โรคตาเหล่ ตาดำไม่เท่ากัน ส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพ รักษาอย่างไร

ตาเหล่ Strabismus อาการดวงตาข้างใดข้างหนึ่งผิดปกติ หรือ ลูกตาทั้ง 2 ข้างไม่ขนานกัน เกิดจากหลายปัจจัย รักษาได้ด้วยการผ่าตัด หรือ ใช้เครื่องมือทางการแพทย์ช่วยโรคตาเหล่ โรคตา โรคไม่ติดต่อ

ตาเหล่ หรือ ตาเข ทางการแพทย์เรียก Strabismus คือ เป็นโรคตา โรคทางตา ซึ่งตาเหล่เป็นอาการที่ตาข้างใดข้างหนึ่งมีอาการผิดปกติ โดยไม่ได้มีจุดโฟกัสในการมองเห็นเป็นจุดเดียว ตาเหล่ คือ ภาวะลูกตาทั้ง 2 ข้างไม่ขนานกัน และการทำงานของดวงตาเมื่อมองวัตถุไม่ประสานกัน โดยผู้ป่วยจะใช้เพียงตาข้างที่ปกติในการมองวัตถุ และในส่วนของดวงตาข้างที่เหล่ อาจเบนเข้าด้านในห ด้านนอก ขึ้นบน หรือ ลงล่าง ก็ได้

ตาเหล่เทียม เรียก Pseudostrabismus สำหรับตาเหล่เทียม นี้จะพบในเด็กเสียเป็นส่วนมาก ซึ่งบริเวณสันจมูกยังโตไม่เต็มที่ และบริเวณหัวตากว้าง (Epicanthus) จึงทำให้ลักษณะเหมือนกับตาเหล่ แต่เมื่อโตขึ้นมาและร่างกายเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ ดั้งจมูกสูงขึ้น ภาวะตาเหล่ก็จะหายไปเอง ลักษณะนี้ เรียกว่า ตาเหล่เทียม

ซึ่งผลเสียของอาการตาเหล่ นั้นประกอบด้วย

  1. เสียบุคลิกภาพ สิ่งที่ทำให้เห็นได้ชัดของการตาเหล่ คือ ภาพดวงตาดำที่ผิดปรกติ ดูไม่สวยงาม ส่วนมากคนตาเหล่จะรู้สึกเหมือนเป็นปมด้อย มักไม่ค่อยสู้หน้าคน สิ่งนี้จะเปิดการปั่นทอนจิตใจอย่างช้าๆโดยไม่รู้ตัว
  2. การเกิดบุคลิกภาพที่ผิดจากบุคคลทั่วไป โดยคนตาเหล่จะมีโฟกัสภาพที่ไม่ปรกติก ในคนตาเหล่จะใช้การหันหน้าเอียงคอ เพื่อชดเชยความผิดปกติ ซึ่งสิ่งนี้จะยิ่งทำให้บุคลิกผิดไปจากคนทั่วไป
  3. ความสามารในการมองเห็นน้อยกว่าคนตาปกติ เนื่องจากตาทั้ง 2 ข้างไม่ทำงานร่วมกันหรือเรียกว่าต่างคนต่างทำ ต้องใช้ตาข้างเดียวเป็นหลัก จึงมองวัตถุเล็ก ๆ ไม่เป็นภาพ 3 มิติ ทำให้ทำงานที่ละเอียดได้ไม่ดีนัก เช่น งานเย็บปักถักร้อยหรืองานฝีมือต่าง ๆ เพราะอย่าลืมว่าการมองเห็นที่ดีที่สุดคือต้องมองเห็นภาพเป็น 3 มิติในวัตถุขนาดเล็ก ๆ ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยตาที่เห็นชัดทั้ง 2 ข้าง และทำงานประสานสอดคล้องกันเสมอ
  4. เกิดภาวะตาขี้เกียจ เรียก Amblyopia ถากปล่อยทิ้งไว้ดดยไม่แก้ไข อาจถึงขั้นตาบอดได้

เราสามารถแบ่งชนิดของการการตาเหล่ ได้ดังนี้

  1. ตาหนึ่งอยู่ตรงกลาง แต่อีกตาเฉออก
  2. ตาข้างหนึ่งอยู่ตรงกลาง แต่ตาอีกข้างกลับหมุนเข้าใน
  3. ตาหนึ่งอยู่ตรงกลาง อีกข้างหนึ่งกลอกออกมาทางหางตาหรือออกนอก
  4. ตาเหล่ขึ้นบน
  5. ตาเหล่ลงล่าง

สาเหตุของการเกิดโรคตาเหล่ มีดังนี้

  1. กรรมพันธุ์ โรคตาเหล่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมมได้
  2. เกิดจากสายตาที่ผิดปกติของผู้ป่วย  การใช้สายตาเพ่งบ่อยๆหรือกล้ามเนื้อตาขาดสมดุล สามารถทำให้เกิดตาเหล่ได้
  3. เกิดโรคที่ตาข้างใดข้างหนึ่ง ทำให้กล้ามเนื้อตาไม่สมดุล
  4. การผิดปรติของระบบประสาทส่วนกลาง
  5. ตาเขเกิดจากโรคที่ส่งผลต่อการควบคุมกล้ามเนื้อตา เช่น  เนื้องอกในสมอง มะเร็งในส่วนศีรษะ มะเร็งส่วนลำคอ โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ

การรักษาโรคตาเหล่

สำหรับ การรักษาโรคตาเหล่ นั้น สามารถทำได้ 2 วิธี โดยแบ่งได้ คือ การรักษาโดยการไม่ใช้วิธีผ่าตัด และ การรักษาโดยการผ่าตัด  ซึ่งรายละเอียดของการรักษาทั้ง 2 วิธีนี้ มีดังนี้

  •  การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด แพทย์จะให้ใช้เครื่องมือ และ การฝกกายภาพบำบัด เพื่อเป็นการปรับบุคลิกภาพและความสามารการมองเห็นให้เป็นปรกติให้ได้มากที่สุด ซึ่งใช้วิธีดังนี้
    • การให้แว่นสายตา ใช้รักษาในผู้ป่วยตาเหล่ที่มีสาเหตุมาจากสายตาผิดปกติ เช่น สายตายาวที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดตาเหล่เข้า หรือ สายตาสั้นที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดตาเหล่ออก
    • ให้แว่น prism ซึ่งช่วยหักเหแสงให้ตกลงพอดีที่จุดรับภาพที่จอตา
    • การฝึกกล้ามเนื้อตา
    • การรักษาด้วยยา เช่น การฉีดโบท็อกช์ (Botulinum Toxin) โดยฉีดที่กล้ามเนื้อตา ทำให้กล้ามเนื้อมัดนั้นอ่อนแรง มีฤทธิ์อยู่นานประมาณ 2-3 เดือน
    • การรักษาตาขี้เกียจ (Amblyopia) ในเด็กตาเหล่ที่มีภาวะตาขี้เกียจ จำเป็นต้องรีบให้การรักษาทันที และต้องรักษาก่อนที่จะผ่าตัดแก้ไขตาเหล่ และควรรักษาช่วงก่อนที่เด็กจะอายุมากกว่า 7 ปี ซึ่งเมื่อเด็กอายุมากกว่า 8-9 ปีขึ้นไปมักรักษาไม่ได้ผลแล้ว ตาข้างนั้นก็จะมัวอย่างถาวร การรักษาตาขี้เกียจทำโดยการปิดตาข้างที่ดี เพื่อกระตุ้นให้ตาข้างที่เป็นตาขี้เกียจได้ใช้งาน ควรปิดตาอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง จนกว่าสายตาทั้งสองข้างจะมองเห็นปกติแต่ละรายอาจใช้เวลาไม่เท่ากัน
  • การรักษาโดยการผ่าตัด สำหรับการผ่าตัดนี้ แพทย์จะผ่าตัดกล้ามเนื้อตา ทำให้ตาตรง แต่สำหรับการผ่าตัดโรคตาเหล่ในเด็กนั้น หากตรวจและพบว่ามีภาวะตาเหล่เพียงอย่างเดียว โดยไม่มีความผิดปกติในส่วนอื่น เช่น ประสาทตา ภาวะตาขี้เกียจ การผ่าตัดรักษาตาเหล่จะช่วยให้ตาตรง กลับมาสวยงาม และช่วยทำให้การมองเห็นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และหากไม่ยอมรักษาตั้งแต่เด็ก ก็สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด แต่ประสิทธิภาพการมองเห็นจะไม่สามารถกลับมาปรกติ เหมือนการรักษาตั้งแต่เด็กได้

การดูแลผู้ป่วยตาเหล่หลังการผ่าตัด

หลังจากการผ่าตัดแพทย์จะปิดตาข้างที่ผ่าตัดไว้ 1 วัน จากนั้นก็สามารถเปิดใช้สายตาได้ตามปกติ แต่ในการนอนนั้นให้ใส่ที่ครอบตาเพื่อป้องกันการถูกกระทบกระเทือนในช่วงสัปดาห์แรก และไม่ควรให้น้ำเข้าตาเพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบหรือติดเชื้อได้

หลังจากการผ่าตักรักษาตาเหล่และผ่าช่วงของการดูแลในสัปดาห์แรก จะทำให้ตาดูตรงเป็นปกติ สวยงาม มีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น
ประสิทธิภาพการมองเห็นของตาทั้ง 2 ข้างก็จะดีขึ้น

ตาเหล่! ใครว่ารักษาไม่ได้ ตาเหล่ (ตาเขหรือตาส่อน) คือสภาวะที่ลูกตาทั้งสองข้างไม่ขนานกัน โดยที่ตาข้างหนึ่งอาจเหล่ออก. เหล่เข้า เหล่ขึ้นบนหรือลงล่างก็ได้ ตาเหล่นั้นอาจเหล่ตลอดเวลา สาเหตุของโรคตาเหล่เกิดจากการที่กล้ามเนื้อตาทำงานไม่สมดุลกัน หรืออาจเกิดจากกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ในเด็กบางคนอาจเกิดเป็นมาตั้งแต่กำเนิด ส่วนในเด็กที่มีสายตาสั้นมากๆ คนที่เกิดมาตาเหล่น้อยๆ หรือที่เรียกว่า “ตาส่อน” นั้นก็ดูหวานดี ยิ่งถ้าเป็นผู้หญิงยิ่งดูน่ารักใหญ่แต่ถ้าส่อนมากๆ จนถึงขั้นเหล่ก็จะ กลายเป็นปมด้อยของเจ้าตัวไป

ตาเหล่ ( Strabismus ) อาการดวงตาข้างใดข้างหนึ่งผิดปกติ หรือ ลูกตาทั้ง 2 ข้างไม่ขนานกัน สาเหตุของอาการตาเหล่เกิดจากหลายปัจจัย สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด หรือ ใช้เครื่องมือทางการแพทย์ร่วมกับการกายภาพบำบัด

Last Updated on March 17, 2021