กระเทียม สมุนไพร นิยมทำเป็นเครื่องเทศ ใส่ในอาหาร ลักษณะของต้นกระเทียม เป็นอย่างไร สรรพคุณของกระเทียม คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม โทษของกระเทียม

กระเทียม สมุนไพร สรรพคุณของกระเทียม สมุนไพรไทย

ต้นกระเทียม ( Garlic ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเทียม คือ Allium sativum L. ชื่อเรียกอื่นๆของกระเทียม คือ  หอมเทียม (เหนือ) กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม) หอมขาว (อุดรธานี) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หัวเทียม (ใต้) ซึง ปักทาง เสิง ฮวงซาง (จีน) เป็นต้น

กระเทียม เป็นพืชล้ม มีหัวอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์ โดยการแตกหน่อ และ เพาะเมล็ดพันธ์  หัวกระเทียม นิยมนำมาทำอาหาร กระเทียมมีกลิ่นฉุน ให้ความหอมในอาหาร และมีรสหวานหากนำมาต้ม การบริโภคกระเทียมก็เหมือนการกินยา

กระเทียมในประเทศไทย

หัวกระเทียม เป็นวัตถุดิบหลักในอาหารไทย กระเทียมจึงเป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถหาซื้อได้ตามตลาดทั่วไป ในประเทศไทยแหล่งปลูกประเทียม คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ซึ่งกระเทียมคุณภาพดี กลิ่นฉุน คือ กระเทียมจากจังหวัดศรีสะเกษ

คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม

สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวกระเทียมสด ขนาด 100 กรัม พบว่าหัวปกระเทียมขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน มากถึง 149 กิโลแคลอรี

โดย ในหัวกระเทียมขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม น้ำตาล 1 กรัม  ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 6.36 กรัม  วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.7 มิลลิกรัม วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.596 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 3 ไมโครกรัม วิตามินบี 6 1.235 มิลลิกรัม  ธาตุแคลเซียม 181 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.672 มิลลิกรัม  ธาตุสังกะสี 1.16 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม และ ธาตุซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม

ลักษณะของต้นกระเทียม 

ต้นกระเที่ยม เป็นพืชล้มลุก หัวของกระเทียมอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว หัวกระเทียม นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นกระเทียม มีดังนี้

  • รากและหัวของกระเทียม1 เป็นส่วนที่อยู่ใต้ดิน ลักษณะของหัวกลม ภายในเป็นลักษณะกลีบ เนื้อมีกลิ่นฉุน ลำต้นอยู่เหนือดินทรงกระบอกยาวเนื้อสีขาว มีกลิ่นฉุนเล็กน้อย
  • ใบกระเทียม เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับตรงจากลำต้น ใบกลม ใบยาวสีเขียว ผิวใบเรียบ และมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย นิยมรับประทานเป็นผักสด
  • ดอกกระเทียม ลักษณะดอกเป็นช่อ ก้านดอกแทงออกมาจากหัวและลำต้น ก้านดอกทรงกลม ยาว ด้านในเป็นรูกลวง ดอกตูมรูปทรงคล้ายระฆัง
  • ผลและเมล็ดกระเทียม เจริญเติบโตรวมกัน เป็นกลุ่ม ด้านในมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก เมล็ดลักษณะกลม สีน้ำตาลอมดำ

