กล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคเอ็มจี สาเหตุ การรักษาต้องทำอย่างไร

กล้ามเนื้ออ่อนแรง ( Myasthenia gravis ) โรคเอ็มจี ทำให้กล้ามเนื้อสมองส่วนควบคุมกล้ามเนื้อผิดปรกติ อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถทำงานได้ตามปรกติโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคสมอง ระบบประสาท หลอดเลือด

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ภาษาอังกฤษ เรียก Myasthenia gravis เรียกย่อๆว่า MG หลายคนจะเรียกโรคนี้ว่า “โรคเอมจี” โรคนี้ เป็นโรคภูมิต้านทานตัวเอง ชนิดเรื้อรัง ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อลาย ที่เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ตรงสมองส่วนควบคุมกล้ามเนื้อภายนอกร่างกายที่มำหน้าที่ควบคุมการเคลือนไหวของแขน ขา ดวงตา ใบหน้า ช่องปาก กล่องเสียง และกล้ามเนื้อซี่โครงที่ใช้ในการหายใจ เป็นต้น เกิดอาการอ่อนแรง ไม่สามารถทำงานได้ตามปรกติ แต่ว่าหากได้พักกล้ามเนื้อก็จะกลับมามีแรงอีกครั้งหนึ่ง

โรคนี้ไม่ได้เกิดจากสมอง หลอดเลือด หรือ ไขสันหลัง เกิดการอักเสบ หรือได้รับบาดเจ็บ จากสถิติพบว่าโรคนี้มีโอกาสเกิดได้ 10 ใน 100,000 คน และสามารพบได้ในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ และเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

สาเหตุของการเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

สาเหตุของการเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดจากเส้นประสาท ในส่วนที่ใช้สั่งการจากสมองไปยังกล้ามเนื้อเกิดมีปัญหา ทำให้ เส้นประสาทกับกล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ซึ่ง สาเหตุเกิดจากการที่ร่างกายสร้างภูมิต้านทานร่างกาย ชนิดไอจีจี ( IgG ) ได้น้อยกว่าปรกติ ซึ่งส่งผลให้ ร่างกายไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ในรายที่หนักมากอาจจะ ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เลย  โดย ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค นี้ คือ ต่อมไทมัส ที่มีหน้าที่สร้างภูมต้านทานร่างกายในส่วนนี้

อาการของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

สำหรับอาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง คือ ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อย อ่อนล้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง และอาการจะค่อยๆเพิ่มขึ้น และอาการจะดีขึ้นเมื่อร่างกายได้พักผ่อน โดย อาการอ่อนแรง จะเกิดที่กล้ามเนื้อลาย เช่น ดวงตาตก มีอาการ กลืนข้าวลำบาก พูดไม่ชัด แขน ขาอ่อนแรง กล้ามเนื้อกระดูกซี่โครงอ่อนแรง หายใจได้ลำบาก

การตรวจโรคนี้ สามารถทำได้โดย การตรวจสอบประวัติ ทำการทดสอบเบื้องต้น เรียกการทำ Icd pack test ตรวจเลือด เพือคูค่าภูมต้านทานร่างกาย ตรวจสอบการทำงานของกล้ามเนื้อ และทำ การเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจดู ต่อมไทมัส

การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

สำหรับการรักษาโรค สามารถทำได้โดยการให้ยาต้าน การทำงานของเอนไซม์ ที่ทำให้ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ( Acetylcholinesterase inhibitors )  และ ให้ยากดภูมิต้านทานของร่างกาย เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ หรือสามารถรักษาได้โดยการกรองภูมิต้านทานออกจากเลือด ( Plasmaphreresis ) และ ผ่าตัดต่อมไทมัส

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถทำได้โดย กินยาตามแพทย์แนะนำ ออกแรงให้สม่ำเสมอในการใช้ชีวิตประจำวัน ทานอาหารอ่อนๆ ปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้านและที่อยู่าศัยให้มีที่ช่วยยึดจับ หลีกเลี่ยง การสูบบุหรี่ ความเครียด และ การดื่มสุรา ในสตรีมีครรถ์ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

การพักผ่อน และ การผ่อนคลายความเครียด ช่วยให้อาการของโรคนี้ดีขึ้นได้ ดังนี้ เราได้รวบรวม สมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยให้ผ่อนคลาย และ หลับสบาย ช่วยให้หลับง่าย

ตะไคร้ สมุนไพร พืชสมุนไพร สมุนไพรไทย
ตะไคร้
หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพร
หอมหัวใหญ่
ดอกชมจันทร์ สมุนไพร สรรพคุณของชมจันทร์ ชมจันทร์
งาดำ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรงาดำ
ต้นมะลิ ดอกมะลิ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ต้นมะลิ
ไมยราบ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุก
ไมยราบ
อินทนิน สมุนไพร สมุนไพรไทย ไม้ยืนต้น
อินทนิล
มะเฟือง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้
มะเฟือง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สิ่งสำคัญ ของการป่วนโรคนี้ คือ ความเครียด เพราะรู้ดีว่า โรคนี้รักษาไม่ได้ ทำได้เพียงแค่ ประคับประคองอาการ เป็น โรคที่ได้รับความทุกข์ทรมาน ทางใจ เนื่องจาก ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แม้ว่า สมอง ยังรับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นอยู่ สำหรับการดูแลผู้่วย ครอบครัว ต้องเป็นกำลังใจที่สำคัญ ที่จะทำให้ผู้ป่วยยอมรับ และ เข้าใจกับโรคนี้  เพื่อใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ให้มี ความสุข ได้มากที่สุด

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ( Myasthenia gravis ) โรคเอ็มจี คือ โรคภูมิต้านทานตัวเองชนิดเรื้อรัง ทำให้กล้ามเนื้อสมองส่วนควบคุมกล้ามเนื้อ ไม่สามารถทำงานได้ อาการของโรค คือ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถทำงานได้ตามปรกติ

Last Updated on March 26, 2024