ไข้หวัดนก H5N1 ภาวะปอดติดเชื้ออย่างฉับพลัน รักษาอย่างไร

ไข้หวัดนก H5N1 ภาวะติดเชื้อไวรัส H5N1 ทำให้มีไข้สูง ไอ แน่นหน้าอก รู้สึกเหนื่อย ปวดท้อง ท้องร่วง ปวดหัว มีน้ำมูกไหล ยังไม่มียารักษาโรค แนวทางการรักษาทำอย่างไร

ไข้หวักนก ปอดอักเสบ โรคติดต่อ โรคทางเดินหายใจ

โรคไข้หวัดนก ไข้หวัดนก ภาษาอังกฤษ เรียก avian influenza  เป็น โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ ที่เกิดจากการติดไวรัสไข้หวัดในไก่ ซึ่งเป็นไวรัสที่เกิดในนก โรคนี้ในกรณีผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกันสามารถถึงแก่ชีวิตได้เลย เชื้อไข้หวัดนก มักจะเป็นเชื้อโรคที่ติดต่อระหว่างสัตว์ปีกต่อสัตว์ปีกแต่สามารถติดต่อไปสู่มนุษย์ได้ ในไวรัส H5N1 ซึ่งช่องทางที่ไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ คือ การสัมผัสโดยกับสัตว์ปีก โดยไปสัมผัสโดน เสมหะ หรือ สารคัดหลั่ง ของสัตว์ปีก  การสัมผัสโดนอุจาระของสัตว์ปีก

อาการของผู้ป่วยไข้หวัดนก

ลักษณะอาการของผู้ป่วย จะมีไข้สูง ไอ รู้สึกมีอาการแน่นหน้าอก เวลาหายใจรู้สึกเหนื่อย ปวดท้อง มีอาการท้องร่วง ปวดหัว มีน้ำมูกไหล ซึ่งเราได้สรุปลักษณะอาการของไข้หวัดนก มีดังนี้

  • มีไข้
  • มีอาการไอ
  • รู้สึกแน่หน้าอก
  • การหายใจลำบาก เหนื่อยหอบ
  • มีอาหารปวดท้อง
  • มีอาการท้องร่วง

อาการแทรกซ้อนของผู้ป่วยไข้หวัดนก 

อาการที่แทรกซ้อนจากโรคไข้หวัดนก เช่น ปอดบวม การหายใจล้มเหลว ช็อค ชัก ซึ่งสามารถสรุปโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากการติดเชื้อไข้หวัดนก ได้ดังนี้

  • เกิดโรคปอดบวม ที่มีอาการรุนแรงมากกว่าปรกติ
  • เกิดภาวะการหายใจล้มเหลว ซึ่งหากเข้าพบแพทย์ทัน ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ
  • เกิดภาวะช็อค
  • มีอาการซึม และไม่รู้สึกตัว
  • มีอาการชัก
  • ทำให้อวัยวะต่างๆ ที่เกี่ยวกับเลือดล้มเหลว เช่น ไต ตับ หัวใจ เป็นต้น

การรักษาโรคไข้หหวัดนก

ผู้ป่วยโรคไข้หวัดนก H5N1 ต้องแยกผู้ป่วยออกจากทุกคน และใช้ยารักษา ยาที่ใช้รักษาคือ Oseltamivir และ Zannamivir ซึ่งเป็นยาที่จะช่วยบรรเทาอาการของโรคได้ แต่จำเป็นต้องให้ยาผู้ป่วยภายใน 48 ชั่วโมง นอกจากนั้น ต้องการรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ลดโอกาสเชื้อรุนแรง และลดการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น และการรักษานั้นจะใช้การประคับประคองตามอาการ เช่น ยาลดไข้ เป็นต้น ในรายที่มีอาการรุนแรงแพทย์อาจให้ยาต้านไวรัส เช่น ยา Oseltamivir (Tamiflu) แต่บางคนอาจดื้อยาได้

การป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนก

การป้องกันการติดเชื้อ รักษาสุขอนามัยให้สะอาด ล้างมือให้สะอาด อุปกรณ์ในครัวเรือนให้สะอาด ทานอาหารประเภทไข่และสัตว์ปีกต้องต้มให้สุก หลีกเลี่ยงจุดที่มีสัตว์ปีกอยู่มาก หลีกเลี่ยงการสัมผัสอุจาระของสัตว์ปีก ไม่รับประทานอาหารไม่สุก การป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกที่ดีที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงการสัมผัสไก่ และหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับคนที่ป่วย โดยสามารถสรุปรายละเอียดของการป้องกันดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาด หลังจากการทำอาหารจากไก่ โดยการล้างมือให้ใช้สบู่ล้าง
  • ทำอาหารที่สุกและสะอาด โดยความร้อนทีทำให้อาหารสุกต้องไม่ต่ำกว่า 165 องศาฟาเรนไฮต์
  • หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สถานที่เสี่ยงที่มีเชื้อโรค เช่น ตลาดค้าสัตว์ สถานที่ที่มีอุจาระของสัตว์ปีก เป็นต้น
  • หลีกเลี้ยงการรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกที่ตาย
  • ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดนก ให้กับสัตว์ปีก เพื่อป้องกันการติดเชื้อระหว่างสัตว์ปีก

อาการมีไข้สูงหากไม่ทำการปฐมพยาบาลให้ไข้ลด อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะช็อคได้ ดังนั้น เราขอแนะนำสมุนไพรช่วยลดไข้ ทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลง รายละเอียด มีดังนี้

มะกอก สรรพคุณของมะกอก น้ำมันมะกอก โทษของมะกอกมะกอก มะขามป้อม มะขามอินเดีย สมุนไพร ผลไม้วิตามินซีสูงมะขามป้อม
กระวาน ใบกระวาน สมุนไพร สมุนไพรไทยกระวาน โหระพา ต้นโหระพา ใบโหระพา สรรพคุณของโหระพาโหระพา
ย่านาง ใบย่านาง สมุนไพร สรรพคุณใบย่านางย่านาง มะดัน ต้นมะดัน สรรพคุณของมะดัน ประโยชน์ของมะดันมะดัน

โรคไข้หวัดนก H5N1 โรคติดต่อที่ระบบทางเดินหายใจอย่างฉับพลันจากไวรัส H5N1 ทำให้ มีไข้สูง ไอ แน่นหน้าอก รู้สึกเหนื่อย ปวดท้อง ท้องร่วง ปวดหัว มีน้ำมูกไหล แนวทางการรักษาทำอย่างไร

Last Updated on March 17, 2021