สรรพคุณของกระเทียม

ต้นกระเทียม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากหัวกระเทียม สรรพคุณของกระเทียม มีรายละเอียด ดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวหนัง ทำให้มีสุขภาพผิวดี
  • ช่วยการเจริญอาหาร ทำให้อยากกินอาหาร
  • บำรุงข้อต่อและกระดูกในร่างกาย
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้
  • ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย ป้องกันอาการไอ ลดอาการน้ำมูกไหล ป้องกันไข้หวัด ช่วยแก้อาการหอบหืด ช่วยรักษาโรคหลอดลม ช่วยขับเสมหะ
  • บำรุงเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว ช่วยละลายลิ่มเลือด ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
  • ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
  • แก้อาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคไต
  • บำรุงหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิต ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
  • บำรุงเส้นผม ช่วยแก้ปัญหาผมบาง ยาวช้า รักษาเชื้อราตามหนังศีรษะและเล็บ
  • ช่วยขับพิษในเลือด ช่วยขับเหงื่อ
  • บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยระงับกลิ่นปาก
  • บำรุงทางเดินอาหาร ช่วยควบคุมโรคกระเพาะ ช่วยขับลม รักษาจุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • ช่วยขับพยาธิ เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น
  • ช่วยต้านฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย
  • บรรเทาอาการปวดข้อและปวดเมื่อยตามร่างกาย

โทษของกระเทียม

สำหรับการบริโภคกระเทียม และ ใช้กระเทียมเป็นยารักษาโรค มีข้อควรระวังในใช้ประโยชน์จากกระเทียม โทษของกระเทียม มีดังนี้

  • การกินกระเทียมสด อาจทำให้ระคายเคืองช่องปาก เช่น แสบร้อนบริเวณปาก
  • หากกินกระเทียมมากเกินไป อาจทำให้มีกลิ่นปาก และ ทำให้กลิ่นตัวแรง
  • สำหรับเด็กอ่อน กระเทียมสดๆอาจทำให้ผิวของเด็กเกิดอาการแสบร้อนและระคายเคืองได้
  • ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรรับประทานกระเทียมสด เพราะ อาจทำให้ระคายเคืองระบบทางเดินอาหารได้
  • กลิ่นของกระเทียม หากสูดดมเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้

ถั่วเขียว พืชเศรษฐกิจ ถั่วงอกทำมาจากถั่วเขียว ต้นถั่วเขียวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงสายตา ลดความดัน ช่วยเจริญอาหาร โทษของถั่วเขียวมีอะไรบ้าง

ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพร

ต้นถั่วเขียว ( Green bean ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วเขียว คือ Vigna radiata (L.) R.Wilczek สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเขียว เช่น ถั่วจิม ถั่วมุม ถั่วเขียว ถั่วทอง เป็นต้น สำหรับต้นถั่วเขียว มีประวัติการบริโภคมากกว่า 4,000 ปี ที่แคว้นมัธยประเทศ ในประเทศอินเดีย ซึ่งถั่วเขียวเป็นพืชที่ปลูกกันอย่างแพร่หลาย ในประเทศไทย พม่า ศรีลังกา ปากีสถาน อิหร่าน และ จีน เนื่องจากเมล็ดถั่วเขียว สามารถเก็บได้นาน เมล็ดนิยมนำมาทำอาหาร เมนูอาหารที่มีถั่วเขียวเป็นส่วนประกอบ เช่น เต้าส่วน ถั่วทอง ขนมข้าวเกรียบอ่อน เป็นต้น และ นำมาเพาะเป็น ถั่วงอก ได้

ลักษณะของต้นถั่วเขียว

ต้นถั่วเขียวเป็นพืชล้มลุก อายุเพียงแค่หนึ่งปี สามารถปลูกได้ตลอดปี ใช้น้ำน้อย ทนแล้งได้ดี สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นถั่วเขียว มีดังนี้

  • ลำต้นถั่วเขียว ลักษณะเป็นพุ่มตั้งตรง ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นแตกแขนง ลำต้นลักษณะค่อนข้างเป็นเหลี่ยม ลำต้นมีขนอ่อนๆปกคลุมทั่วลำต้น
  • ใบถั่วเขียว ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ขึ้นแบบสลับอยู่บนลำต้น ใบมีสีเขียว ลักษณะคล้ายรูปไข่ ปลายใบแหลม ใบมีขนปกคลุม
  • ดอกถั่วเขียว ลักษณะดอกออกเป็นช่อ กลีบดอกสีขาว สีม่วง และ สีเหลือง ก้านช่อดอกยาวประมาณ 20 เซนติเมตร
  • ฝักถั่วเขียว ลักษณะยาวกลม ความยาวของฝักประมาณ 15 เซนติเมตร ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาลอ่อน ภายในฝักจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 10-15 เมล็ด
  • เมล็ดถั่วเขียว อยู่ภายในฝักถั่วเขียว ลักษณะของเมล็ดกลมรี มีสีเขียว เนื้อในเป็นสีเหลือง เมล็ดผิวเรียบ แข็ง

