กระชาย หรือ ขิงจีน Finger root สมุนไพร ฉายา โสมไทย สรรพคุณช่วยขับลม บำรุงหัวใจ ปรับสมดุลย์ฮอร์โมนร่างกาย บำรุงกำลัง ช่วยเจริญอาหาร ทำความรู้จักกระชาย

กระชาย ขิงจีน โสมไทย สมุนไพร

กระชาย ภาษาอังกฤษ เรียก Fingerroot ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระชาย คือ  Boesecnergia pandurata ( Roxb. ) Schltr. ส่วนชื่อเรียกอื่นๆของกระชาย เช่น ว่านพระอาทิตย์ กระแอน ระแอน ขิงทราย จี๊ปู ซีฟู เป๊าะสี่ เป๊าซอเร้าะ เป็นต้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระชาย พบว่ามีสารอาหารสำคัญต่างๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และวิตามินหลายชนิด มีสรรพคุณยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ดี

กระชาย เป็นส่วนประกอบของยาสมุนไพรหลายตำรับ วงการแพทย์แผนไทยให้ฉายาว่าเป็น โสมไทย ลักษณะเด่นของกระชาย คือ เป็นพืชที่สะสมอาหารที่เหง้าอยู่ใต้ดิน กระชายมีลักษณะคล้ายกับรูปร่างมนุษย์เหมือนกับโสมเกาหลี

ชนิดของกระชาย

กระชายที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย มี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และ กระชายเหลือง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • กระชายดำ ลักษณะเด่น คือ เนื้อกระชายมีสีดำ รสชาติเผ็ดร้อน
  • กระชายแดง ลักษณะเด่นเนื้อกระชายสีเหลืองแกมส้ม คล้ายกับกระชายเหลือง
  • กระชายเหลือง ลักษณะเด่นเนื้อกระชายเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมนำมาประกอบอาหาร

ลักษณะของต้นกระชาย

ต้นกระชาย เป็นพืชล้มลุก มีความสูงประมาณ 1 เมตร ใบมีกลิ่นหอม สามารถขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ ชอบดินที่ร่วนซุย การระบายน้ำได้ดี หรือ ดินเหนียว ลักษณะของต้นกระชาย มีดังนี้

  • เหง้ากระชาย ลักษณะมีเหง้าสั้นๆ เป็นหน่อรูปทรงกระบอกค่อนข้างยาว ผิวมีสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเนื้อในมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
  • ใบกระชาย ลักษณะเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบเป็นรูปรี โคนใบมนหรือแหลม ปลายใบเรียวแหลม มีขอบเรียบ  ก้านใบยาว ใบเป็นสีเขียว
  • ดอกกระชาย ลักษณะดอกเป็นช่อ มีสีขาวหรือสีขาวอมชมพู กลีบดอกเป็นรูปใบหอก
  • ผลกระชาย ผลกระชาย ผลแก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่

สรรพคุณของกระชาย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระชายด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก เหง้า และ ใบ ของกระชย โดยสรรพคุณของกระชาย มีดังนี้

  • เหง้าของกระชาย สรรพคุณแก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้บิด แก้โรคกระเพาะ ช่วยขับปัสสาวะ ใช้รักษาริดสีดวงทวาร รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก
  • ใบของกระชาย สรรพคุณบำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆได้

โทษของกระชาย

การใช้ประโยชน์จากกระชายมีข้อควรระวัง เพื่อความปลอดภัย จำเป็นต้องใช้อย่างถูกวิธีและใช้ในปริมาณที่เหมาะสม โทษของกระชายมีรายละเอียด ดังนี้

  • กระชายมีฤทธิ์ร้อน ไม่ควรกินกระชายจำนวนมาก อาจทำให้เกิดแผลร้อนในที่ปากได้
  • ผู้ป่วยเกี่ยวกับตับ ไม่ควรกินกระชายในประมาณมาก กระชายมีผลต่อการทำงานของตับ

กระชาย หรือ ขิงจีน ( Fingerroot ) ฉายา โสมไทย สรรพคุณหลากหลาย เช่น ช่วยขับลม บำรุงหัวใจ เพิ่มสมรถภาพทางเพศ ปรับสมดุลย์ฮอร์โมนร่างกาย บำรุงกำลัง ช่วยให้เจริญอาหาร

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

ฟักข้าว Baby Jackfruit มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมภูมิต้านทานโรค ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและโรคมะเร็ง ฟักข้าวสามารถแปรรูปได้หลากหลาย เช่น สบู่ฟักข้าว น้ำฟักข้าว

ฟักข้าว สรรพคุณของฟักข้าว สมุนไพร

ฟักข้าว ภาษาอังกฤษ เรียก Baby Jackfruit ชื่อวิทยาศาสตร์ของฟักข้าว คือ Momordica cochinchinensis (Lour) Spreng. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของฟักข้าว เช่น มะข้าว ขี้กาเครือ พุกู้ต๊ะ ผักข้าว เป็นต้น ต้นฟักข้าว มีถิ่นกำเนิดในประเทศพม่า ไทย จีน ลาว เขมร บังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย พบได้ทั่วไปในประเทศไทย สามารถรับประทานเป็นอาหารและผักสดได้

ประโยชน์ของฟักข้าว มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยในการชะลอวัย ป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ปัญหาผิวแห้งกร้าน ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด ฟักข้าวมีเบตาแคโรทีนสูงกว่าแครอท 10 เท่า และมีไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศ 12 เท่า ประโยชน์ของฟักข้าวช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตา โรคต้อกระจก ประสาทตาเสื่อม ตาบอดตอนกลางคืน ยอดฟักข้าวอ่อนใช้ทำเป็นอาหารก็อร่อย คล้ายกับยอดมะระ เมนูฟักข้าว เช่น แกงเลียง แกงส้ม ผัดไฟแดง คั่วแค ใช้ลวกหรือต้มกินกับน้ำพริก เป็นต้น ฟักข้าวสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น น้ำฟักข้าว ฟักข้าวแคปซูล สบู่ฟักข้าว เป็นต้น

ฟักข้าวในประเทศไทย

ประเทศไทยนิยมรับประทานลอ่อนฟักข้าวเป็นอาหาร เนื้อผลอ่อนฟักข้าวคล้ายมะละกอ นำมาลวก ต้ม จิ้มกับน้ำพริก หรือ ใส่แกง ยอดอ่อนฟักข้าว หรือ รับประทานเป็นผักสดได้ นอกจากนี้มีการศึกษาฟักข้าวในการวิจัยหลากหลาย พบว่า เยื่อหุ้มเมล็ดของผลสุกฟักข้าว มีประโยชน์ทางโภชนาการสูง เนื่องจากเป็นส่วนที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมภูมิต้านทานโรค ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และ โรคมะเร็ง ต่างๆได้ เช่น โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น

ลักษณะของต้นฟักข้าว

ต้นฟักข้าว เป็นพืชล้มลุก เป็นพืชชนิดเถาไม้เลื้อย ลักษณะคล้ายกับต้นตำลึง ชอบแสงแดด เลื้อยได้ทั้งบนพื้น บนต้นไม้ บนรั้ว สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธึ เช่น เพาะเมล็ด ปักชำ เป็นต้น

  • ลำต้นของฟักข้าว เป็นลักษณะเถา ไม้เลื้อย เป็นพืชล้มลุกอายุยืนยาว คล้ายต้นตำลึง เถาฟักข้าวจะเลื้อยได้ทั้งบนพื้นและตามพื้นที่ต่างๆ เนื้อลำต้นอ่อน ชุ่มน้ำ
  • ใบฟักข้าว ลักษณะเป็นใบเดี่ยว คล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่ ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก มีสีเขียว
  • ดอกฟักข้าว ออกดอกเป็นช่อ ออกดอกตรงบริเวณข้อต่อระหว่างใบหรือตามซอกใบ คล้ายดอกตำลึง กลีบดอกสีขาวอมเหลือง
  • ผลฟักข้าว ลักษณะกลมรี เปลือกมีหนามอ่อนๆเล็กๆ ผลอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง ผลสุกสีแดงหรือสีส้มอมแดง เนื้อผลสุกจะเป็นสีเหลือง
  • เมล็ดฟักข้าว อยู่ภายในผลฟักข้าว เมล็ดสีน้ำตาลคล้ายเมล็ดแตง

คุณค่าทางโภชนาการของฟักข้าว

สำหรับการบริโภคฟักข้าวเป็นอาหารนิยมรับประทานผลฟักข้าวเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของฟักข้าวพบว่าฟักข้าวขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบดด้วย กากใยอาหาร 1 กรัม น้ำตาล 1.8 กรัม โปรตีน 0.98 กรัม มีวิตามินซี 0.04 มิลลิกรัม บีต้าแคโรทีน 91 มิลลิกรัม แคลเซียม 0.34 มิลลิกรัม ในฟักข้าวจะมีบีตาแคโรทีนมากกว่าแครอตถึง 10 เท่าตัว มีไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศถึง 12 เท่าตัว

สรรพคุณของฟักข้าว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากฟักข้าว ด้านกรบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราสามารถนำฟักข้าวมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ ใบ ราก ผล เมล็ด รายละเอียด ดังนี้

  • ใบของฟักข้าว เรานำมาใช้ ช่วยลดน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานได้ ช่วยแก้ไข้ตัวร้อนได้ ใช้รักษาริดสีดวง แก้อาการปวดหลังได้ แก้กระดูกเดาะ ช่วยถอนพิษอักเสบ รักษาฝี รักษาหูด
  • รากของฟักข้าว เรานำมาใช้ ดื่มช่วยถอนพิษ ช่วยขับเสมหะ ช่วยลดไข้ แก้ปวดตามข้อ
  • ผลอ่อนของฟักข้าว ใช้ลดน้ำตาลในเลือด ใช้รักษาโรคเบาหวาน
  • เมล็ดของฟักข้าว ใช้ในการ รักษาฝีในปอด รักษาท่อน้ำดีอุดตัน ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการอักเสบ รักษาอาการบวม รักษากลากเกลื้อน รักษาโรคผิวหนัง

โทษของฟักข้าว

เมล็ดดิบของฟักข้าวมีความเป็นพิษ รสขม หากรับประทานเข้าไป ทำให้อาเจียน และ เวียนหัว หากรับประทานมากเกินไป เป็นอันตรายถึงชีวิต

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove