โรคหนองใน มีหนองในช่องคลอด และ ท่อปัสสาวะ รักษาอย่างไร

หนองใน โกโนเรีย ( Gonorrhea ) ติดเชื้อแบคทีเรียจากน้ำอสุจิและสารคัดหลังในช่องคลอด ทำให้เกิดหนองที่มดลูก ท่อปัสสาวะ ช่องปาก คอ ตา ทวารหนัก การรักษาและป้องกัน

หนองใน โกโนเรีย โรคติดต่อ

โรคหนองใน หรือ โรคโกโนเรีย ภาษาอังกฤษ เรียก Gonorrhea เกิดจากการติดเชื้อโรค ที่มี สาเหตุของการติดเชื้อส่วนใหญ่จากการมีเพศสัมพันธ์ และ เชื้อโรคที่ทำใหเกิดหนองใน คือ เชื้อแบคทีเรีย โดยขาดการป้องกัน โรคนี้ถือเป็นโรคติดต่อ อาการติดเชื้อทำให้เกิดหนองภายในร่างกาย โดยมาก จะเกิดหนองที่ ปากมดลูก มดลูก ปีกมดลูก ท่อปัสสาวะ รวมถึงอวัยวะต่างๆที่เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี ไม่ว่าจะเป็น ช่องปาก คอ ตา ทวารหนัก เป็นต้น

โรคหนองใน สามารถเกิดทั้งใน เพศชายและเพศหญิง โรคนี้ในประเทศไทย มีการสำรวจในปี 2551 พบว่ามีผู้ป่วยโรคนี้ 6,168 ราย มีการมีอัตราการติดเชื้อที่ 9.76 คน ต่อ 100,000 คน หากเปรียบเทียบกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แล้วพบว่า โรคหนองใน เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อจากเพศสัมพันธ์คิดเป็นร้อยละ 15.43 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั้งหมด

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหนองใน

สำหรับ ปัจจัยของการเกิดโรคหนองใน นั้น เกิดได้จากการสัมผัสเยื่อบุช่องคลอด ช่องปาก ทวารหนัก หรือ องคชาต ของ ผู้ที่มีเชื้อโรคหนองใน ซึ่ง หนองในสามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกได้ ผู้ที่รู้ตัวว่าเป็น โรคหนองใน จึง ควรระวังในการแพร่เชื้อหนองใน ให้ผู้อื่น นอกจากการสัมผัสผู้ที่มี เชื้อโรคหนองใน แล้ว มีปัจจัยที่มีความเสี่ยงของการติดต่อโรคหนองใน ดังต่อไปนี้

  • กลุ่มวัยรุ่น เป็นวัยที่คึกคะนอง มีความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันสูง
  • กลุ่มคนที่มีอาชีพหรือกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมการมีคู่นอนมากกว่า 1 คน
  • กลุ่มคนที่เคยมีประวัติการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์มาก่อน เช่น โรคซิฟิลิส (Syphilis)
  • กลุ่มคนที่มีพศสัมพันธ์โดยขาดการป้องกันด้วยถุงยางอนามัย
  • กลุ่มผู้เสพติดยาเสพติด

สาเหตุของการติดเชื้อหนองใน

การติดเชื้อโรคหนองใน นั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า ไนซีเรีย โกโนเรียอี ภาษาอังกฤษ เรียก Neisseria gonorrhoeae  เชื้อแบคทีเรีย ชนิดนี้ พบได้ในน้ำอสุจิของเพศชายและสารคัดหลังในช่องคลอดของเพศหญิง เชื้อแบคทีเรีย ชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ทีี่มีความอบอุ่น โดยเฉพาะอวัยวะเพศและภายในช่องคลอด รวมถึง ทวารหนัก เยื่อบุตา ช่องปากและคอ เป็นต้น

ดังนั้น หากใครมีเชื้อโรคชนิดนี้อยู่ในร่างกาย และมีกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องสัมผัสในส่วนที่มีเชื้อโรคอยู่ ซึ่งโดย กิจกรรมการมีเพศสัมพันธ์ เป็นกิจกรรมที่สัมผัสกับเชื้อโรคโดยตรงที่สุด ทำให้เกิดการแพร่เชื้อโรค สำหรับอาการของโรคนี้ มีระยะการฟักตัว หลังจากได้รับเชื้อ ภายใน 10 วัน แต่จะสามารถแสดงอาการของโรคให้เห็นภายใน 5 วัน

เพื่อความเข้าใจใน โรคหนองใน ให้ชัดเจน การสัมผัสผู้ติดเชื้อ เช่น การจับมือ การจูบ การใช้แก้ว จาน ร่วมกัน หรือ การลงสระว่ายน้ำ หรือใช้ส่วมร่วมกับผู้มีเชื้อโรคหนองในไม่ได้ทำให้เกิดการติดเชื้อแต่อย่างใด

อาการของผู้ป่วยโรคหนองใน

สำหรับ อาการของผู้ป่วยโรคหนองใน นั้น เราจะแยก เป็น 3 ลักษณะ คือ การติดเชื้อในเพศชาย การติดเชื้อในเพศหญิง และ อาการที่แสดงออกทั้งเพศชายและเพศหญิง รายละเอียดดัง ต่อไปนี้

