ต้นหม่อน มัลเบอรรี่ พืชท้องถิ่น สมุนไพร สรรพคุณของหม่อน เช่น ลดไข้ ช่วยขับลม บำรุงสายตา ต้นหม่อนเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของหม่อน โทษของหม่อนมีอะไรบ้างหม่อน มัลเบอรรี่ สมุนไพร ใบหม่อน

หม่อน หรือ มัลเบอร์รี่ ภาษาอังกฤษ เรียก Mulberry  ชื่อวิทยาศาสตร์ของหม่อน คือ  Morus alba Linn เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับขนุน สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของหม่อน คือ มอน ซึงเฮียะ ซึงเอียะ ซางเย่ เป็นต้น ต้นหม่อนในประเทศไทยนิยมนำมาใช้เลี้ยงตัวไหม สำหรับเป็นวัตถุดิบในการผลิตเส้นไหม

ชนิดของหม่อน

ต้นหม่อน นั้นมี 2 ชนิด คือ ต้นหม่อนสำหรับใช้รับประทานผล เรียก Black Mulberry และ ต้นหมอนสำหรับนำมาเลี้ยงไหม เรียก White Mulberry

  • black mulberry ผลจะโตเป็นช่อ ,uสีดำ มีรสเปรี้ยวอมหวาน นิยมนำมารับประทานและทำอาหารแปรรูป เช่น แยม เป็นต้น
  • White Mulberry มีใบขนาดใหญ่ ใช้เป็นอาหารของตัวไหมได้ดี ส่วนผลสุกมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานได้ครับ แต่ไม่เป็นที่นิยม

หม่อน หรือ มัลเบอร์รี เป็นพืชที่มีอายุนานถึง 100 ปี หากไม่ถูกทำลายจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง หรือ ศัตรุพืช สามารถเจริญได้ดีตั้งแต่เขตอบอุ่นจนถึงเขตร้อน

ลักษณะของต้นหม่อน

ต้นหม่อน จัดเป็น พืชพื้นเมืองของประเทศจีน ทางตอนใต้ในแถบเทือกเขาหิมาลัย จากนั้นได้มีการนำเอามาเลี้ยงและกระจายพันธ์สู่ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้พุ่ม มีขนาดกลาง พบได้ทั่วไปในป่าดิบในประเทศไทยปลูกกันมากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • ลำต้นหม่อน ลำต้นจะตั้งตรง ความสูงประมาณ 250 เซ็นติเมตร บางสายพันธุ์สามารถสูงถึง 700 เซ็นติเมตร เปลือกของลำต้นมีลักษณะ เรียบ มีสีน้ำตาลแดง หรือ สีขาวปนสีน้ำตาล หรือ สีเทาปนขาว
  • รากหม่อน มีเปลือกรากสีน้ำตาลแดง หรือ สีเหลือแดง มีเส้นร้อยแตกที่เปลือกผิว
  • ใบหม่อน มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ใบรูปทรงไข่ ปลายแหลมยาว โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบหยักเว้า
  • ดอกหม่อน จะดอกเป็นช่อ ตามซอกใบและปลายยอด ดอกเป็นรูปทรงกระบอก มีขนาดเล็ก วงกลีบเป็นสีขาวหม่น ช่อดอกเป็นหางกระรอก ยาวได้ประมาณ 2 เซนติเมตร ขอบมีขน
  • ผลหม่อน เกิดจากช่อดอก ผลออกเป็นกระจุกเดียวกัน ออกตามซอกใบ ลักษณะของผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร มีสีเขียว ส่วนผลสุกเป็นสีม่วงแดง เนื้อนิ่ม ฉ่ำน้ำ และมีรสหวานอมเปรี้ยว

คุณค่าทางโภชนาการของหม่อน

ในใบหม่อนมีคุณค่าทางอาหารสูง ประกอบด้วย โปรตีน 22.60 % คาร์โบไฮเดรต 42.25 % และ ไขมัน 4.57 %  ยังมีกรดอะมิโน 18 ชนิด อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ โดยเฉพาะแคลเซียมที่สูงเป็นพิเศษ มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น โพลีพีนอลรวม เควอซิติน เคม-เฟอรอล และรูติน

