ไข้กาฬหลังแอ่น มีไข้สูง ผื่นขึ้นตามแขนและลำตัว รักษาอย่างไร

ไข้กาฬหลังแอ่น ไข้กาฬนกนางแอ่น ติดเชื้อแบคทีเรียเมนิงโกค็อกคัส Neisseria meningitides อาการไข้สูง ปวดหัว คอแข็ง ซึม ชัก เลือดออกตามผิวหนัง เสียชีวิตอย่างรวดเร็วไข้กาฬหลังแอ่น โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ โรคสมอง

สาเหตุของการเกิดโรคไข้กาฬหลังแอ่น

เกิดจากการติดเชื้อโรคเมนิงโกค็อกคัส ซึ่งเป็นการติดต่อจากคนสู่คน โดยไม่มีสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค การติดต่อเกิดจากการหายใจเอาเชื้อโรค เข้าสู่ร่างกาย เชื้อโรคเหล่านี้ปะปนอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย รวมถึงสารคัดหลั่งจากเยื่อบุจมูก ตา หรือปาก โรคไข้กาฬหลังแอ่นจะทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เชื้อนี้จะติดต่อทางน้ำลาย เสมหะ โดยการสูบบุหรี่ร่วมกัน ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน จูบปากกัน หรือ การผายปอดช่วยชีวิต ก็สามารถทำให้เกิดโรคได้

อาการของผู้ป่วยโรคไข้กาฬหลังแอ่น

สำหรับอาการของโรคไข้กาฬหลังแอ่น พบว่าผู้ป่วยจะมีไข้สูง มีอาการหนาวสั่น ปวดหัวมากปวด ตามตัว มีอาการคลื่นไส้ สุดท้ายจะคอแข็งและหลังแอ่น ส่วนมากผู้ป่วยจะมีผื่นเป็นจุดเลือดบนผิวหนัง และผู้ป่วยที่มีตึ่มน้ำตามผิวหนังนั้นพบไม่มาก ในรายที่มีอาการหนัก เชื้อโรคจะเจ้าสู่กระแสเลือด และทำให้เกิดอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ในผู้ป่วยบางรายเป็นเรื้อรัง หลายเดือน ซึ่งอาการสามารถแยกได้เป็น 2 กลุ่มผู้ติดเชื้อ คือ อาการที่พบในเด็กเล็ก และ อาการที่พบในเด็กวัยรุ่น โดยรายละเอียดของอาการมีดังนี้

อาการไข้กาฬหลังแอ่นในเด็กเล็ก

  • มีไข้ขึ้นสูง
  • ไม่ยอมกินอาหาร
  • มีอาการอาเจียน
  • ซึม นอนตลอดเวลา
  • มีผื่นขึ้นตามแขน ขา และตามตัว
  • ผิวเป็นรอยจ้ำ

อาการไข้กาฬหลังแอ่นในเด็กวัยรุ่น

  • มีไข้ขึ้นสูง
  • ปวดหัว
  • มีอาการอาเจียน
  • เกร็งที่คอ มีอาการคอแข็ง
  • ซึมลง
  • เกิดผื่นขึ้นตามขาและแขน
  • สายตาสู้แสงจ้าๆไม่ได้

อาการที่สำคัญที่พบ คือ มีไข้สูง ปวดศีรษะ คอแข็ง ผื่นตามตัว คลื่นไส้อาเจียน ซึมลง เกิดผื่นตามแขนขา

การรักษาโรคไข้กาฬหลังแอ่น

สำหรับการรักษาโรคไข้กาฬหลังแอ่น มียาปฏิชีวนะใช้รักษา สามารถรักษาได้โดยการให้ยาแอมพิซิลลิน (ampicillin) ยาเพนิชิลสิน (penicillin) ยาคลอแรมฟีนีนิคอล (Chloram­phenicol) ยาซัลโฟนาไมด์ (sulfonamide) แต่การรักษานั้น จะรักษาใน 3 ลักษณะ คือ การให้ยาปฏิชีวนะ การประคับประคองอาการ และ การรักษาอาการแทรกซ้อนของโรค โดยรายละเอียด ดังนี้ 

การใช้ยาปฏิชีวนะ

  • ผู้ป่วยจะถูกรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล และแยกห้องเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
  • การรักษาหลักคือการให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยในเบื้องต้น
  • หากยังไม่ได้รับการพิสูจน์ที่แน่นอนจากทางห้องปฏิบัติการว่าเกิดจากเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น แพทย์จะให้ยาปฏิ ชีวนะชนิดที่ครอบคลุมการฆ่าเชื้อได้หลายชนิด เนื่องจากการเป็นโรคติดเชื้อชนิดอื่นๆบางโรค ผู้ป่วยจะมีไข้และผื่นที่เป็นจุดเลือดออกคล้ายกับผู้ป่วยไข้กาฬหลังแอ่นได้ ยาที่ใช้ เช่น ยาในกลุ่ม Cephalosporin รุ่นที่ 3 หรือใช้ยา Meropenem เป็นต้น
  • ในกรณีที่ทราบผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการว่าเกิดจากเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น แพทย์จะเลือก ใช้ยาปฏิชีวนะที่ตรงกับเชื้อ เช่น ยา Penicillin G หรือยา Chloramphenicol เป็นต้น

การรักษาด้วยการประคับประคอง เป็นลักษณะของการให้ยลดไข้ การให้น้ำเกลือป้องกันภาวะการขาดน้ำ ทำให้ช็อก และ การกระตุ้นการบีบตัวของหัวใจเพื่อป้องกันการเกิดภาวะเลือดออกที่ต่อมหมวกไต และการให้ยาช่วยให้เลือดแข็งตัว ในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือไม่แข็งตัว

การรักษาภาวะแทรกซ้อน

  • ผู้ป่วยที่มีเยื่อหุ้มสมองอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด มีอัตราตายประมาณ 2-10%
  • ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรงมีอัตราตายสูงถึง 70-80% แต่หากการรักษาเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อัตราตายจะอยู่ที่ประมาณ 40%
  • ผู้ป่วยที่เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หากรอดชีวิตอาจเกิดอัมพาตของเส้นประ สาทจากสมอง (Cranial nerve) หรือเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตครึ่งซีกของร่างกายได้
  • อาจเกิดสมองเสื่อม ปัญญาอ่อน หรือหูหนวกได้
  • ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรง ตามปลายนิ้วมือ ปลายนิ้ว เท้าอาจเกิดการเน่าตายเนื่องจากภาวะช็อกทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายไม่พอ หรือเกิดจากลิ่มเลือดไปอุดตัน

การป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น

  1. ให้วัคซีนป้องกันโรค กับผู้ป่วยในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
  2. ปรับปรุงสุขอนามัยให้สะอาด ปราศจากดรค
  3. หากพบว่ามีผู้ป่วยโรคไข้กาฬหลังแอ่นให้นำผู้ป่วยพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยด่วน

ไข้กาฬหลังแอ่น ไข้กาฬนกนางแอ่น ติดเชื้อแบคทีเรียเมนิงโกค็อกคัส Neisseria meningitides โรคติดต่อ อาการรุนแรง มีไข้สูง ปวดหัว คอแข็ง อาการซึม ชัก เลือดออกตามผิวหนัง และ เสียชีวิต อย่างรวดเร็ว โรคติดต่อทางระบบหายใจ

Last Updated on March 17, 2021