  • อาการที่พบสำหรับเพศชาย คือ จะรู้สึกแสบเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะขัด และมีหนองไหลออกมาจากท่อปัสสาวะ ซึ่งในระยะแรกจะเป็นลักษณะมูกใส ๆ หลังจากนั้นจะเป็นหนองสีเหลืองข้น และมีอาการปวดและบวมที่อัณฑะ มีอาการอัณฑะอักเสบ
  • อาการที่พบสำหรับเพศหญิง คือ มีอาการตกขาวผิดปกติ มีลักษณะตกขาวมาก มีหนองสีเหลือง มีกลิ่นเหม็น มีอาการขัดเบา และแสบเวลาปัสสาวะ ปวดท้องน้อย ปัสสาวะขุ่น มีเลือกะปริบกะปรอยในระหว่างรอบเดือน หากเกิดการติดเชื้อที่มดลูก จะมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดที่ท้องน้อย
  • สำหรับอาการที่เกิดขึ้นได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง คือ มีไข้สูง เจ็บคอ เป็นลักษณะติดเชื้อที่คอ หากปวดเวลาอุจจาระ จะมีอาการปวดหน่วงๆ มีหนองปนในอุจจาระ หากติดเชื้อที่เยื่อบุตา จะรู้สึกระคายเคืองที่ตา มีหนองไหลออกมาจากเยื่อบุตา เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคหนองใน

ความอันตรายของโรคหนองใน อยู่ที่ภาวะโรคแทรกซ้อนของการติดเชื้อโรค ซึ่ง หากไม่ทำการรักษาให้ทันท่วงที่อาจเกิดการติดเชื้อลามไปยังอวัยวะอื่นๆ จนยากที่จะรักษาได้ ลักษณะของ โรคแทรกซ้อนของโรคหนองใน มีดังนี้

  • อาการท่อปัสสาวะอุดตัด จากภาวะท่อปัสสาวะอักเสบ
  • อาการต่อมลูกหมากอักเสบ หรือเป็นฝีที่ผนังของท่อปัสสาวะ
  • อาการลูกอัณฑะอักเสบ ซึ่งอาจทำให้เป็นหมันได้
  • อาการฝีอักเสบที่อวัยวะเพศ
  • อาการอุ้งเชิงกรานอักเสบ ทำให้มีปวดท้อง มีไข้ เกิดถุงหนองภายในช่องท้องน้อยแบบเรื้อรัง
  • อาการติดเชื้อในกระแสเลือด
  • อาการติดเชื้อตามข้อกระดูก
  • อาการติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • เยื่อบุหัวใจอักเสบ
  • หัวใจวาย

การติดเชื้อหนองในระหว่างการตั้งครรภ์

โรคหนองใน สามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกได้ หากเกิดการติดเชื้อระหว่างตั้งครรถ์ ซึ่งป็นอันตรายกับลูกในท้อง เช่น หากทารกติดเชื้อที่ตา ก็ส่งผลให้ทารกตาบอด เชื้อโรคหนองในเป็นอันตรายกับทารกมาก หากทราบว่า ติดเชื้อโรคหนองในระหว่างตั้งครรถ์ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม

การวินิจฉัยโรคหนอง

การตรวจวินิจฉัยว่าติดเชื้อโรคหนองในนั้ สามารถทำได้โดยการตรวจสอบประวัติ และอาการเบื้องต้นของผู้ป่วย และการตรวจเชื้อโรคจากแผล จากปากมดลูก ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก หรือ ช่องคอ เพื่อตรวจดูเชื้อโรค

การรักษาโรคหนองใน

สำหรับการรักษาการติดเชื้อโรคหนองในนั้น สามารถใช้การรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ ในการรักษา รวมถึงใช้การรักษาอื่นๆควบคู่เพื่อบรรเทาอาการและรักษาภาวะแทรกซ้อนของโรค รายละเอียดังนี้

  • ใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น  เซฟิไซม์ เซฟไตรอะโซน สเปกติโนมัยซิน การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะจะค่อนข้างได้ผลดี หากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเร็ว สามารถหายได้เร็ว แต่อาการความเสียหายของเนื้อเยื่อต้องใช้เวลาให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเอง
  • สำหรับผู้ติดเชื้อหนองใน แพทย์จะให้ตรวจเลือด เพื่อดูว่าติดเชื้อโรคอื่นๆหรือไม่ เช่น เชื้อเอชไอวี เชื้อซิฟิลิส
  • สำหรับผู้ป่วยเพศหญิง ที่มีอาการหนองไหลออกจากท่อปัสสาวะ รวมถึง มีไข้สูง ปวดท้องน้อย ขัดเบา ตกขาว แสดงว่าเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่มดลูก ต้องพบแพทย์โดยด้วน ภายใน 24 ชั่วโมง
  • สำหรับสตรีมีครรภ์ ที่ติดเชื้อหนองใน เป็นอันตรายต่อชีวิตของลูกในครรภ์ อาจต้องกระตุ้นให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้

วิธีป้องกันการติดเชื้อโรคหนองใน

  • ให้หลีกเลี้ยงการเปลี่ยนคู่นอน หากมีความจำเป็นควรตรวจโรคให้ดีก่อน
  • หลีกเลี่ยงงานหรือกิจกรรมที่ทำให้เกิดการนอนกับคนที่ไม่รู้จัก หรือกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนคู่นอน
  • ให้ใช้ถุงยางอนามัยป้องกันในการมีเพศสัมพันธ์
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้มีเชื้อโรคหนองใน
  • กินยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคภายหลังการร่วมเพศ
  • การกินยาล้างลำกล้อง ซึ่งเป็นยาระงับเชื้อ ไม่ใช่ยาทำลายเชื้อ

โรคหนองใน โรคโกโนเรีย ( Gonorrhea ) การติดเชื้อแบคทีเรียในน้ำอสุจิและสารคัดหลังในช่องคลอด ทำให้เกิดหนองที่มดลูก ท่อปัสสาวะ ช่องปาก คอ ตา ทวารหนัก เป็นต้น รักษาอย่างไร แนวทางการป้องกันทำอย่างไร

Last Updated on December 7, 2021