มือเท้าปาก โรคเกิดบ่อยในเด็ก ไข้สูง มีตุ่มเล็กๆบริเวณมือเท้า

มือเท้าปากเปื่อยเกิดจากเชื้อไวรัสเอนเทอโร Enterovirus พบบ่อยในเด็ก อาการมีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดตามตัว มีตุ่มเล็กๆบริเวณมือเท้าและปาก ไม่มียารักษาโรคโรคมือเท้าปาก โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ

โรคปากเปื่อย เท้าเปื่อย เป็น โรคติดต่อ สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งพบมากในเด็ก เด็กป่วยเป็น โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยบ่อย โรคนีเกิดจากการติดเชื้อไวรัสจะมีอาการเป็นไข้ และมีตุ่มเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก อาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เอง

โรคปากเปื่อย เท้าเปื่อย เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่ม Enteroviruses ซึ่งมีเป็นเชื้อไวรัสที่มีหลายสายพันธุ์ ส่วนใหญ่โรคปากเปื่อยและเท้าเปื่อยเกิดจาการติดเชื้อไวรัสชื่อ coxsackie A16 และ Enterovirus 71

สาเหตุของโรคมือเท้าปาก

โรคมือเท้าปาก หรือ โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร ( Enterovirus ) ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ค็อกแซคกีเอและบี ( Coxsackie A , B ), ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 ( Enterovirus 71 – EV71 ) , ไวรัสเอ็คโคไวรัส ( Echovirus )  แต่ไวรัสที่พบว่าเป็นสาเหตุการติดเชื้อมากที่สุด คือ ไวรัสค็อกแซคกีเอชนิด 16  (Coxsackievirus A 16 ) อาการมักจะไม่รุนแรง ผู้ป่วยสามารถหายได้เอง แต่หากติดเชื้อจาก ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 อาการจะหนัก และหากเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

การติดเชื้อไวรัส เกิดจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจาก จมูก ลำคอ ละอองน้ำมูกน้ำลาย หรือ น้ำเหลือง ของผู้มีเชื้อโรค การดูดเลียนิ้วมือ รวมถึงจากการรับประทานอาหาร การดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค โดยสถานที่ที่มักมีการระบาดของโรค เช่น โรงเรียนอนุบาล และ สถานรับเลี้ยงเด็ก

ระยะของการเกิดโรคมือเท้าปาก

สำหรับระยะการเกิดโรคมี 2 ระยะ คือ ระยะฟักตัวของดรค และ ระยะเกิดซ้ำ

  • ระยะฟักตัวของโรค เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ภายใน 7 วัน ผู้ป่วยจึงจะแสดงอาการ
  • ระยะการเป็นซ้ำ โรคนี้สามารถเกิดซ้ำได้ หากเชื้อไวรัสเป็นคนละสายพันธุ์ กับที่เคยเกิด

อาการของโรคปากเท้าเปื่อย

ผู้ป่วยจะมีอาการมีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว แต่อาการป่วยสามารถหายได้เอง จะเห็นแผลแดงเล็กๆตามปาก ลักษณะเป็นตุ่มน้ำ โรคมือเท้าปาก ต้องระวังการเกิดแทรกซ้อน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก หรือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น ซึ่งอาการแทรกซ้อนเหล่านี้อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยสัญญาณเตือนของภาวะแทรกซ้อน ที่ควรสังเกตุ คือ

  • เด็กมีอาการซึมลง ไม่เล่น ไม่อยากรับประทานอาหารหรือนม
  • บ่นปวดศีรษะมาก ปวดทนไม่ไหว
  • มีอาการพูดเพ้อไม่รู้เรื่อง สลับกับการซึมลง หรือเห็นภาพแปลกๆ
  • ปวดต้นคอ คอแข็ง มีการรับรู้สับสน ซึมลง และอาเจียน
  • มีอาการสะดุ้งผวา ตัวสั่นๆ แขนหรือมือสั่นบ้าง
  • มีอาการไอ หายใจเร็ว ดูเหนื่อยๆ หน้าซีด มีเสมหะมาก โดยอาจมีหรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้

การรักษาโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย

โรคนี้ยังไม่มียาที่สามารถรักษาโดยตรง สามารถทำได้โดยการรักษาตามอาการทั่วไป ผู้ป่วยต้องพักผ่อนมากๆ หากเกิดอาการอ่อนเพลียมากๆให้ไปรับน้ำเกลือที่โรงพยาบาลหรือทานเกลือแร่ แต่ต้องระวังอาการแทรกซ้อนทางสมองและหัวใจ

การป้องกันโรคมือเท้าปากเปื่อย

  1. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับผู้ป่วยโรคนี้
  2. ดูแลสุขอนามัยให้สะอาด
  3. ไม่ใช้ภาชนะต่างๆร่วมกับผู้ป่วยโรคนี้
  4. หลีกเลี้ยงการใช้ผ้าเช็ดตัว และการสัมผัสน้ำลายหรือน้ำมูกของผู้ป่วย

โรคมือเท้าปากเปื่อย ( Hand Foot Mouth Disease ) การติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร ( Enterovirus ) พบบ่อยในทารกและเด็ก อาการมีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว และ มีตุ่มเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก แต่อาการป่วยสามารถหายได้เอง โรคมือเท้าปาก แต่บางรายจะมีอาการรุนแรง ขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสที่มีการติดเชื้อโรค

Last Updated on March 17, 2021