หลวงปู่ฤาษีลิงดำ ประวัติและธรรมะ พระราชพรหมยาน พระกรรมฐาน

พระราชพรหมยาน หลวงปู่ฤาษีลิงดำ พระกรรมฐาน ประวัติของหลวงปู่ฤาษีลิงดำ พระวีระ ถาวโร และ รวมคำสอน ธรรมะ ของหลวงปู่ฤาษีลิงดำ ครูบาอาจาร์ย สายพระกรรมฐาน

หลวงปู่ฤาษีลิงดำ พระกรรมฐาน ธรรมะ ธรรมะครูบาอาจารย์

พระราชพรหมยาน หรือ หลวงปู่ฤาษีลิงดำ พระกรรมฐาน

ประวัติของหลวงปู่ฤาษีลิงดำ

พระวีระ ถาวโร เป็นนามเดิมและฉายาของหลวงปู่ ท่านเกิดเมื่อ วันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง ตรงกับวันพฤหัสบดี ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 สถานที่เกิดของท่านคือ ต.สาลี อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี ท่านเป็นบุตรที่เกิดในครอบครัวชาวนา แต่ฐานะทางบ้านจัดว่าดี บิดาของหลวงปู่ฤาษีลิงดำ คือ นายควง สังข์สุวรรณ และมารดา คือ นางสมบุญ สังข์สุวรรณ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 5 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 รายนามของพี่น้องของหลวงปู่ลิงดำ ประกอบด้วย

  1. นายวงษ์ สังข์สุวรรณ พี่ชาย อายุ 60 ปี ถึงแก่กรรมแล้ว เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513
  2. นางสำเภา ยาหอมทอง พี่สาว อายุ 88 ปี ถึงแก่กรรมแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2545 อายุ 88 ปี
  3. นายเวก สังข์สุวรรณ น้องชาย ได้บวชเป็นพระมีฉายาว่า พระครูพิศาลวุฒิธรรม (พระมหาเวก อักกวังโส) อายุ 85 ปี 59 พรรษา มรณภาพไปเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2548
  4. ด.ญ. อุบล สังข์สุวรรณ น้องสาว ถึงแก่กรรมตั้งแต่อายุ 4 ขวบ

เมื่อหลวงปู่อายุได้ อายุ 7 ขวบ เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนวัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนจบการศึกษาระดับ ป.3 จากนั้นได้ย้ายไปศึกษาวิชาการแพทย์แผนโบราณ เมื่ออายุ 19 ปี หลังจากนั้นได้เข้ารับราชการ เป็นเภสัชกรทหาร สังกัดกรมการแพทย์ทหารเรือ ซึ่งในปัจจุบัน คือ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า

การอุปสมบทของหลวงปู่ฤาษีลิงดำ

เมื่อหลวงปู่ฤาษีลิงดำ อายุ 20 ปี ได้เข้าอุปสมบทที่วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 โดยมีพระครูรัตนาภิรมย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิหารกิจจานุการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์เล็ก เกสโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ด้านการศึกษาพระธรรม ปี พ.ศ. 2480 สอบได้นักธรรมชั้นตรี
ปี พ.ศ. 2481 สอบได้นักธรรมชั้นโท และปี พ.ศ. 2482 สอบได้นักธรรมชั้นเอก

ในระหว่างปี พ.ศ. 2480 ถึง 2483 ท่านได้ศึกษากัมมัฏฐาน กับครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิ เช่น

  • หลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค
  • หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก
  • พระอาจารย์เล็ก เกสโร วัดบางนมโค
  • พระครูรัตนาภิรมย์ วัดบ้านแพน
  • พระครูอุดมสมาจารย์ วัดน้ำเต้า
  • หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ
  • หลวงพ่อเนียม วัดน้อย
  • หลวงพ่อโหน่ง อินฺทสุวณฺโณ วัดอัมพวัน (วัดคลองมะดัน)
  • หลวงพ่อเรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ

พ.ศ. 2486 ท่านสามารถสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ได้รับฉายา ว่า พระมหาวีระ พ.ศ. 2488 ท่านสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค ได้รับตำแหน่งเป็นรองเจ้าคณะ 4 วัดประยูรวงศาวาส และเข้ารับการฝึกหัดการเป็นนักเทศน์

พ.ศ. 2500 หลวงปู่ อาพาธหนัก เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกรมแพทย์ทหารเรือ และพักฟื้นที่วัดชิโนรสาราม กรุงเทพมหานคร ท่านได้รับลูกศิษย์รุ่นแรก 6 คน

พ.ศ. 2510 เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าซุง ท่านได้พัฒนาวัดท่าซุงมากมาย ได้ทำบูรณะ สร้างและขยายวัด จากเดิมมีพื้นที่ 6 ไร่ 2 งาน 07 2/10 ตารางวา จนมีพื้นที่ 289 ไร่  มีอาคารและถาวรวัตถุต่าง ๆ มากมาย หอไตร โรงพยาบาลศูนย์แม่และเด็ก ชนบทที่ 61 โรงไฟฟ้า โรงเรียนพระสุธรรมยานเถระวิทยา ศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจน เป็นต้น

พ.ศ. 2520 ท่านได้ตั้งศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในแดนทุรกันดารตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ในปี พ.ศ. 2535 เมื่อท่านอายุได้ 76 ปี ท่าอาพาธด้วยโรคปอดบวมอย่างแรง และติดเชื้อในกระแสโลหิต ได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช

ท่านได้มรณภาพ อย่างสงบที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม 2535 เวลา 16.10 น. ปัจจุบันศพของหลวงปู่ฤาษีลิงดำ บรรจุไว้ในโลงแก้วบนบุษบกทองคำ ที่ประดับด้วยอัญมณีอันวิจิตรงดงาม ณ วัดจันทาราม ต.น้ำซึม อ.เมือง จังหวัดอุทัยธานี

สมณศักดิ์ของหลวงปู่ฤาษีลิงดำ

พ.ศ. 2527 เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ พระสุธรรมยานเถร
พ.ศ. 2532 เป็น พระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ พระราชพรหมยาน ไพศาลภาวนานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

หลวงปู่ฤาษีลิงดำเป็นพระปฏิปฑาธุดงกรรมฐาน ที่สร้างคุณาปการต่อประเทศชาติ อันเป็นที่ลูกหลานควรแต่การเคารพและลำลึกถึงความดีของหลวงปู่

ธรรมะหลวงปู่ฤาษีลิงดำ

 

Last Updated on March 17, 2021