ประโยชน์จากหอมหัวใหญ่ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากหัวหอมใหญ่ ซึ่งสรรพคุณของหอมหัวใหญ่ มีดังนี้

สามารป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ช่วยแก้การนอนไม่หลับได้ ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยกำจัดสารตะกั่วและโลหะหนักที่ปนเปื้อนมากับอาหาร ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงของอัมพาต ช่วยรักษาโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ช่วยในการขยายหลอดเลือด ช่วยทำให้เลือดไม่ไปอุดตันในหลอดหลอด ช่วยในการสลายลิ่มเลือดปกป้องหลอดเลือดเลี้ยงสมองเกิดการอุดตัน ลดความอ้วน ช่วยลดคอเลสเตอรอล ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดันโลหิต แก้ความดันโลหิตสูง ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยรักษาไข้หวัด แก้หวัดคัดจมูก และช่วยลดน้ำมูก ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ หอมหืด คุณช่วยขับเสมหะได้ ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยแก้ท้องร่วง ช่วยขับพยาธิ ช่วยในการขับปัสสาวะ ช่วยแก้ลมพิษ ลดอาการปวดอักเสบ ช่วยฆ่าเชื้อโรค ช่วยรักษาผิวหนังที่ถูกน้ำร้อนลวกได้

 

โทษของหอมหัวใหญ่

สำหรับการรับประทานหอมหัวใหญ่ เพื่อการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคยังไม่พบรายงานว่าการกินหอมหัวใหญ่มีโทษ แต่มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากหอมหัวใหญ่ ดังนี้

  • หอมหัวใหญ่มีกลิ่นฉุนและมีน้ำมันหอมระเหย ทำให้ระคายเคืองดวงตาและหากผิวมีบาดแผลจะทำให้เกิดอาการแสบ
  • หอมหัวใหญ่เมีกลิ่นแรง อาจทำให้เกิดกลิ่นปาก ทำให้มีกลิ่นตัวแรงยิ่งขึ้น

วิธีปลูกหอมหัวใหญ่ สามารถปลูกได้จากการเพาะต้นกล้า โดยหว่านเมล็ดพันธุ์ให้ทั่วแปลงกล้า รดน้ำให้ทั่ว หลังจากที่เมล็ดงอกประมาณ 10-15 วัน ใช้หญ้าแห้งคลุมดินอย่าให้แปลงชื้น หรือร้อนเกินไป เมื่อกล้าอายุได้ 45 วัน ก็ย้ายเพื่อลงแปลงปลูก จัดเป็นแถว ห่างกัน 10 – 15 เซ็นติเมตร หมั่นพรวนดิน และกำจัดวัชพืช หลังจากย้ายกล้าลงแปลงปลูกประมาณ 90-100 วัน ก็ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove