หญ้าคา วัชพืช สมุนไพร ประโยชน์และโทษมีอะไรบ้าง

หญ้าคา พืชเศรษฐกิจพอเพียง ต้นหญ้าคาเป็นอย่างไร สรรพคุณลดความดันโลหิต บำรุงสมอง เพิ่มภูมิคุ้มกันร่างกาย ขับปัสาวะ แก้ร้อนใน บำรุงไต แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหารหญ้าคา ต้นหญ้า สมุนไพร สรรพคุณของหญ้าคา

ต้นหญ้าคา มีชื่อเรียก ในแต่ละท้องถิ่น เช่น คาหลวง คา ลาลาง เก้อฮี ชื่อเรียกจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น หญ้าคาชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Imperata cylindrica (L.) P.Beauv  ชื่อเรียกอื่นๆของหญ้าคา เช่น สาแล  กะหี่  บร่อง ทรูล ลาลาง ลาแล แปะเม่ากึง เตี่ยมเซากึง คา แฝกคา ลาแล เก้อฮี เป็นต้น หญ้าคา เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในตระกูลหญ้า สูงประมาณ ๕๐-๑๐๐ เซนติเมตร

ลักษณะของหญ้าคา

หญ้าคา เป็นพืช ที่มีเหง้าสีขาวอยู่ใต้ดิน เป็นพืชที่ทนต่อแสงแดดและความร้อนได้ดี และเจริญเติบโตไว ขยายพันธุ์โดยวิธีการใช้เมล็ดและเหง้า พบเห็นทั่วไปตามท้องไร่นา และตามพื้นที่ป่า

  • ลำต้นหญ้าคา ลักษณะลำต้นเป็นทรงกลมเรียวยาวขนาดเล็ก ลำต้นสูงประมาณ 20 เซนติเมตร จะมีกาบใบหุ้มอยู่ ริมของใบหญ้าจะมีขน
  • ใบหญ้าคา ใบแบนมีลักษณะเป็นขนกระจุก เป็นเส้นตรงยาว และขอบใบมีลักษณะคมกริบ
  • ดอกหญ้าคา ดอกสีขาวอมเหลือง หรือในบางทีจะพบเป็นสีม่วง ออกดอกเป็นช่อก้านยาวสีขาว คล้ายหางกระรอก

สรรพคุณของหญ้าคา

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า ที่รากของหญ้าคามีสารสำคัญอยู่ 5 ชนิด คือ ฟินอลิก (phenolic compounds) โครโมน (chrmones) ไตรเตอร์ปินอยด์ (triterpenoid) เซสควิทเตอร์ปินอยด์ (sesquiterpenoids) และ โพลีแซคคาไรด์ ซึ่งมีสรรพคุณทางยาในการ ต้านอาการอักเสบ ต้านเลือดเหนียว ขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิต บำรุงสมอง เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และต้านเชื้อโรคจุลชีพที่ทำให้เกิดโรค

การนำหญ้าคามาใช้ประโยชน์ในแพทย์แผนโบราณ

นำหญ้าคาแห้ง 1 กำมือ มาบดเป็นชิ้นเล็กๆ จากนั้นนำไปต้มน้ำ และกรองเอาแต่น้ำ นำมาดื่มก่อนอาหาร 1 ถ้วยน้ำชา จะช่วยขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยรักษาการอักเสบที่ทางเดินปัสสาวะ บำรุงไต แก้โรคดีซ่าน แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยรักษาการอักเสบที่ทางเดินปัสสาวะ บำรุงไต แก้โรคดีซ่าน แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร

โทษของหญ้าคา

  1. หน่อของหญ้าคาแหลมคมมาก ถ้าเดินเข้าไปโดยไม่ระมัดระวัง จะทิ่มแทงฝ่าเท้า ทำให้เกิดความเจ็บปวดได้
  2. สามารถขึ้นได้ตามพื้นที่รกกร้าง ไร่หรือท้องนา ทำให้ชาวไร่ชาวนาส่วนมากไม่ค่อยชอบ
  3. เมื่อนำไปมุงหลังคาบ้าน หรือกระท่อม ไม่ค่อยทนทาน และถ้าดูแลไม่ดี อาจจะเกิดอัคคีภัย ก่อให้เกิดความเสียหาย แก่ทรัพย์สินได้

หญ้าคา สมุนไพร พืชเศรษฐกิจพอเพียง ลักษณะของต้นหญ้าคา สรรพคุณของหญ้าคา ต้านอาการอักเสบ ต้านเลือดเหนียว ขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิต บำรุงสมอง เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย  ช่วยขับปัสาวะ และต้านเชื้อโรคจุลชีพ ช่วยขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยรักษาการอักเสบที่ทางเดินปัสสาวะ บำรุงไต แก้โรคดีซ่าน แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร  บำรุงเลือด

Last Updated on March 17, 2021