วัณโรค อาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด ติดเชื้อแบคทีเรียปอด

วัณโรค Tuberculosis ติดเชื้อแบคทีเรียที่ระบบทางเดินหายใจ เป็นโรคติดต่อร้ายแรง อาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เบื่ออาหาร หากไม่รักษาอย่างถูกวิธีทำให้เสียชีวิตได้

วัณโรค ปอดติดเชื้อ โรคทางเดินหายใจ โรคติดต่อ

สำหรับ โรควัณโรค นี้ถือเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนบนโลก 10 อันดับแรก จากสถิติขององค์กรอนามัยโรค เมื่อปี 2558 แแต่สำหรับวัณโรคไม่ใช่สาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยมาก ไม่ติดอันดับ 10 แรกของสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย ปัจจุบันวัณโรคนถือเป็นโรคที่เกิดมากในกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่บกพร่องจะทำให้เชื้อวัณโรคสามารถติดได้ง่าย

สาเหตุของการเกิดวัณโรค

เกิดจากการติดเชื้อไมโครแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิส ( Mycobacterium Tuberculosis ) ซึ่งเป็นเชื้อโรคที่แพร่กระจายได้ทางอากาศ ผ่านการการไอ การจาม และการหายใจ รวมถึงการใกล้ชิดและสัมผัสผู้ติดเชื้อวัณโรค

อาการของวัณโรค

อาการของวัณโรคสามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ อาการของผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรค และ อาการของวัณโรคปอด โดยอาการที่แสดงออกมีดังนี้

  • อาการของผู้ป่วยวัณโรค พบว่าผู้ป่วยที่ติดโรควัณโรค จะมีอาการ ไข้สูง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ครั่นเนื้อครั่นตัว เหงื่อออกกลางคืน เม็ดเลือดขาวจะต่ำลงในผู้ป่วยบางรายจะมีภาวะโลหิตจาง
  • อาการของวัณโรคปอด พบว่าผู้ป่วยจะมีอาการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ แต่หากไม่รักษา จะมีอาการอักเสบมมากขึ้น และเชื้อโรคจะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อทำให้มีเสมหะ ไอเป็นเลือด

อาการของวัณโรค สามารถแบ่งได้ 2 ระยะ คือ ระยะแฝง และ ระยะแสดงอาการ เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อวัณโรค เชื้อโรคนั้นจะพัฒนาตัวเองอย่างช้า ๆ ใช้เวลาหลายวัน โดยอาการในระยะทั้งสองมี ดังนี้

  • ระยะแฝง ( Latent TB ) ในระยะนี้ เมื่อผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อโรค จะไม่แสดงอาการให้เห็น แต่หากเชื้อโรคถูกกระตุ้น ก็จะเกิดอาการ ทั้งนี้ผู้ป่วยสามารถตรวจหาเชื้อได้ หากพบว่ามีเชื้อวัณโรคแฝงในร่างกาย แพทย์จะทำการรักษาเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรค และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคที่จะเข้าสู่ในระยะแสดงอาการ
  • ระยะแสดงอาการ ( Active TB ) ในระยะนี้จะเกิดอาการต่าง ๆ ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น ไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก หรือรู้สึกเจ็บเวลาหายใจ อ่อนเพลีย มีไข้สูง หนาวสั่น เหงื่อออกตอนกลางคืน น้ำหนักลด และเบื่ออาหาร

อาการของวัณโรคนั้น จะแสดงอาการที่ปอด แต่เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ เช่น ทำให้เกิด วัณโรคกระดูก วัณโรคเยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น

การรักษาผู้ป่วยโรควัณโรค ต้องทำอย่างไร

  1. การใช้ยารักษาโรค ซึ่งมียา 3 ชนิดที่สามารถใช้รักษาวัณโรคได้ แต่ผู้ป่วยต้องทานยาติดต่อกัน 1-2 ปี ตัวยานี้ คือ เสตรพโตไมซิน พาราแอมมิโนซาลิคไซเลทแอซิด และไอโซไนอาซิค
  2. การพักผ่อนให้มากและทานอาหารที่มีประโยชน์บำรุงร่างกาย เช่น อาหารประเภท นม ไข่ ผลไม้และผักต่างๆ อาหารสมุนไพร อาหารสุขภาพ
  3. การผ่าตัด ประสาทกระบังลม ให้ปอดได้พักผ่อน การผ่าตัดเป็นสาเหตุให้ปอดที่มีแผลหายเร็วขึ้น กระบังลมก็จะทำงานเป็นปกติอีกครั้ง
  4. การทำนิวโมโทแรกซ์ ( Pneumothorax ) คือ การฉีดอาการเข้าไปในช่องปอดที่อยู่ระหว่างปอดและผนังทรวงอก
  5. การตัดซี่โครงบางส่วนออก เพื่อทำให้ปอดที่ติดเชื้อวัณโรคแฟบลงอย่างถาวร

การป้องกันการติดโรควัณโรค

  1. ต้องรักษาร่างกายให้แข็งแรง ทานอาหารที่มีประโยชน์ อาหารสุขภาพ อาหารสมุนไพร
  2. ฉีดวัคซีน BCG เพื่อป้องกันการติดเชื้อสำหรับทารกแรกเกิด
  3. ถ้ามีอาการผิดปกติที่น่าสงสัยว่าเป็นวัณโรค เช่น ไอเรื้อรัง 2 สัปดาห์ขึ้นไป มีไข้ต่ำๆโดยเฉพาะตอนบ่ายๆหรือค่ำๆ เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ควรรีบไปรับการตรวจรักษาโดยการเอกซเรย์ปอด ตรวจเสมหะ
  4. รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
  5. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เช่น การส่ำส่อนทางเพศ เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอดส์ เพราะจะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายเสื่อมลง มีโอกาสที่จะป่วยเป็นวัณโรค จะได้รีบรักษาก่อนที่จะลุกลามมากขึ้น
  6. ประชาชนทั่วไป ควรตรวจร่างกายโดยการเอกซ์เรย์ปอดหรือตรวจเสมหะ ( AFB ) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ถ้าพบว่าเป็นวัณโรคจะได้รีบรักษาก่อนที่จะลุกลามมากขึ้น
  7. ในเด็กควรได้รับการฉีดวัคซีนบีซีจี ( Bacilus Calmette Guerin ) รวมถึงผู้ที่ทำการทดสอบทูเบอร์คูลินเทสท์ ( Tuberculin test ) ให้ผลเป็นลบ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน

วัณโรค ( Tuberculosis ) โรคติดต่อร้ายแรงเกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียที่ระบบทางเดินหายใจ อาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เบื่ออาหาร หากไม่รักษาอย่างถูกวิธีทำให้เสียชีวิตได้ การรักษาวัณโรค และ การป้องกันโรค

Last Updated on March 17, 2021