ริดสีดวงตา หนังตาอักเสบจากการติดเชื้อ แผลบวมที่หนังตา

ริดสีดวงตา ภาวะติดเชื้อที่หนังตา จากฝุ่นเข้าตา แมลงวันตอมตา ทำให้เกิดตุ่มเล็กๆใต้หนังตา อาการเจ็บตา ตาแดง น้ำตาไหล และขี้ตามาก หากไม่รักษาอาจทำให้ตาบอดได้ริดสีดวงตา โรคตา หนังตาติดเชื้อ โรคติดเชื้อ
ริดสีดวงตา เป็น โรคเกี่ยวกับตา ที่ส่งผลต่อ เปลือกตา ขนตา เยื่อบุตา กระจกตา รวมถึงทางเดินของน้ำตา สามารถเกิดขึ้นได้กับตาทั้งสองข้าง สำหรับโรคริดสีดวงตา เคยเป็นสาเหตุ ที่ทำให้คนตาบอดมากที่สุดในโลก แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้า โรคริดสีดวงตา สามารถติดต่อได้จากการสัมผัส การสัมผัสขี้ตา หรือ สารคัดหลั่งจากตา ลำคอ และ จมูก ได้

การเกิดริดสีดวงตา เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ Chlamydia trachomatis ซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค มี 3 กลุ่ม ดังนี้

  1. กลุ่ม Trachomatis เป็นแบคทีเรียที่ทำให้ อวัยวะภายในและปากมดลูกอักเสบ รวมถึง ท่อปัสสาวะอักเสบ ต่อมลูกหมากอักเสบ ได้ และเป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  2. กลุ่ม Chlamydia pneumoniae เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ
  3. กลุ่ม Chlamydia psittaci เป็นเชื้อโรคที่ทำให้สัตว์ป่วย เช่น นกแก้ว แมว อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะ Cross immunity

สาเหตุของโรคริดสีดวงตา

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Chlamydia trachomatis ซึ่งการติดต่อเกิดจากการสัมผัส เช่น การสัมผัสขี้ตา สารคัดหลั่งต่างๆ อาทิ น้ำมูก เสมหะ หนองจากตา ลำคอ หรือจมูก ของผู้ที่มีเชื้อโรค รวมถึงการโดนแมลงวันตอมตา มักพบในพื้นที่แห้งแล้ง กันดาร มีฝุ่นมาก มีแมลงหวี่ แมลงวันชุกชุม อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคริดสีดวงตา คือ สภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขอนามัย สภาพแวดล้อมแออัด ใช้น้ำสะอาด การใช้อุปกรณ์อุปโภคบริโภคที่ไม่สะอาด แมลงวัน

อาการของผู้ป่วยเป็นริดสีดวงที่ตา

โดยเริ่มต้นจะมีอาการติดเชื้อที่เปลือกตา จะมีตาแดง น้ำตาไหล และมีขี้ตามาก เมื่อเปิดดูที่หนังตาด้านในจะพบตุ่มเล็กๆ เราเรียกตุ่มเล็กๆใต้หนังตาว่า Follicle การติดเชื้อซ้ำบ่อยๆจะมีผลทำให้เกิดอาการอักเสบของเปลือกตา เกิดพังผืดดึงรั้งจนเกิดแผลที่บริเวณเปลือกตา และสาเหตุนี้เป็นต้นเหตุขนตาชี้ลงจนบาดกระจกตา ผู้ป่วยที่เป็นริดสีดวงที่ตาจึงพบอาการเจ็บตาและเคืองดวงตามากขึ้น และจะมีขี้ตามาก และจะลามไปถึงดวงตาทำให้เกิดฝ้าขาวที่กระจกตาได้

ระยะของอาการโรคริดสีดวงตา สามารถแบ่งได้ 3 ระยะ ดังนี้

  • ระยะที่เป็นริดสีดวงแน่นอนแล้ว อาการอักเสบจะน้อยลง ถ้าพลิกเปลือกตาดู จะเห็นเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีเหลือง นอกจากนี้ ส่วนบนสุดของตาดำ จะมีหลอดเลือดฝอยวิ่งเข้าไปในตาดำ เป็นลักษณะเฉพาะของโรคริดสีดวงตา เพราะ ปกติคนเราจะไม่มีหลอดเลือดฝอยจากเยื่อบุตาเข้าสู่ตาดำเลย ในระยะนี้ และหากไม่รับการรักษา ก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3
  • ระยะเริ่มเป็นแผลเป็น ระยะนี้จะมีอาการเคืองตา แต่แทบจะไม่มีอาการอะไรเลย ส่วนตุ่มเล็ก ๆ ที่เยื่อบุเปลือกตา ก็ค่อย ๆ ยุบและหายไป แต่จะเกิดพังผืดจนกลายเป็นแผลเป็น ส่วน แพนนัส ที่ตาดำ ก็ยังเห็นอยู่เช่นเดิม ในระยะนี้การใช้ยารักษาจะไม่ค่อยได้ผล
  • ระยะหายและเป็นแผลเป็น ระยะนี้เชื้อจะหายไปหมด ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะไม่รักษาก็ตาม และ แพนนัส ก็ค่อย ๆ หายไป แต่จะเกอดภาวะแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อและอักเสบบ่อย

การรักษาริดสีดวงตา

สามารถทำได้โดยการผ่าตัดไม่ให้ขนตาทิ่มแทงดวงตา และใช้ยาปฏิชีวนะทั้งชนิดยาหยอดตาและยารับประทาน โรคนี้เป็นโรคประจำท้องถิ่น ควรรีบไปพบแพทย์ ไม่ควรรักษาเอง แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ ในปัจจุบันแพทย์แนะนำให้ใช้ ยาอะซิโทรมัยซิน ( Azithromycin ) เพียงครั้งเดียวแทนก็ได้ หรือบางครั้งแม้แต่ ยาซัลฟา ( Sulfa drugs ) ก็ใช้ได้เหมือนกัน ที่สำคัญ ควรให้การรักษาผู้ป่วยที่อยู่ในบ้านไปด้วยพร้อมกันทุกคน

ถ้าให้ยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นใน 2 สัปดาห์ แพทย์อาจทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น การเพาะเชื้อคลามีเดียในเซลล์ การขูดเยื่อบุตาย้อมส่วนด้วย Geimsa stain หรือ Immunofluorescein เป็นต้น และ รักษาต่อไป

ในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น อาจต้องผ่าตัดแก้ไขเปลือกตา ที่เป็นแผลเป็น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของภาวะแทรกซ้อน หรือ อาจต้องผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา

วิธีป้องกันโรคริดสีดวงตา

  1. รักษาความสะอาดของใบหน้าเสมอ โดยเฉพาะในเด็กๆเพื่อป้องกันไม่ให้แมลงตอมตา ซึ่งเป็นทางติดต่อและแพร่กระจายโรคได้ทางหนึ่ง
  2. กำจัดแมลงวัน โดยการกำจัดขยะให้ถูกวิธี และไม่ทิ้งขยะใกล้บ้าน
  3. ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว
  4. ใช้น้ำสะอาด และมีน้ำสะอาดใช้อย่างเพียงพอในกิจวัตรส่วนตัว

ริดสีดวงตา ภาวะติดเชื้อที่หนังตา เกิดจากฝุ่นเข้าตา แมลงวันตอมตา ทำให้เกิดตุ่มเล็กๆใต้หนังตา อาการเจ็บตา ตาแดง น้ำตาไหล และขี้ตามาก หากไม่รักษาทำให้ตาบอด เกิดได้ในทุกเพศ ทุกวัย พบในเพศหญิงสูงกว่าเพศชายมาถึง 2 เท่า

Last Updated on March 17, 2021