โบทูลินั่ม ร่างกายติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง

โรคโบทูลินั่ม ( Botulism ) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง หนังตาตก สามารถพบเชื้อโรคได้ในดินและน้ำ อาหาร สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางบาดแผล การหายใจโบทูลิซึ่ม โบทูลินั่ม ติดเชื้อโรค โรคติดเชื้อ

โรคโบทูลิซึม ภาษาอังกฤษ เรียก Botulism เกิดจากร่างกายติดเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ Clostridium botulinum ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบอยู่ได้ทั่วไป ตามพื้นดิน ในน้ำจืด และในน้ำทะเล เมื่อมีสภาวะที่เหมาะสม คือ ในสภาพอากาศที่ไม่มีออกซิเจน แบคทีเรียจะแบ่งตัวสร้างสปอร์ (Spore) และปล่อยพิษออกมา เรียกพิษว่า Botulinum toxin

อาการของผู้ป่วยโรคโบทูลินั่ม

ผู้ป่วยจะไม่มีไข้ แต่หัวใจจะเต้นช้า ความดันเลือดปรกติ แต่ต่อมาผู้ป่วยจะเริ่ม อ่อนแรง เริ่มจากใบหน้า การกลืนอาหาร การหายใจ คอ แขน และขา ตามในเวลาต่อมา ผู้ป่วยจะพูดไม่ชัด ปากแห้ง หนังตาตก ความรุนแรงของโรคอาจทำให้เสียชีวิตได้

การรักษาผู้ป่วยโรคโบทูลินั่ม

ต้องเฝ้าระวังระบบประสาท เรื่องการหายใจ อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ล้างท้องเพื่อขับเชื้อและToxin ให้ออกจากร่างกายให้มากที่สุด  ทำความสะอาดแผลใช้ hydrogenperoxide ฟอกแผล และให้ยา Antitoxin แต่ต้องทดสอบก่อนว่าผู้ป่วยมีอาการแพ้ยาหรือไม่

  • การให้ยาต้านพิษ ในผู้ป่วยที่ไม่ใช่เด็กทารก จะให้สารต้านพิษ Botulinum toxin ซึ่งผลิตจากเซรุ่มที่ได้จากม้า (Equine antitoxin) แต่สำหรับเด็กทารก แพทย์จะให้ยาสารภูมิต้านทาน (แอนติบอดี/Antibody) ซึ่งผลิตจากเซรุ่มของคน (Human botulism immune globulin) เนื่องจากการให้ Equine antitoxin พบว่าไม่สามารถรักษาได้ นอกจากนั้น การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Clostridium botulinum ก็พบ ว่า ไม่มีประโยชน์เช่นกัน
  • การรักษาแผล โดยจะรักษาในผู้ป่วยที่มีบาดแผล ปากของบาดแผลที่แคบจะต้องถูกเปิดให้กว้างขึ้น เพื่อให้ออกซิเจนเข้าไปสัมผัสกับบาดแผลให้ทั่วถึง ซึ่งจะทำให้เชื้อนี้ไม่ผลิตพิษขึ้นมาอีก และให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรียนี้ในผู้ป่วยที่มีบาดแผลด้วย แม้ว่าประ โยชน์ที่ได้รับยังไม่ชัดเจนก็ตาม
  • การรักษาประคับประคองตามอาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องเฝ้าติดตามระ บบการหายใจ โดยหากกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจอ่อนแรง จนเกิดภาวะการหายใจล้มเหลว ก็ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก ก็ต้องใช้ยาระบาย/ยาแก้ท้องผูก หรือการสวนทวารช่วย หรือหากมีอาการ ท้องอืด แน่นท้อง ก็ต้องใช้ยาลดอาการ หรือใส่สายให้อา หารและดูดเอาอากาศและน้ำย่อยออกมา หรือผู้ป่วยที่ปัสสาวะไม่ออก ก็ต้องใส่สายสวนปัสสาวะ เป็นต้น

การป้องกันการเกิดโรคโบทูลินั่ม

  • ไม่แนะนำให้เด็กทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี บริโภคน้ำผึ้ง ยกเว้นจะนำไปปรุงเป็นอาหารที่ผ่านความร้อนที่อุณหภูมิมากกว่า 116 องศาเซลเซียส ร่วมกับการเพิ่มความกดอากาศขณะปรุง เช่น การตุ๋น หรือการอบ เพื่อทำลายสปอร์ของเชื้อโรคโบทูลิซึมที่อาจปนเปื้อน
  • หลีกเลี่ยงการหมัก การดองทั้งผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ เนื้อปลาต่างๆ ด้วยตน เอง หากต้องการทำ ควรเตรียมอาหารและภาชนะที่จะใส่ ให้สะอาด ใส่กรดมะนาวที่ความเข้ม ข้นมากกว่า 0.65% หรือใส่เกลือแกงให้เข้มข้นมากกว่า 3% และเก็บรักษาอาหารไว้ในตู้เย็น รวมทั้งหลีกเลี่ยงการซื้ออาหารหมักดองที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน หากจะบริโภค จะต้องนำของหมักดองเหล่านั้นไปต้มให้เดือด 100 องศาเซลเซียส นานอย่างน้อย 10 นาที เพื่อทำลายพิษที่อาจมีอยู่
  • สำหรับการซื้ออาหารกระป๋อง รวมถึงนมผง หรืออาหารสำเร็จรูปที่พร้อมทาน ต้องเลือกจากบริษัทผลิตที่เชื่อถือได้ และดูจากฉลากว่ามีเครื่องหมาย อย. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข) ที่ชัดเจน บริโภคก่อนวันหมดอายุที่ระบุบนฉลาก และไม่เลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีรอยบุบ รอยแตก รอยรั่ว บวม โป่ง เป็นสนิม
  • มีวัคซีนสำหรับฉีดป้องกันพิษ Botulinum toxin ซึ่งสามารถป้องกันพิษชนิดย่อย A ถึง E แต่ประสิทธิภาพยังไม่ชัดเจน และอาจเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้ (เช่น การแพ้ยา) การให้วัคซีนจึงจำกัดให้เฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคนี้เท่านั้น เช่น ผู้ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับพิษชนิดนี้ หรือในกรณีมีการปล่อยอาวุธเชื้อโรคที่เป็นพิษชนิดนี้

โรคโบทูลินั่ม ( Botulism ) โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง หนังตาตก สามารถพบเชื้อโรคได้ในดิน น้ำสะอาด น้ำทะเล ฝุ่นบ้าน หรือ อาหาร รวมถึง สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ ทางบาดแผล การหายใจ

Last Updated on March 17, 2021