ไส้เลื่อน มีก้อนที่ท้อง ขาหนีบ เป็นอันตราย รักษาอย่างไร

โรคไส้เลื่อน (  Hernia ) ลำไส้เคลื่อนออกจากช่องท้องสู่ภายนอก มีก้อนตุงออกมาที่ท้อง ขาหนีบ ท้องด้านข้าง เหนือสะดือ การผ่าตัดลำไส้มีโอกาสเสี่ยงเป็นไส้เลือนโรคไส้เลือน โรคระบบทางเดินอาหาร โรคลำไส้ โรคไม่ติดต่อ

โรคไส้เลื่อน ภาษาอังกฤษเรียก Hernia โรคไส้เลื่อน คือ ภาวะที่ลำไส้เคลื่อนออกจากช่องท้องมาสู่ภายนอก เช่น บริเวณขาหนีบ การเคลื่อนตัวของลำไส้ออกจากตำแหน่งเดิม ผ่านรูหรือการดันตัวผ่านพังผืดที่เกิดความหย่อนยาน มักปรากฏเป็นก้อนตุงออกมา อวัยวะที่เกิดไส้เลื่อนได้บ่อย คือ ลำไส้เล็ก

Hernia คำๆนี้มาจากภาษาลาติน ที่แปลว่า แตก ลักษณะของไส้เลื่อนนั้นมีอยู่ 8 ลักษณะ ซึ่งแต่ละลักษณะของโรคไส้เลื่อนประกอบด้วย

  1. ไส้เลื่อนตรงขาหนีบ ภาษาอังกฤษ เรียก Inguinal hernia อาการไส้เลื่อนที่ขาหนีบนี้พบในผู้ป่วยเพศผู้ชาย มักเกิดกับคนวัยกลางคนขึ้นไป เป็นลักษณะของการเกิดไส้เลื่อนที่พบบ่อยที่สุด สาเหตุของการเกิดไส้เลื่อนตรงขาหนีบ นั้นสามารถแบ่งสาเหตุของโรคได้ 2 ชนิด คือ ไส้เลื่อนตั้งแต่กำเนิดและไส้เลื่อนที่ไม่ได้มาจากกำเนิด รายละเอียดดังนี้
    • ไส้เลื่อนที่ขาหนีบชนิดผิดปกติตั้งแต่เกิด เมื่ออายุครรภ์ได้ 21 ถึง 25 สัปดาห์ นั้นอัณฑะของทารกที่อยู่ในช่องท้องจะเคลื่อนตัวลง มาอยู่ในช่องที่บริเวณขาหนีบและเคลื่อนตัวลงไปที่ถุงอัณฑะก่อนที่จะคลอด หากเกิดความผิดปกติ ลำไส้ก็จะเคลื่อนตัวมาอยู่ในช่องนี้และบางครั้งอาจเคลื่อนลงไปจนถึงถุงอัณฑะได้ เด็กที่คลอดออกมาหรือคลอดก่อนกำหนด โตขึ้นมามีโอกาสเกิดไส้เลื่อนได้
    • ไส้เลื่อนที่ขาหนีบชนิดที่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด นั้นแต่เกิดจากเนื้อเยื่อพังผืด ที่อยู่บริเวณขาหนีบ เกิดความหย่อนยานและไม่แข็งแรง ทำให้ลำไส้เคลื่อนตัวดันพังผืดเหล่านี้จนออกบริเวณขาหนีบไส้เลื่อนชนิดนี้จะพบแต่เฉพาะในผู้ใหญ่ที่มีอายุมาก
  2. ไส้เลื่อนตรงสะดือ ภาษาอังกฤษ เรียก Umbilical hernia เป็นลักษณะเหมือนสะดือจุ่น คือ สะดือยื่นออกมามากกว่าปรกติ ลักษณะของไส้เลือนแบบนี้พบในเด็กเสียเป็ยส่วนมาก และพบในเด็กเพศหญิงมากกว่าเพศชาย สาเหตุของการเกิดไส้เลื่อนที่สะดือ นั้นเกิดเมื่อทารกคลอดออกมาแล้วนั้น ผนังส่วนหน้าท้องตรงสะดือของทารกนังปิดไม่สะนิด ทำให้ลำไส้อาจเคลื่อนตัวมาอยู่บริเวณสะดือส่วนนั้นได้
  3. ไส้เลื่อนที่กระบังลม ภาษาอังกฤษ เรียก Hiatal hernia เป็นไส้เลื่อนออกมาบริเวณกระบังลม พบมากในผู้สูงอายุ สาเหตุของไส้เลื่อนที่กระบังลม นั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุ มีรายละเอียด ดังนี้
    • การที่บางส่วนของกระเพาะอาหารนับตั้งแต่ส่วนต่อระหว่างหลอด อาหารและกระเพาะอาหารเคลื่อนที่ผ่านรูบริเวณกระบังลมเข้าไปอยู่ในช่องอก
    • การที่บางส่วนของกระเพาะอาหารเคลื่อนที่ผ่านรูบริเวณกระบังลมซึ่งอยู่ข้างๆรูที่เป็นทางผ่านของหลอดอาหาร

    ทั้งนี้สาเหตุของทั้ง 2 ชนิดเกิดจาก กล้ามเนื้อและพังผืดของกระบังลมเกิดหย่อนยาน ซึ่งลักษณะแบบนี้มักเกิดกับคนสูงอายุ

  4. ไส้เลื่อนบริเวณที่ต่ำกว่าขาหนีบ ภาษาอังกฤษ เรียก Femoral hernia เป็นการเลื่อนของไส้ที่ลงต่ำกว่าขาหนีบ สาเหตุของไส้เลื่อนที่กระบังลม นั้นเกิดจากบางส่วนของสำไส้เคลื่อนที่ ผ่านรูที่อยู่ตรงบริเวณต่ำกว่าขาหนีบลงมาทำให้ลำไส้ลงมากองเป็นก้อนตุงบริเวณที่ต่ำต่อขาหนีบ ปัจจัยเสี่ยงคือความดันภายในช่องท้องที่เพิ่มขึ้น
  5. ไส้เลื่อนตรงหน้าท้องเหนือสะดือ ภาษาอังกฤษ เรียก Epigastric hernia ไส้เลื่อนลักษณะนี้ สามารถพบได้ในเพศชายเสียเป็นส่วนมาก สาเหตุของการเกิดไส้เลื่อนตรงหน้าท้องเหนือสะดือ นั้นเกิดจากชั้นกล้ามเนื้อและพังผืดของผนังหน้าท้อง ที่อยู่เหนือสะดือไม่แข็งแรง เมื่อเกิดความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น ทำให้ไส้เลื่อนไปดันออกออกมาตุงที่หน้าท้องเป็นก้อนโป่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อเยื่อไขมันภายในช่องท้อง น้อยมากที่ลำไส้ตามมา
  6. ไส้เลื่อนตรงข้างๆหน้าท้อง ภาษาอังกฤษ เรียก Spigelian hernia ไส้เลื่อนลักษณะนี้ เกิดกับคนในวัยกลางคนเป็นต้นไป สาเหตุของไส้เลื่อนตรงกล้ามเนื้อหน้าท้อง เกิดจากชั้นพังผืดบริเวณข้างๆกล้ามเนื้อหน้าเกิดความหย่อนยานไม่แข็งแรง เมื่อความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น ลำไส้ก็จะเคลื่อนตัวดันออกมาบริเวณข้างท้องปรากฏออกมาเป็นก้อน
  7. ไส้เลื่อนภายในช่องเชิงกราน ภาษาอังกฤษ เรียก Obturator hernia สาเหตุของการเกิดไส้เลื่อนที่ช่องเชิงกราน เกิดจากบางส่วนของสำไส้เคลื่อนที่ผ่านรูที่อยู่ตรงกระดูกเชิงกราน ส่วนใหญ่จะเกิดในเพศหญิงเพราะลักษณะของกายวิภาคบริเวณเชิงกรานของผู้หญิงเอื้อต่อการเกิดมากกว่าในเพศชาย
  8. ไส้เลื่อนที่เกิดหลังจากการผ่าตัด ภาษาอังกฤษ เรียยก Incisional hernia สาเหตุของไส้เลื่อนที่เกิดหลังผ่าตัด หลังจากการผ่าตัดช่องท้อง กล้ามเนื้อและพังผืดของหน้าท้องในบริเวณที่มีการผ่าตัดจะเกิดหย่อนยานมากกว่าปกติ ทำให้ลำไส้สามารถดันตัวออกมาตุงเป็นก้อนบริเวณที่มีการผ่าตัดได้

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไส้เลื่อน

ปัจจัยที่ทำให้เกิด โรคไส้เลื่อน นั้นมีหลายปัจจัยนอกจากสาเหตุของไส้เลื่อนตามอาการที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เราได้สรุปปัจจัยอื่นๆที่ทำให้เกิดไส้เลื่อน มีดังนี้

    • ความอ้วนและการมีน้ำหนักตัวมาก
    • การยกของหนักมากๆและเป็นประจำ
    • การไออย่างรุนแรงและเรื้อรัง
    • โรคปอดและโรคถุงลมโป่งพอง
    • การเบ่งอุจจาระหรือปัสสาวะแรงๆ บ่อยๆ
    • ภาวะการมีน้ำในช่องท้องจำนวนมากในผู้หญิงตั้งครรภ์

อาการของผู้ป่วยไส้เลื่อน

ลักษณะของผู้ป่วยที่มี อาการไส้เลื่อน นั้น จะพบว่า มีก้อนเกิดขึ้น บริเวณ ต่างๆ เช่น ขาหนีบ ต่ำกว่าขาหนีบ สะดือ ท้องเหนือสะดือ ข้างท้อง กระบังลม เป็นต้น ซึ่ง การเกิดไส้เลื่อนนั้นทำให้เกิดภาวะลำไส้ขาดเลือดได้ และส่งผลให้ไส้เน่าและเสียชีวติในที่สุด ซึ่งหากมีอาการ คือ ปวดบิดๆ คลื่นไส้อาเจียน การขยับตัวก็มีอาการปวด มีไข้ ความดันโลหิตต่ำ ต้องรีบนำตัวส่งแพทย์เพื่อทำการรักษา

การรักษาผู้ป่วยอาการไส้เลื่อน

สำหรับ การรักษาอาการไส้เลื่อน นั้น จะใช้วิธีการรักษาโดยการผ่าตัด เพื่อนำลำไส้กลับที่เดิมที่เคยอยู่และเย็บปิดรูที่ทำให้เกิดไส้เลื่อน ซึ่ง ลักษณะของไส้เลื่อน ที่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดโดยด่วน คือ ไส้เลื่อนที่เกิดภาวะลำไส้ขาดเลือด เนื่องจากการขาดเลือดจำทำให้ลำไส้เน่า และเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่สำหรับไส้เลื่อนลักษณะอื่นๆก็ต้องรับการผ่าตัดถึงหาย

การป้องกันการเกิดโรคไส้เลื่อน

การป้องกันการเกิดโรคไส้เลื่อน นั้น สามารถป้องกันในเฉพาะไส้เลื่อนที่เกิดขึ้นโดยไม่ใช้แต่กำเนิด ซึ่งการป้องกันสามารถทำได้โดย การควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน อย่ายกของหนักบ่อยๆ อย่าไอหรือจามแรงๆ ไม่เบ่งอุจจาระหรือปัสสาวะแรงๆ เป็นต้น

แนะนำ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

ไข้รากสาดน้อย ไข้หัวโกร๋น ไข้ไทฟอยด์ โรคติดเชื้อไข้รากสาดน้อย
ไข้ไทฟอยด์
โรคกาลี โรดแอนแทรก โรคติดต่อ โรคติดเชื้อโรคกาลี
โรคแอนแทรกซ์
โรคท้องร่วง โรคติดเชื้อ อุจจาระร่วง ขี้แตกโรคท้องร่วง จากเชื้ออีโคไล(E. coli)
โรคถุงน้ำดีอักเสบ โรคติดเชื้อ โรคในช่องท้อง โรคระบบทางเดินอาหาร
ถุงน้ำดีอักเสบ
ตับแข็ง ภาวะตับแข็ง โรคตับแข็ง โรคตับโรคตับแข็ง
ช่องท้องอักเสบ เยื่อบุท้องอักเสบ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ
ช่องท้องอักเสบ

โรคไส้เลื่อน (  Hernia ) คือ ภาวะที่ลำไส้เคลื่อนออกจากช่องท้องสู่ภายนอก เช่น บริเวณขาหนีบ ลำไส้ออกจากตำแหน่งเดิม ผ่านรู หรือ การดันตัวผ่านพังผืดที่เกิดความหย่อนยาน จะมีก้อนตุงออกมาที่ท้อง ขาหนีบ ท้องด้านข้าง เหนือสะดือ เป็นต้น อวัยวะที่เกิดไส้เลื่อนบ่อย คือ ลำไส้เล็ก โรคระบบทางเดินอาหาร การผ่าตัดลำไส้ทำให้มีโอกาสเสี่ยงเป็นไส้เลือน  การรักษาไส้เลื่อน

Last Updated on March 17, 2021