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว

สำหรับการบริโภถั่วเขียว นิยมนำมาบริโภคทั้งเมล็ดถั่วเขียวดิบ และ เมล็ดถั่วเขียวสุก นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วเขียวดิบ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 347 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 62.62 กรัม น้ำ 9.05 กรัม น้ำตาล 6.6 กรัม กากใยอาหาร 16.3 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 23.86 กรัม วิตามินบี1 0.621 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.233 มิลลิกรัม วิตามินบี3 2.251 มิลลิกรัม วิตามินบี5 1.91 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.382 มิลลิกรัม วิตามินบี9 625 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.8 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.51 มิลลิกรัม วิตามินเค 9 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 132 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.74 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 189 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.035 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,246 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 2.68 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วเขียวต้ม ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 105 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 19.15 กรัม น้ำ 72.66 กรัม น้ำตาล 2 กรัม กากใยอาหาร 7.6 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 7.02 กรัม วิตามินบี1 0.164 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.577 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.41 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 159 ไมโครกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.7 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 48 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.298 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 99 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.84 มิลลิกรัม

สรรพคุณของถั่วเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่วเขียว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้การบริโภคเมล็ดถั่วเขียว โดยสรรพคุณของถั่วเขียว มีดังนี้

  • บำรุงร่างกาย ช่วยเสริมสร้างกล้าม บำรุงกำลัง และ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค
  • ป้องกันมะเร็ง มีสารต้านเอนไซม์โปรตีเอสสูง
  • ช่วยเจริญอาหาร แก้ปัญหาการไม่อยากกินข้าว และ แก้เบื่ออาหาร
  • บำรุงเลือด ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยไขมันและคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
  • บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • ช่วยลดไข้ ช่วยขับร้อนในร่างกาย แก้ร้อนใน
  • แก้กระหายน้ำ
  • ช่วยถอนพิษในร่างกาย ช่วยแก้อาการอาเจียนจากการดื่มเหล้า ช่วยขับของเหลวในร่างกาย ขับปัสสาวะ
  • บำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยกระตุ้นประสาท ช่วยให้สมองทำงานฉับไว
  • บำรุงสายตา รักษาตาอักเสบ แก้อาการตาพร่า
  • ช่วยขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก
  • รักษาแผลฝี

โทษของถั่วเขียว

สำหรับการบริโภคถั่วเขียว ข้อควรระวังในการรับประทาน ดังนี้

  • การกินถั่วเขียวทำให้ท้องอืด สำหรับคนที่มีอาการท้องอืดง่าย ไม่ควรรับประทานถั่วเขียว
  • สำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรรับประทานถั่วเขียว เพราะ อาจทำให้อุจจาระบ่อย หรือ ท้องเดิน
  • การกินถั่วเขียวมากเกินไป ทำให้อ้วนได้ อาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป
  • ถั่วเขียว มีสารพิวรีน ( Purine ) กระตุ้นให้เกิดข้อกระดูกอักเสบ ผู้ป่วยโรคเกาต์ ไม่ควรรับประทาน

ถั่วเขียว ธัญพืช พืชเศรษฐกิจ ถั่วงอก ทำมาจากถั่วเขียว ลักษณะของต้นถั่วเขียว เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว สรรพคุณของถั่วเขียว เช่น ช่วยถอนพิษ บำรุงสายตา ลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร โทษของถั่วเขียว มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove