ทองพันชั่ง สมุนไพรยอดนิยมใช้รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เชื้อราบนผิวหนัง ต้นทองพันชั่งเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงผิวพรรณ รักษาโรคผิวหนัง โทษทองพันชั่งเป็นอย่างไร ทองพันชั่ง สมุนไพร พืชท้องถิ่น สรรพคุณของทองพันชั่ง

ต้นทองพันชั่ง ( White crane flower ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของทองพันชั่ง คือ Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของทองพันชั่ง เช่น ท่องคันชั่ง หญ้ามันไก่ เป็นต้น ต้นทองพันชั่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย มาเลเซีย และ มาดากัสการ์

ลักษณะของต้นทองพันชั่ง

ต้นทองพันชั่ง เป็นพืชขนาดเล็ก ที่มีความสูงประมาณไม่เกิน 2 เมตร ลักษณเป็นพืชทรงพุ่ม ต้นทองพันชั่ง มีลักษณะ ดังนี้

  • ลำต้นต้นทองพันชั่ง โคนต้นเป็นเนื้อไม้ มีแกนที่แข็งแรง และมีกิ่งอ่อนเป็นลักษณะสี่เหลี่ยม ลักษณะของต้นเป็นทรงพุ่ม มีขนาดเล็ก โดยความสูงประมาณ 2 เมตร
  • ใบทองพันชั่ง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ทรงรีคล้ายไข่ ปลายใบและโคนใบแหลม ผิวใบเรียบ สีเขียวเข้ม
  • ดอกทองพันชั่ง ลักษณะดอกเป็นช่อ ออกดอกตามซอกของมุมใบ ดอกมีสีขาวกลีบดอกมีขน ลักษณะคล้ายหลอด
  • ผลทองพันชั่ง ลักษณะเป็นฝัก ผลมีขน ภายในฝักมีเมล็ด

สรรพคุณของทองพันชั่ง

ต้นทองพันชั่ง สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย ใช้ประโยชน์จาก ต้น ราก ใบ ก้าน โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รากทองพันชั่ง สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยลดไข้ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผล ช่วยแก้พิษงู ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย รักษาโรคผิวหนัง
  • ลำต้นทองพันชั่ง สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผล ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย บำรุงเส้นผม แก้ผมร่วง รักษาโรคผิวหนัง
  • ใบทองพันชั่ง สรรพคุณช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาวัณโรค ช่วยลดไข้ แก้ไอ รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร แก้ระดูขาว รักษาอาการตกขาว ช่วยถ่ายพยาธิ รักษาแผล รักษาฝี ช่วยแก้พิษงู แก้อักเสบ ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย รักษาโรคผิวหนัง
  • ก้านทองพันชั่ง สรรพคุณรักษาวัณโรค ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย รักษาโรคผิวหนัง

โทษของทองพันชั่ง 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากทองพันชั่ง มีข้อควรระวัง ห้ามใช้ สำหรับผู้ป่วย โรคหัวใจ โรคหืด โรคโลหิตจาง โรคมะเร็งในเลือด โรคความดันโลหิตต่ำ ผู้ป่วยโรคเหล่านี้ ห้ามรับประทานทองพันชั่ง เพราะ จะเป็นอันตรายได้

ทองพันชั่ง สมุนไพรยอดนิยม ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน และ เชื้อราบนผิวหนัง ลักษณะของต้นทองพันชั่ง เป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงผิวพรรณ และ รักษาโรคติดเชื้อที่ผิวหนัง โทษของทองพันชั่ง เป็นอย่างไร

ท้าวยายม่อม นิยมนำหัวของท้าวยายม่อมมาทำแป้ง เรียก แป้งท้าวยายม่อม ต้นท้าวยายม่อมเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงหัวใจ เจริญอาหาร ขับเสมหะ โทษของท้าวยายม่อมเป็นอย่างไรท้าวยายม่อม แป้งท้าวยายม่อม สมุนไพร สรรพคุณของท้าวยายม่อม

ต้นเท้ายายม่อม ( East Indian arrow root ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นท้าวยายม่อม คือ Tacca leontopetaloides (L.) Kuntze[1] ชื่อเรียกอื่นๆของเท้ายายม่อม คือ บุกรอ สิงโตดำ นางนวล ไม้เท้าฤาษี ว่านพญาหอกหลอก เป็นต้น ท้าวยายม่อม จัดอยู่ในพืชตระกูลกลอย

เท้ายายม่อม เป็นพืชไม่มีลำต้น กลุ่มไม้ล้มลุก อายุยืนยาว มีหัวอยู่ใต้ดิน ถิ่นกำเนิดของท้าวยายม่อมมาจากประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกา โอเชียเนีย และ ประเทศหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิก หัวของท้าวยายม่อม ไม่สามารถนำมารับประทานผลแบบสดๆได้ หัวของท้าวยายม่อม เป็นส่วนที่นำมาทำ แป้งท้าวยายม่อม

ลักษณะของต้นเท้ายายม่อม

ต้นท้าวยายม่อม สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีร่มเงา ชอบดินร่วนปนทราย ดินเหนียวปนทราย สามารถขยายพันธุ์ด้วย การเพาะด้วยเมล็ดพันธ์ และ การแยกหน่อ ลักษณะของต้นท้าวยายม่อม มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของท้าวยายม่อม ไม่มี โดยจะมีหัวอยู่ใต้ดิน หัวท้าวยายม่อมเป็นแหล่งสะสมอาหาร ลักษณะกลม แบนรี ผิวด้านนอกของหัวท้าวยายม่อมบาง มีสีน้ำตาล เนื้อในเป็นสีขาว
  • ใบท้าวยายม่อม ลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว เรียงสลับออกจากก้านใบ ใบมีขนาดใหญ่ ใบเว้าลึกคล้ายรูปฝ่ามือ ปลายใบเป็นแฉกๆ ก้านใบสูงประมาณ 1 เมตร
  • ดอกท้าวยายม่อม ลักษณะดอกออกเป็นช่อ โดยแทงช่อสูงออกมาจากหัวท้าวยายม่อม ก้านดอกมีสีม่วง กลีบดอกสีเขียวอมเหลือง ดอกท้าวในช่วงประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม ของทุกปี
  • ผลท้าวยายม่อม ลักษณะกลมรี ปลายแหลม ผลสดมีสีเขียว ภาวในมีเมล็ดจำนวนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของท้าวยายม่อม

ต้นท้าวยายม่อม นั้นนิยมใช้ประโยชน์นำหัวท้าวยายม่อม มาทำแป้ง และ นำมาทำอาหารต่างๆ นักโภชนาการได้ศึกษาหัวท้าวยายม่อม พบ่วา

คุณค่าทางโภชนาการหัวเท้ายายม่อมสด ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 0.05 กรัม ไขมัน 0.02 กรัม คาร์โบไฮเดรต 99.32 กรัม กากใยอาหาร 0.52 กรัม

หัวของท้าวยายม่อม มีสารสำคัญที่ให้รสขม ประกอบด้วย

  • β – sitosterol
  • Cerylic alcohol
  • Taccalin
  • Alkaloids
  • Steroidal sapogenins
  • Sapogenins

สรรพคุณเท้ายายม่อม

ต้นท้าวยายม่อม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย ได้หลายส่วน ประกอบด้วย หัวท้าวยายม่อม รากท้าวยายม่อม โดยรายละเอียด ดังนี้

  • หัวท้าวยายม่อม สรรพคุณให้พลังงาน ช่วยบำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย รักษาแผลฝี ช่วยห้ามเลือด แก้ผื่นคัน
  • รากท้าวยายม่อม สรรพคุณช่วยลดไข้ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยขับเสมหะ

โทษของท้าวยายม่อม

หัวท้าวยายม่อม สดมีรสขม ไม่สามารถนำมารับประทานแบบสดๆได้ ต้องนำมาล้าง ตากแห้ง เพื่อให้พิษของหัวออกก่อน นำมาใช้ประโยชน์

ท้าวยายม่อม คือ พืชท้องถิ่น นิยมนำหัวของท้าวยายม่อม มาทำแป้ง เรียก แป้งท้าวยายม่อม ลักษณะของต้นท้าวยายม่อม เป็นอย่างไร สรรพคุณของท้าวยายม่อม เช่น บำรุงหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ โทษของท้าวยายม่อม เป็นอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove