โคม่ากับเจ้าชายนิทรา ภาวะที่เกิดกับสมอง แตกต่างกันอย่างไร

อาการโคม่า หลับ ไม่รู้สึกตัว ไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น อาการเจ้าชายนิทรา ภาวะผัก สมองสูญเสียการรับรู้ หลับ รู้สึกตัวแต่ไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าโคม่า เจ้าชายนิทรา โรคสมอง โรคต่างๆ

เราทำความรู้จักกับ โรคเกี่ยวกับระบบสมอง และ ระบบประสาทมาพอสมควรแล้ว อาการหนึ่งที่ควรทความรู้จักกัน คือ อาการโคม่า อาการโคม่าเป็นอย่างไร สาเหตุของอาการโคม่า การรักษาผู้ป่วยโคม่าทำอย่างไร การดูแลผู้ป่วยอาการโคม่า นอกจากเรื่องของโคม่าแล้ว บทความนี้ จะพูดถึง อาการเจ้าชายนิทรา หรือ อาการเจ้าหญิงนิทรา อาการนี้คืออะไร เกิดจากสาเหตุอะไร  อาการโคม่า กับอาการเจ้าชานนิทรา มีความเหมือนกัน และมีความแตกต่างกันอย่างไร ในบทความนี้ มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โคม่า และ เจ้าชายนิทรากัน

อาการโคม่า คือ ภาวะของผู้ป่วยที่ถูกกระทบกระเทือนที่สมอง ทำให้เกิดการหลับ ไม่รู้สึกตัว ปลุกไม่ตื่น ไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นทั้งหลายทั้งปวง ผู้ป่วยอาการโคม่าถือว่ามีชีวิตอยู่

สาเหตุของอาการโคม่า
สาเหตุของอาการโคม่า เกิดจากการถูกกระทบกระเทือนที่สมอง ทั้งจากภายใน และภายนอก รายละเอียด ดังนี้

  • เกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรงกระทบกระเทือนศรีษะ ส่งผลต่อการทำงานของสมอง
  • เกิดจากการได้รับสารพิษบางชนิดอย่างรุนแรง เช่น การกินยาเกินขนาด การใช้ยาเสพติดเกินขนาด ซึ่งทำให้ร่างกายเกิดภาวะช็อค
  • เกิดจากการเสียเลือดเลือดอย่างรุนแรงทำให้สมองขาดเลือด
  • เกิดจากการติดเชื้ออย่างรุนแรง กระบทกระเทือนต่อหัวใจ การหายใจ หลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง

อาการของผู้ป่วยโคม่า
อาการโคม่าผู้ป่วยจะหลับ โดยไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบตัว ใช้เวลานาน อาจฟื้นตัวขึ้นมาได้ แต่หลังจากฟื้น อาจมีความผิดปรกของร่างกายตามมา มีส่วนน้อยที่สามารถพื้นขึ้นมาได้และใช้ชีวิตร่างกายแข็งแรงตามปรกติ แต่โดยทั่วไปโอกาสเสียชีวิตค่อนข้างสูง

การดูแลผู้ป่วยอาการโคม่า
เนื่องจากผู้ป่วยโคม่าเกิดจากการกระทบบกระเทือนที่สมอง ผู้ป่วยหลับ โดยไม่ตอบสนองแต่สิ่งต่างๆ ซึ่งถือว่าผู้ป่วยยังมีชีวิตอยู่ การดูแลผู้ป่วย ต้องดูแลเหมือนผู้ป่วยปรกติ และอาการโคม่าต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดที่โรงพยาบาล

อาการเจ้าชายนิทรา หรือ ภาวะผัก

อาการเจ้าชายนิทรา ภาษาอังกฤษ เรียก Vegetative state อาการเจ้าชายนิทรา ภาวะผัก คือ อาการที่เกิดจากการที่สมองสูญเสียความสามารถในการรับรู้ ทำความเข้าใจและตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบตัว เป็นอาการหลับ มีความรู้สึกตัว แต่ไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้า

อาการเจ้าชายนิทรา สามารถแบ่งระยะของโรคได้ 3 ระยะ คือ

  • ระยะแรก หรือ สภาวะผัก (Vegetative state) เป็นช่วงเวลาระยะสั้น เป็นช่วงเวลานาน 4 สัปดาห์
  • ระยะเรื้อรัง หรือ สภาวะผักเรื้อรัง (Persistent vegetative state) เป็นอาการเจ้าชายนิทราที่ระยะเวลานานไม่เกิน 1 ปี
  • ระยะถาวร หรือ สภาวะผักถาวร (Permanent vegetative state) เป็นอาการเจ้าชายนิทราที่มีระยะเวลานานกว่า 1 ปี

สาเหตุของอาการเจ้าหญิงหรือเจ้าชายนิทรา สาเหตุของภาวะผัก

สาเหตุของสภาวะผัก สามารถแยกสาเหตุของอาการเจ้าชายนิทราได้ 3 สาเหตุ คือ การเกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรงกระทบกระเทือนต่อสมอง ความพิการแต่กำเนิดของสมอง และ ภาวะการติดเชื้อที่สมอง

การดูแลผู้ป่วยอาการเจ้าชายนิทรา

การดูแลผู้ป่วยอาการเจ้าชายนิทรา เป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถช่วยตนเองได้ ต้องป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากอาการผู้ป่วยจะนอนหลับตลอดเวลา การดูแลต้องคอยพลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง ป้องกันเกิดอาการแผลกดทับ การให้อาหารต้องให้อาหารทางสายยาง ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดป้องกันการสำลัก ต้องคอยดูดเสมหะ ทำกายภาพบำบัดฟื้นฟู คอยยืดข้อต่างๆ

มาถึงจุดนี้ อาการโคม่า และอาการเจ้าชายนิทรา เป็นอย่างไร เราได้รู้แล้ว เรามาแยกประเด็นความแตกต่างของอาการทั้งสอง ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ความเหมือนของอาการโคม่าและอาการเจ้าชายนิทรา คือ เป็นอาการที่เกิดจากอาการกระทบกระเทือนทางสมอง ทำให้เกิดอาการหลับ

ความแตกต่างของอาการโคม่าและอาการเจ้าชายนิทรา คือ โคม่าเป็นการหลับโดยไม่รู้สึกตัว แต่เจ้าชายนิทราเป็นอาการหลับแต่รู้สึกตัว สามารถเปิดตาได้ การดูแลผู้ป่วยโคม่าต้องดูแลอย่างใกล้ชิดกับแพทย์ที่โรงพยาบาล แต่เจ้าชายนิทราสามารถพาผุ้ป่วยกลับไปดูแลที่บ้านได้

โคม่า คือ ภาวะของผู้ป่วยที่ถูกกระทบกระเทือนที่สมอง ทำให้เกิดการหลับ ไม่รู้สึกตัว ปลุกไม่ตื่น ไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นทั้งหลายทั้งปวง เจ้าชายนิทรา ภาวะผัก คือ ภาวะสมองสูญเสียความสามารถในการรับรู้ มีอาการหลับ มีความรู้สึกตัว แต่ไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้า ผู้ป่วยอาการโคม่าถือว่ามีชีวิต ความแตกต่างระหว่าง โคม่า กับ เจ้าชายนิทรา อยู่โรคเกี่ยวกับระบบสมอง อาการโคม่าเป็นอย่างไร สาเหตุของอาการโคม่า การรักษาผู้ป่วยโคม่า การดูแลผู้ป่วยโคม่า อาการเจ้าชายนิทรา เกิดจากอะไร โค่ม่า และ เจ้าชายนิทรา

Last Updated on March 17, 2021