หัวใจวาย ภาวะหัวใจล้มเหลว เหนื่อยง่ายหายใจไม่ออก โรคคนแก่

หัวใจวาย ( Heart Failure ) กล้ามเนื้อหัวใจไม่ทำงานตามปรกติ เกิดกับผู้สูงวัยและคนเครียด อาการเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดปกติ หน้ามืด ใจสั่นหัวใจวาย ภาวะหัวใจวาย โรคหัวใจ เจ็บหน้าอก

โรคหัวใจวาย ภาษาอังกฤษ เรียก Heart Failure ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือ ภาวะหัวใจวาย โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่ใช่โรคติดเชื้อ การเกิดหัวใจล้มเหลว เกิดจากภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ตามปรกติ ซึ่งผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยง จะมีอาการที่เป็นสัญญาณ เช่น เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจลำบาก

โรคหัวใจล้มเหลว สามารถเกิดขึ้นได้กับ คนทุกวัย ทุกชาติ ทุกศาสนา และทุกเพศ ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคนี้จะแตกต่างกันไป จากสถิติพบว่าร้อยละ 3 ของประชากรในประเทศกำลังพัฒนาเป็นโรคหัวใจ และร้อยละ 30 ของคนอายุ 70 ปีขึ้นไป เป็นโรคนี้ แต่สาเหตุของการเกิดจะแตกต่างกันไป โดยรวมแล้ว ยิ่งอายุมากขึ้นจะพบได้มากขึ้น โดยในภาพรวมในประเทศที่กำลังพัฒนา พบความชุกของภาวะหัวใจล้มเหลวได้ประมาณ 2 – 3% ของประชากรทั้งหมด แต่หากอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป จะพบความชุกของภาวะนี้ได้ 20 – 30%

สาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว 

อาจเป็นสาเหตุจากการ เป็นผลข้างเคียงของโรคอื่น เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคลิ้นหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ นอกจากโรคต่างๆ เป็นสาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลวแล้ว ความเครียด การพักผ่อนน้อย การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ ก็เป็นสาเหตุของโรคหัวใจวายได้

  • โรคหัวใจขาดเลือด (โรคหลอดเลือดหัวใจ) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ คือ เป็นโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ เป็นต้น
  • โรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่เรียกว่า Dilated cardiomyopathy
  • โรคลิ้นหัวใจต่างๆ เช่น โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคลิ้นหัวใจตีบ
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • สาเหตุอื่นๆที่พบได้ค่อนข้างน้อย เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ การได้รับยาหรือสารบางประ เภทเกินขนาด เช่น โคเคน แอลกอฮอล์ การได้รับยาเคมีบำบัดบางชนิดที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง โรคที่มีโปรตีนชื่อ Amyloid เข้าไปสะสมที่กล้ามเนื้อหัวใจ (Amyloidosis) เป็นต้น

อาการของโรคหัวใจวาย

เราสามารถแยกเป็นข้อๆ ได้ ดังนี้

  1. มีอาการเหนื่อยและหายใจลำบาก ( Dyspnea )
  2. นอนราบไม่ได้ ( Orthopnea )
  3. เหนื่อยฉับพลันขณะหลับ ( Paroxysmal nocturnal dyspnea )
  4. มีอาการอ่อนเพลีย อ่อนแรง
  5. เกิดน้ำคั่งในอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ
  6. หัวใจเต้นผิดปกติ
  7. หน้ามืด
  8. ใจสั่น
  9. ปากเขียว
  10. เล็บมือเขียว

ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจวาย

สำหรับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจ ประกอบด้วย คนที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป และ คนที่เป็นที่มีโอกาสเสี่ยง เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในหลอดเลือดสูง ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ คนอ้วน และ คนที่ไม่ออกกำลังกาย

การรักษาภาวะหัวใจวาย

สำหรับแนวทางการรักษา โรคหัวใจต้องทำการลดภาระการทำงานของหัวใจลง สามารถทำได้โดย

  1. การป้องกันการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  2. การควบคุมและกำจัดน้ำส่วนเกินหรือน้ำคั่งในอวัยวะต่างๆ โดย ลดการบริโภคเกลือหรือของเค็ม เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับเกลือมากเกินกว่าความสามารถในการกำจัดของเสียของไต
  3. การลดภาระการทำงานของหัวใจ โดยการไม่ออกแรงมาก หรือ ไม่ออกกำลังกายหนักเกินไป หากรู้ตัวว่าเหนื่อยต้องพัก
  4. การเพิ่มความสามารถในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ

การป้องกันภาวะหัวใจวาย

สำหรับการป้องกันการเกิดภาวะหัวใจวาย คือ การป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว โดยเฉพาะการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ( โรคหลอดเลือดหัวใจ ) เช่น การไม่สูบบุหรี่ การลดระดับไขมันในเลือดหากมีไขมันในเลือดสูง และการป้องกันการเป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น

หัวใจวาย ( Heart Failure ) ภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจไม่ทำงานตามปรกติ พบมากในผู้สูงอายุ คนที่อยู่ในภาวะเครียด อาการของโรคหัวใจวาย เช่น เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจลำบาก นอนราบไม่ได้ อ่อนเพลีย เกิดน้ำคั่งในอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ หัวใจเต้นผิดปกติ หน้ามืด ใจสั่น ปากเขียว เล็บมือเขียว การรักษาโรคหัวใจ

Last Updated on March 17, 2021