ภาวะหัวใจสั่นพริ้ว หัวใจเต้นผิดปรกติ โรคอันตรายเสียชีวิตได้

หัวใจเต้นสั่นพริ้ว ภาวะการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ทำให้สูบฉีดเลือดไม่ดี อันตรายทำให้เป็นอัมพฤกษ์หรือเสียชีวิตได้ แนวทางการรักษาทำอย่างไรหัวใจสั่นพริ้ว โรคหัวใจ โรคไม่ติดต่อ โรคหัวใจเต้นสั่นพริ้ว

ภาวะหัวใจสั่นพริ้ว ภาษาอังกฤษ เรียก Atrial Fibrillation เรียกย่อว่า AF เป็น โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็น อาการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ ที่พบบ่อย ภาวะหัวใจสั่นพริ้ว มีความอันตราย ถึงขั้นเป็น อัมพฤกษ์ หรือ อาจทำให้ เสียชีวิตได้ ภาวะการเต็นของหัวใจ เกิดขึ้นที่ หัวใจห้องบน ทั้ง 2 ข้าง ซึ่ง ความเร็วในการเต้นของหัวใจ ไม่สม่ำเสมอกัน ทำให้ การสูบฉีดเลือดไม่ดี อาจทำให้ร่างกายออกซิเจนได้

สาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจสั่นพริ้ว

สำหรับ สาเหตุของการเกิด โรคหัวใจสั่นพริ้ว พบว่ามีหลายสาเหตุ อาจเกิดจาก ความผิดปรกติของหัวใจ โรคความดันโลหิต การผ่าตัดหัวใจ โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคปอด โรคถุงลมโป่งพอง ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด ความเครียด การดื่มสุรา ความอ่อนล้า เป็นต้น

อาการของภาวะหัวใจสั่นพริ้ว

ผู้ป่วยที่เป็น โรค นี้จะมีอาการ เป็นๆหายๆ หรืออาจจะเป็น แบบเรื้อรัง ลักษณะของการของผู้ป่วยมี ดังนี้

  • ใจสั่นอย่างกระทันหัน
  • หัวใจหยุดเต้น และ เกิดเสียงตัง ” ตุ้บ ” จากนั้น หัวใจจะเต้นเร็ว
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • มีอาการ เจ็บหน้าอก และ แน่นที่หน้าอก ลำคอ
  • รู้สึกอ่อนเพลีย
  • มีเหงื่อออก
  • รู้สึกมึนงง
  • หายใจลำบาก และ อาจหมดสติ

การรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจสั่นพริ้ว

สำหรับ การรักษาโรคหัวใจสั่นพริ้ว นั้นสามารถทำ การรักษา ได้หลายวิธี มีดังนี้

  1. โดยการใช้สายสวนชนิดพิเศษจี้จุดกำเนิดของ การเต้นผิดปกติในหัวใจ ด้วย พลังงานคลื่นวิทยุ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีรักษาที่ได้ผลดี สำหรับ อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ( Arrhythmia ) และ หัวใจสั่นพริ้ว ( atrial fibrillation- AF )
  2. ให้ยา ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ ไม่ให้เร็วจนเกินไป ( rate contro l) เพื่อควบคุมจังหวะ การเต้นของหัวใจ ( rhythm control ) และ เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหัวใจ ห้องบนเพื่อ ป้องกันภาวะลิ่มเลือดไปอุดตัน ในอวัยวะสำคัญส่วนอื่นของร่างกาย
  3. โดยการ ใช้ไฟฟ้ากระตุก เพื่อปรับ การเต้นของหัวใจ ( cardioversion ) ให้กลับเต้นปกติ

สมุนไพรบำรุงหัวใจ สามารถช่วยบำรุง การทำงานของหัวใจ ลดความเสี่ยงของการเกิด โรคหัวใจ ต่างๆได้ เราจึงรวบรวม สมุนไพรบำรุงหัวใจ มาให้เป็นความรู้เพิ่มเติม

ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว หญ้าปักกิ่ง สมุนไพร หญ้าเทวดา สรรพคุณหญ้าเทวดาหญ้าปักกิ่ง
เก๋ากี้ สมุนไพร โกจิเบอร์รี่ สรรพคุณของโกจิเบอร์รี่เก๋ากี้ โกจิเบอร์รี่ ท้าวยายม่อม แป้งท้าวยายม่อม สมุนไพร สรรพคุณของท้าวยายม่อมท้าวยายม่อม
อะโวคาโด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของอะโวคาโดอะโวคาโด ลูกสมอไทย สมอไทย ราชาสมุนไพร สมุนไพรไทยสมอไทย

โรคหัวใจเต้นสั่นพริ้ว ภาวะหัวใจสั่นพริ้ว ( Atrial Fibrillation ) คือ อาการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ทำให้สูบฉีดเลือดไม่ดี ภาวะหัวใจสั่นพริ้ว อันตราย ทำให้เป็น อัมพฤกษ์ หรือ เสียชีวิตได้ ภาวะการเต็นของหัวใจ เกิดขึ้นที่หัวใจห้องบนทั้ง 2 ข้าง รักษาอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่

Last Updated on March 17, 2021