สรรพคุณของหม่อน

สำหรับหม่อนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ ลำต้น ใบ ผล และราก โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ใบหม่อน มีสรรพคุณ เป็นยาระงับประสาท ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยลดไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยขับลมร้อน ช่วยขับเหงื่อ แก้ไอ บำรุงสายตา แก้ริดสีดวงจมูก ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไขมันในเลือด ใช้ทาแก้แมลงกัด ใช้รักษาแผลกดทับ
  • รากของหม่อน มีสรรพคุณมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยขับน้ำในปอด ช่วยขับพยาธิ ยาขับปัสสาวะ ช่วยลดอาการบวมน้ำที่ขา ช่วยแก้แขนขาหมดแรง
  • ผลของหม่อน มีสรรพคุณช่ยวบำรุงหัวใจ เป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติ ช่วยดับร้อน ทำให้ชุ่มคอ ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้อาการท้องผูก ยาระบายอ่อน ๆ ช่วยบำรุงตับ ช่วยบำรุงไต แก้โรคปวดข้อ ช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำ
  • กิ่งของหม่อน มีสรรพคุณ ช่วยทำให้เลือดลมไหลเวียนสะดวก ช่วยทำให้ลำไส้ทำงานได้ดี ช่วยลดความร้อนในปอด ช่วยรักษาอาการปัสสาวะสีเหลือง
  • เมล็ดหม่อน มีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ ช่วยเพิ่มกากใยอาหาร

ประโยชน์ของใบหม่อน

  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ชื่อ Anthyocyanin ซึ่งเป็นสารสีม่วงแดง ช่วยป้องกัน โรคหัวใจ และป้องกันโรคมะเร็ง
  • มีวิตามินบี 6 ช่วยบำรุงเลือด บำรุงตับ บำรุงไต ลดการเกิดสิว ลดอาการปวดประจำเดือน
  • ป้องกันและยับยั้งการเกิดลิ่มเลือด ป้องกันเส้นเลือดแตก
  • มีวิตามินซีสูง ช่วยป้องกันโรคหวัด โรคภูมิแพ้ โรคปอด
  • มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันการเกิดต้อกระจก บำรุงเหงือกและฟัน สร้างภูมิให้ระบบหายใจ บำรุงผิว ลดการอักเสบของสิว
  • มีกรดโฟลิค หรือวิตามินเอ็ม ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันทารกพิการ ช่วยการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ หญิงแรกตั้งครรภ์เดือนแรกต้องการกรดโฟลิค
  • ช่วยแก้อาการเมาค้าง ผ่อนคลายความเครียด
  • ช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำป้องกันผมหงอกก่อนวัย
  • ใช้แก้อาการเวียนศีรษะ หูอื้อ ใจสั่น นอนไม่หลับ เบาหวาน ท้องผูก

โทษของหม่อน

สำหรับข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากหม่อนและโทษของหม่อน มีดังนี้

  • ใบหม่อนสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยที่กำลังผ่าตัด ควรงดการกินใบหม่อน เพราะ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ มีผลเสียต่อการห้ามเลือด
  • ใบหม่อน สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต สำหรับผู้ป่วยภาวะความดันต่ำ ไม่ควรบริโภคหรือใช้ประโยชน์จากใบหม่อน

ต้นหม่อน มัลเบอรรี่ คือ พืชท้องถิ่น สมุนไพร สรรพคุณของหม่อน เช่น ลดไข้ ช่วยขับลม บำรุงสายตา ลักษณะของต้นหม่อน เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของหม่อน โทษของหม่อน มีอะไรบ้าง

ต้นเข็มแดง ( Ixora ) สมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณลดอาการอักเสบ ลดความดันโลหิต ขับเสมหะ ช่วยเจริญอาหาร ทำให้นอนหลับ ช่วยถ่ายพยาธิ ทำความรู้จักลักษณะของต้นเข็มแดงต้นเข็ม ต้นเข็มแดง ดอกเข็ม สรรพคุณของต้นเข็ม

ต้นเข็มแดง ( Ixora ) ชื่อวิทาศาสตร์ของต้นเข็ม คือ Ixora lobbii Loudon พืชไม้พุ่ม สมุนไพร ประโยชน์ของต้นเข็ม สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นเข็ม รากของต้นเข็ม ใช้บำรุงไฟธาตุ ลดอาการอักเสบ ลดความดันโลหิต ขับเสมหะ ช่วยเจริญอาหาร ทำให้นอนหลับ ช่วยถ่ายพยาธิได้ ทำความรู้จักลักษณะของต้นเข็มแดง

ดอกเข็ม เป็นไม้มงคล ตามความเชื่อของคนไทย ดอกเข็มมีลักษณะแหลมเรียว แสดงความหมายของ สติปัญญาที่เฉียบแหลม ดอกเข็ม จึงเป็นดอกไม้ประจำวันไหว้ครู ใช้บูชาพระ และจัดแจกัน ตามงานพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ ต้นเข็มแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Ixora lobbii Loudon ชื่อเรียกอื่นๆของต้นเข็ม คือ จะปูโย, ตุโดบุโยบูเก๊ะ, เข็มดอกแดง เป็นต้น

ลักษณะของต้นเข็มแดง

ต้นเข็มแดง เป็นไม้พุ่ม อายุยืน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง ทาบกิ่ง หรือปักชำ  มีขนาดเล็ก ไม่เกิน 5 เมตร กลีบดอกย่อยสีแดง มีเกสรสีเหลืองแซมข้างกลีบ ส่วนใบเป็นใบเดี่ยว ปลายใบแหลม หนาและแข็ง สีเขียว นิยมปลูกตามบ้าน ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในจังหวัดสระบุรี และมีขึ้นประปรายในจังหวัดต่าง ๆ โดยนิยมนำมาปลูกกันตามชนบท และต้นเข็มสามารถขึ้นได้เองตามป่าราบและป่าเบญจพรรณ ลักษณะของต้นเข็มแดงมีอะไรบ้าง

  • ต้นของเข็มแดง เป็นพุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลัษณะต้นนั้นจะคล้ายเข็มขาว กิ่งใบมีสีน้ำตาล ขนาดเล็ก เหนียว มีใบเกาะแน่นตามกิ่ง
  • ใบของเข็มแดง ใบมีลักษณะ หนา และแข็ง สีเขียวสด ปลายใบแหลม
  • ดอกของเข็มแดง มีสีแดง ออกดอกเป็นช่อ ดอกเข็มแดงจะมีขนาดใหญ่กว่าดอกเข็มขาว ไม่มีกลิ่นหอม
  • ผลของเข็มแดง มีลักษณะกลม ผลอ่อน มีสีเขียว ผลสุก มีสีม่วงดำ

สรรพคุณของเข็มแดง

การใช้ประโยชน์ของเข็มแดง ในการรักษาโรค จะใช้ รากของเข็มแดง ใบและดอก โดยรายละเอียดของ สรรพคุณของเข็ม มีดังนี้

  • รากของต้นเข็ม รสเย็นหวาน แก้เสมหะและแก้กำเดา บำรุงธาตุไฟ แก้ตาพิการ สามารถนำมาทำเป็น ยาบำรุงร่างกาย แก้อาการบวม ลดการอักเสบ รักษาตาพิการ ใช้หยุดเลือดกำเดา ขับเสมหะ ใช้ลดไข้ ช่วยเจริญอาหาร ลดความดันโลหิต ทำให้นอนหลับ ช่วยถ่ายพยาธิ และ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
  • ใบของต้นเข็ม รสขื่น เป็นยาฆ่าพยาธิ
  • ดอกต้นเข็ม รสหวานเย็น แก้โรคตา

การปลูกต้นเข็ม

การปลูกต้นเข็มสามารถปลูกต้นเข็มได้ง่าย สามารถปลูกในกระถางต้นไม้ หรือปลูกลงดินก็ได้ โดยมีวิธีปลูกต้นเข็มแดง มีดังนี้

  • การปลูกต้นเข็มแดงในกระถาง ปลูกด้วยดินร่วน ผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และ แกลบ โดยใช้อัตราส่วนเท่ากัน ให้ใช้กระถางทรงสูง 12 นิ้ว ให้เติมดิน หรือ เปลี่ยนดินทุกปี หรือ หากต้นมีขนาดใหญ่มากขึ้นให้เปลี่ยนกระถางให้ใหญ่มากขึ้น
  • การปลูกต้นเข็มแดงลงดิน ต้องขุดดินให้ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร โดยใช้ดินร่วน ผสมปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ในอัตราส่วนที่เท่ากันต้นเข็มเมื่อโตขึ้น จะมีลักษณะจับกลุ่มกัน ให้ตัดแต่งทรงต้นเข็มให้สวยงาม ควรปลูกต้นเข็มทางทิศตะวันออกของบ้าน

การให้น้ำสำหรับต้นเข็ม ต้นเข็มต้องการน้ำเพียงสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ชอบแดดจัด ควรใส่ ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมัก ทุกๆ 3 เดือน การขยายพันธุ์ต้นเข็มแดง สามารถขยายพันธ์ได้ทั้งการปักชำ ตอนกิ่ง หรือ การเพาะเมล็ด การใส่ปุ๋ยเร่งดอกให้ต้นเข็มแดง หากต้องการให้ต้นเข็มออกดอก ให้ใส่ได้เดือนละครั้ง

ต้นเข็มแดง ( Ixora ) พืชไม้พุ่ม สมุนไพร ประโยชน์ของต้นเข็ม สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นเข็ม รากของต้นเข็ม ใช้บำรุงไฟธาตุ ลดอาการอักเสบ ลดความดันโลหิต ขับเสมหะ ช่วยเจริญอาหาร ทำให้นอนหลับ ช่วยถ่ายพยาธิได้ ทำความรู้จักลักษณะของต้นเข็มแดง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove