โรคไข้หวัดสายพันธ์ุใหม่ ติดเชื้อไวรัส H1N1 ไข้สูง อาเจียน

ไข้หวัดหมู เกิดจาดเชื้อไวรัสสายพันธ์ H1N1 โรคระบาดในหมู ถ่ายทอดสู่คนจากการสัมผัสน้ำลายของหมู ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนล้า เจ็บคอ ไอ ไข้สูง อาเจียนโดยไม่ทราบสาเหตุไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ ไข้หวัด2009 โรคติตต่อ โรคทางเดินหายใจ
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ ( H1N1 ) คือ โรคติดต่อ เป็นไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ เกิดขึ้นจากการผสมสายพันธุ์ ของไวรัสไข้หวัดหมู และไวรัสไข้หวัดใหญ่ของมนุษย์ โดยการระบาดครั้งแรก ที่ประเทศสเปน ในปี พ.ศ. 2461 – 2462 โดยขณะนั้น เราเรียกโรคนี้ว่า “ไข้หวัดสเปน” การระบาดของโรคในช่วงเวลานั้น ทำให้เกิดการสียชีวิตของคนมากกว่า 20 ล้านคน

โรคนี้กลับมาระบาดอีกครั้ง ในปี 2009 โดยเริ่มระบาดครั้งแรกที่ประเทศเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา และได้ระบาดไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งผู้ติดเชื้อเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว

การระบาดของไข้หวัดใหญ่ทั่วโลก

การระบาดใหญ่เกิดขึ้นจากการอุบัติของไวรัสชนิดใหม่ เรียงลำดับดังนี้

  • พ.ศ. 2461-2462 (ค.ศ.1918-1919) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ A ชนิดย่อย (subtype) H1N1 (ในยุคนั้นยังไม่สามารถตรวจแยกเชื้อได้ การตรวจชนิดของเชื้อไวรัสเกิดขึ้นภายหลัง) มีชื่อว่าไข้หวัดใหญ่สเปน (Spainish flu) เป็นการระบาดทั่วโลกครั้งร้ายแรงที่สุด คร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 50 ล้านคน (มากกว่าผู้คนที่เสียชีวิตจากสงครามโลกครั้งที่ 1 เสียอีก) เป็นผู้ที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาถึงกว่า 500,000 คน
  • พ.ศ. 2500-2501 (ค.ศ.1957-1958) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ A ชนิดย่อย H2N2 มีชื่อว่าไข้หวัดใหญ่เอเชีย (Asian flu) เริ่มที่ตะวันออกไกลก่อนระบาดไปทั่วโลก มีผู้เสียชีวิต 70,000 คนในสหรัฐอเมริกา การระบาดในครั้งนี้สามารถตรวจพบและจำแนกเชื้อได้รวดเร็ว และผลิตวัคซีนออกมาฉีดป้องกันได้ทัน จึงมีผู้เสียชีวิตไม่มากนัก
  • พ.ศ. 2511-2512 (ค.ศ.1968-1969) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ A ชนิดย่อย H3N2 มีชื่อว่าไข้หวัดใหญ่ฮ่องกง (Hong Kong flu) รายงานผู้ป่วยรายแรกเป็นชาวฮ่องกง แล้วจึงแพร่กระจายออกไป มีผู้เสียชีวิตประมาณ 34,000 คนในอเมริกา เป็นชนิดย่อยที่มีลักษณะทางพันธุกรรมคล้ายไข้หวัดใหญ่เอเชีย (H2N2) จึงมีผู้ป่วยจำนวนไม่มากนัก เพราะมีภูมิคุ้มกันอยู่บ้างแล้ว
  • พ.ศ. 2520-2521 (ค.ศ.1977-1978) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ A ชนิดย่อย H1N1 กลับมาระบาดใหม่ มีชื่อว่าไข้หวัดใหญ่รัสเซีย (Russian flu) เริ่มระบาดที่ประเทศจีนตอนเหนือแล้วกระจายไปทั่วโลก ทราบภายหลังว่าเป็นไวรัสชนิดเดียวกับที่กระจายอยู่ทั่วไปก่อนปี พ.ศ. 2500 คือ ไข้หวัดใหญ่สเปน (H1N1) ที่ระบาดเมื่อปี พ.ศ. 2461-2462 (ก่อนถูกแทนที่ด้วยไข้หวัดใหญ่เอเชีย คือชนิดย่อย H2N2 ในปี พ.ศ. 2500) ผู้ที่อายุเกิน 23 ปีในขณะนั้น ส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานโรคแล้วจากการระบาดครั้งก่อน จึงเกิดโรครุนแรงเฉพาะผู้ที่อายุน้อยกว่า 23 ปี ที่ไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสชนิดนี้เท่านั้น
  • พ.ศ. 2552 (ค.ศ.2009) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ A ชนิดย่อย H1N1 เป็นไวรัสที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมระหว่างไวรัสไข้หวัดใหญ่นก ไข้หวัดใหญ่หมูและไข้หวัดใหญ่มนุษย์ เกิดเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่พันธุ์ผสม กลับมาระบาดอีกครั้ง มีชื่อว่าไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก (Mexican flu) หรือชื่อใหม่ว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่ A ชนิดย่อย H1N1 2009 เริ่มระบาดที่ประเทศเม็กซิโกเมื่อเดือน มี.ค.แล้วกระจายสู่สหรัฐอเมริกา แคนาดา นิวซีแลนด์ ฯลฯ

สาเหตุของโรคไข้หวัดสายพันธ์ใหม่

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรค เกิดจาก การติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เป็นไวรัสที่มีเปลือกหุ้มมีสารพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอ ปัจจุบันสามารถแบ่งเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ได้เป็น 3 ชนิด คือ A B และ C เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ที่เกิดการติดเชื้อในมนุษย์และสัตว์ จะอยู่ในกลุ่ม ชนิด A (Influenza A virus)

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดเชื้อ

เราสามารถแยกกลุ่มคนที่มีโอกาสการติดเชื้อได้  คือ

  • ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป
  • บุคคลที่เข้ารับการบำบัดและสถานที่รับดูแลโรคเรื้อรัง
  • คนที่มีโรคปอดเรื้อรัง โรคระบบหัวใจไหลเวียน รวมทั้งเด็กที่เป็นโรคหอบหืดด้วย
  • คนที่ต้องไปโรพาบาลเป็นประจำ
  • แพทย์ พยาบาล และบุคลากรในโรงพยาบาล

อาการของผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธ์เอ

สำหรับอาการของโรคไข้หวัด สามารถสรุปอาการได้ ดังนี้

  • มีอาการปวดเมื่อย ตามกล้ามเนื้อ
  • รู้สึกอ่อนล้า ไม่มีแรง
  • มีอาการเจ็บคอ
  • มีอาการไอ
  • มีไข้สูง
  • มีน้ำมูกไหล
  • มีอาการท้องเสีย และอาเจียน โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีอาการปวดหัว
  • หายใจหอบ เหนื่อยง่าย

การรักษาโรคไข้หวัดสายพันธ์ใหม่

สำหรับการรักษาโรคไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ สามารถทำได้โดย การให้ยาพื่อรักษาและการให้ยาเพื่อป้องกัน วิธีการให้ยาเพื่อการรักษาโรค ต้องให้ย่ารักษาภายใน 4 วันหลังเกิดอาการติดเขื้อ และจะให้ยาเป็นเวลา 5 วัน วิธีการให้ยาเพื่อการป้องกัน จะให้ยาเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและจะให้ยาเป็นเวลา 10 วัน

  • ให้นอนพักไม่ควรออกกำลังกาย
  • ให้ดื่มน้ำ หรือ น้ำผลไม้ หรือน้ำซุป หรืออาจจะดื่มน้ำเกลือแร่ ร่วมด้วย แต่ไม่ควรดื่มน้ำเปล่าอย่างเดียว เพราะจะทำให้ท่านขาดเกลือแร่ได้ หรืออาจจะเตรียมโดยใช้น้ำข้าวใส่เกลือ และน้ำตาลก็ได้
  • ให้การดูแลปฏิบัติตัว และรักษาตามอาการเหมือนไข้หวัด คือ นอนพักผ่อนมากๆ ห้ามตรากตรำทำงานหนัก ห้ามอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง กินอาหารอ่อน ดื่มน้ำและน้ำหวาน หรือน้ำผลไม้ ให้ยาแก้ปวด Paracetamol ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1-2 เม็ด (500 มิลลิกรัม) วันละ 2-3 ครั้ง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน
  • ยาปฏิชีวนะ ไม่จำเป็นต้องให้เพราะเป็นโรคที่เกิดจากไวรัส จะให้ก็ต่อเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น น้ำมูกหรือเสลดเป็นสีเหลืองหรือเขียว ยาปฏิชีวนะที่มีให้เลือกใช้ ได้แก่ เพนวี ขนาดผู้ใหญ่ ให้ครั้งละ 4 แสนยูนิต ก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง วันละ4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน ในเด็กให้ครั้งละ 50,000 ยูนิต ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แบ่งให้วันละ 4 ครั้ง หรืออิริโทรไมซิน ผู้ใหญ่ ให้ครั้งละ 250-500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง ในเด็ก ให้วันละ 30-50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แบ่งให้ทุก 6 ชั่วโมง
  • ถ้ามีอาการหอบหรือสงสัยปอดอักเสบ ควรส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

การป้องกันโรคไข้หวัดสายพันธ์ใหม่

สำหรับการป้องกันโรคนั้น ให้หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับผู้ป่วย ใส่หน้ากากอนามัยป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย รักษาสุขอนามัยให้สะอาดเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หากท่านมีไข้ เจ็บคอ ไอ และมีประวัติการได้เดินทางไปในสถานที่ที่มีการระบาดของโรค ในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน อาจมีความเสี่ยงต่อโรคนี้  เพื่อป้องกันการเกิดโรค มีข้อควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ดังนี้

  • รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
  • รักษาความสะอาด เช่น ล้างมือฟอกสบู่บ่อยๆ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ เมื่อสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ ใน ที่สาธารณะ
  • ควรหลีกเลี่ยงการพบปะกับคนที่กำลังป่วย
  • ควรหลีกเลี่ยงการไปสถานที่ ที่มีคนจำนวนมาก เช่น โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า
  • หากมีอาการป่วย ควรเก็บตัวอยู่บ้านและใส่หน้ากากอนามัยป้องกันการแพร่เชื้อให้กับคนในบ้าน
  • ให้ปิดปากและจมูก เพื่อไม่ให้เชื้อโรคสัมผัสกับมือหรือแพร่กระจายในอากาศ
  • ไม่ควรซื้อยากินเอง โดยปราศจากคำแนะนำของแพทย์

ไข้หวัด H1N1  โรคไข้หวัดหมู เกิดจาดเชื้อโรค สายพันธ์ H1N1, H1N2, H3N2, และ H3N1 โรคระบาดในหมู ถ่ายทอดสู่ คน จากการสัมผัสน้ำลายของหมู ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนล้าไม่มีแรง เจ็บคอ ไอ ไข้สูง อาเจียนโดยไม่ทราบสาเหตุ

Last Updated on March 17, 2021