โรคเก๊าท์ ภาวะกรดยูริกสูง ทำให้ข้ออักเสบ ปวดหัวแม่เท้า

เก๊าท์ Gout ภาวะข้ออักเสบจากกรดยูริกในเลือดสูง เกิดจากการกินอาหาร อักเสบที่ข้อต่างๆ หัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อศอก หัวเข่า ข้อต่อกระดูกมือ การรักษาโรคต้องควบคุมอาหารโรคเก๊าท์ ข้ออักเสบ โรคกระดูก โรคไม่ติดต่อ

โรคเก๊าท์ โรคข้ออักเสบเฉียบพลัน เป็นโรคเกี่ยวกับข้อและกระดูก โรคข้อและกระดูกเป็นโรคที่พบได้บ่อยในมนุษย์ โรคเก๊าท์เกิดจากความผิดปกติของเมตะบอลิสซั่มของกรดยูริกในเลือด เมื่อกรดยูริกในเลือดมีค่าสูงกว่าปกติ ทำให้เกิดตะกอนเป็นผลึกเกลือยูเรตในเนื้อเยื่อตามข้อของกระดูก ก็จะทำให้เกิดอาการข้ออักเสบเฉียบพลัน และเกิดข้ออักเสบเรื้อรัง และส่งผลทำให้ไตทำงานไม่ปรกติในเวลาต่อมา

โรคเก๊าท์ หมายถึง การที่ตะกอนของยูริกตามไขข้อมีมากจนทำให้เกิดการอักเสบ จะมีอาการปวด  อาการบวม อาการแดงและร้อนที่ข้อกระดูก ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นเก๊าท์ มีความเป็นไปได้ที่กรดยูริกในเลือดสูงกว่า แต่การมีกรดยูริกในเลือดสูงนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นโรคเก๊าท์กันทุกคน แต่โรคเก๊าท์นี้มักพบในเพศชายมากว่าผู้หญิงถึง 9 เท่า และคนกลางวัยขึ้นไปมักจะเป็นโรคเก๊าท์ และในเพศหญิงมักพบโรคนี้ในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนไปแล้ว

โรคเก๊าท์สามารถรักษาให้หาขาดได้ โดยผู้ป่วยต้องรับประทานยา เพื่อควบคุมกรดยูริกในร่างกายไม่ให้สูง และการควบคุมอาหารที่มีกรดยูริกสูง ควบคู่กับการบำรุงไต ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กรดยูริกคืออะไร

กรดยูริก คือ กรดที่ร่างกายสร้างขึ้นมาส่วนหนึ่ง และเป็นกรดที่ได้จากการรักประทานอาหารจำพวกสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ และพืชผักบางชนิด รวมถึงอาหารทะเล กรดยูริกจะสะสมอยู่บริเวณข้อกระดูก ผนังหลอดเลือด และไต ซึ่งกรดยูริกจะถูกร่างกายขับออกมาทางปัสสาวะ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเก๊าท์

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเก๊าท์ คือ การรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอมาก เครียด เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์เกิดจาก 2 สาเหตุหลักๆ คือ ภาวะกรดยูริกในร่างกายสูง และ ภาวะการขับกรดยูริกออกจากร่างกายลดลง

  • สาเหตุของการเกิดโรคเกาท์จากภาวะกรดยูริกในร่างกายสูง ซึ่งเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับการสลายโปรตีนและสารพิวรินในร่างกาย และการรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูงจำนวนมากทำให้การขับกรดยูริกออกจากร่างกายไม่ทัน
  • สาเหตุของการเกิดโรคเกีาท์จากภาวะการขับกรดยูริกออกจากร่างกาย ซึ่งไตเป็นอวัยวะหลักที่ทำหน้าที่ขับกรดยูริกออจการร่างกาย หากว่าไตทำงานได้ไม่ปรกติทำให้การขับกรดยูริกออกจากร่างกายไม่ดี

อาการของโรคเกาท์

ผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์จะมีอาการ ปวด บวม แดง และ ร้อน ในบริเวณ นิ้วหัวแม่เท้า อาการปวดมักจะเป็นๆหายๆ มีอาการปวดเรื้อรังตามข้อและสามารถปวดได้ในทุกข้อกระดูก ใบบางรายที่เป็นเก๊าท์จะพบว่าเป็นนิ่วที่ทางเดินปัสสาวะ อาการของโรคเก๊าท์สามารถแบ่งเป็นข้อๆ ตามอาการ ดังนี้

  1. มีอาการปวด บวม แดงและร้อน ที่ข้อกระดูก โดยเฉพาะที่นิ้วหัวแม่เท้า
  2. อาการปวดข้อจะมีอาการเรื้อรัง เป็นๆหายๆ สร้างความรำคาญ
  3. ปวดตามข้อ ซึ่งสามารถเกิดได้กับข้อทุกข้อไม่ว่าจะเป็น ข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ ข้อนิ้ว รวมถึงข้อศอก
  4. โรคเก๊าท์จากสถิติ พบว่าเพศหญิงมีอัตราการเกิดโรคน้อยกว่าเพศชาย
  5. มีอาการแทรกซ้อน คือ นิ่วทางเดินปัสสาวะ
  6. อาการปวดข้อจากโรคเก๊าท์ จะปวดมากขึ้นเวลารับประทานอาหาร จำพวกสัตว์ปีก อาหารทะเล เครื่องใน รวมถึงสุรา เนื่องจากเกิดการกระตุ้นให้ปวด

การรักษาโรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์ สามารถรักษาได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน และการรับประทานอาหาร ซึ่ง สามารถปฏิบัติได้ดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา หรือเบียร์ เพราะ เครื่องดื่มเหล่านี้ทำให้กรดยูริกในเลือดสูง
  2. ลดการรับประทานอาหารจำะวก เนื้อสัตว์และอาหารทะเล เพราะอาหารเหล่านี้มีกรดยูริกสูง
  3. เมื่อเกิดอาการปวดกำเริบ ห้าม บีบ นวบ ถู หรือ แม้แต่ประคบร้อน ประคบเย็น เพราะจะทำให้อาการปวดเรื้อรังมากขึ้น
  4. ดื่มน้ำเปล่า และนมสดให้มากขึ้น นมสดและน้ำเปล่าจะช่วยให้ไตขับกรดยูริกได้ดีขึ้น
  5. หลีกเลี่ยงการใช้ยา ที่มีฤทธิ์ทำให้กรดยูริกในเลือดสูงขึ้น เช่น ยาขับปัสสาวะ ยารักษาดรคความดันโลหิตสูง
  6. ออกกำลังกาย และควบคุมอาหาร ให้มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปรกติ

ข้อห้ามสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ คือ หากเกิดอาการปวด ห้ามบีบนวด เนื่องจาก การบีบนวดจะทำให้กรดยูริก กระจายตัวตามข้อมากขึ้น ทำให้เกิดการอักเสบ หากเกิดอาการปวดให้ประคบเย็นเท่านั้น และอาหารที่มีกรดยูริกสูง ไม่ให้รับประทานมาก

การป้องกันโรคเก๊าท์

สำหรับการป้องกันโรคเก๊าท์ สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยไม่รับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง แนวทางการปฎิบัติตนสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ มีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เนื้อสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ อาหารทะเลบางชนิด เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ เป็นต้น
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ
  • หากเกิดอาการปวดอย่างเฉียบพลัน ให้พักการใช้ข้อ และ ประคบเย็นช่วยบรรเทาอาการ

โรคเก๊าท์ เกิดจากกรดยูริกใจร่างกายสูงกว่าปรกติ ดังนี้การรักษาโรคเก๊าท์ต้องบำรุงไต ให้ไตทำงานอย่างปรกติ ให้สามารถขับกรดยูริกออกจากร่างกายได้

สมุนไพรที่ใช้รักษาโรคเก๊าท์ คือ สมุนไพรบำรุงไต ดังนั้น เราได้รวบรวมสมุนไพรที่ช่วยบำรุงไต มาให้เป็นความรู้สำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ สมุนไพรบำรุงไต มีดังนี้

 ลูกยอ ต้นยอ สมุนไพร สมุนไพรไทยยอ  รางจืด สมุนไพร สมุนไพรไทย ไม้ยืนต้นรางจืด

สมุนไพรบำรุงกระดุก สามารถใช้ลดการเกิดโรคเก๊าท์ได้ เราได้รวยรวมสมุนไพร ที่มีสรรพคุณบำรุงกระดูก

มะละกอ สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้
มะละกอ
ส้มโอ ผลไม้ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ส้มโอ
กระชาย สมุนไพร สมุนไพรไทย ต้นกระชาย
กระชาย
กระเฉด สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัวผักกระเฉด
ชะอม สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ชะอม
ตำลึง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ตำลึง

โรคเก๊าท์ ( Gout ) คือ ข้ออักเสบ จากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง เกิดที่หัวแม่ท้าบ่อยที่สุด แต่สามารถเกิดกับข้ออื่นๆได้ เช่น ข้อเท้า ข้อศอก หัวเข่า ข้อต่อกระดูกมือ อาการของโรคเก๊าท์ อักเสบตามข้อกระดูก ปวด บวม แดง ที่ข้อต่ออย่างเฉียบพลัน การรักษาโรคเก๊าท์ ปัจจัยของโรคเก๊าท์ สมุนไพรรักษาโรคเก๊าท์ อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์

Last Updated on March 17, 2021