เทคนิคการรับมือ เพื่อจัดการกับพฤติกรรม อารมณ์ร้ายของลูกน้อย

การจักการกับความกร้าวร้าว อารมณ์ร้ายของลูก ต้องหาสาเหตุของอารมณ์ร้ายของลูก และเทคนิคการจัดการกับลูกน้อยที่อารมณ์ร้าย รู้จักการใช้เหตุผล พฤติกรรมของลูกสร้างได้

ความบกพร่องด้านพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็ก

ความบกพร่องทางพฤติกรรม และ อารมณ์ของเด็ก เรียกว่า Children with Behavioral and Emotional Disorders เป็น การแสดงออกของลูก ด้วย พฤติกรรมความรุนแรงและความกร้าวร้าว เช่น การข้วางของ การร้องกรีด การทำลายของ การทำร้ายตัวเอง และคนรอบข้าง ซึ่งเราจะมาหาสาเหตุและวิธีการรับมือกับสิ่งนี้

พฤติกรรมความกร้าวร้าวของเด็ก นั้นเราสามารถแก้ไขได้ด้วยการมองหาสาเหตุของปัญหา และ ปรับพฤติกรรมของลูก อย่างเข้าใจ สาเหตุของพฤติกรรมความกร้าวร้าว ของลูกนั้น ประกอบด้วย ครอบครัว สิ่งแวดล้อม ตัวเด็กเองและอาการป่วยของเด็ก รายละเอียด ดังนี้

  1. พฤติกรรมความกร้าวร้าว จากครอบครัว ครอบครัวเป็นสิ่งที่หล่อหลอม พฤติกรรมของลูกน้อย ในครอบครัวที่มีความรัก ความอบอุ่น จากคนในครอบครัว เด็กจะได้รับการซึมซับพฤติกรรม ทั้งอ่อนโยนและกร้าวร้าวได้
  2. พฤติกรรมความกร้าวร้าว จากสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมมีส่วนในเรื่อง พฤติกรรมเลียนแบบ ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรง ความกร้าวร้าวต่างๆ การจักการสิ่งแวดล้อมสำหรับ การเลี้ยงลูก มีความสำคัญกับ พฤติกรรมและอารมณ์ของลูก
  3. พฤติกรรมความกร้าวร้าว จากตัวเด็กเอง เด็กจะเรียนรู้ในการแสดงออกเพื่อให้ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ การที่ เด็กแสดงออกทางกร้าวร้าว แล้วได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ เด็กจะเรียนรู้พฤติกรรมนั้นๆว่าจะได้สิ่งที่ตนเองต้องการ โดยไม่สามารถแยกแยะความเหมาะสมได้
  4. พฤติกรรมความกร้าวร้าว จากอาการป่วยของเด็ก อาการป่วยที่ส่งผลถึง พฤติกรรมความกร้าวร้าว นั้น พ่อกับแม่ ต้องเข้าใจในตัวลูก อาการปวด อาการเจ็บ ความไม่สบาย ทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด และ แสดงออกมาในทางกร้าวร้าว

เมื่อเราทราบถึง สาเหตุของพฤติกรรมความกร้าวร้าว ของลูกน้อยแล้ว จะเห็นได้ว่าสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งแรกที่มี ผลต่อพฤติกรรมความกร้าวร้าว หาก พ่อแม่ เข้าใจถึง สาเหตุของปัญหา จะทำให้เราสามารถ จัดการกับปัญหา นี้ได้อย่างเข้าใจ

เทคนิคในการจักการกับลูกที่โมโหร้าย

ความบกพร่องด้านพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กการที่ลูกน้อยมี อารมณ์ความกร้าวร้าว เช่น โยนข้าวของเครื่องใช้จนเสียหาย เดินกระแทกเสียงดังใส่ ปิดประตูเสียงดัง หรือร้องเสียงดัง เรามีเทคนิคในการจัดการกับปัญหาเหล่านี่ได้จาก วิธีต่างๆเหล่านี้

  1. การชมเชย ให้รางวัล ในวันที่ลูกน้อยแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม การให้รางวัลเป็นการสร้างการเรียนรู้ว่าพฤติกรรมใดจะได้รับการชมเชย เช่น การตั้งใจเรียนหนังสือ การกล้าแสดงออกในกิจกรรมต่างๆ พ่อแม่ควรให้รางวัลและชมเชยลูก กอดลูก เพื่อให้ลูกเรียนรู้ว่าสิ่งที่ตนทำนั้น เป็นสิ่งดีงามและจะได้รับความชมเชย
  2. การเฉยเมย เมื่อลูกแสดง พฤติกรรมกร้าวร้าว เมื่อต้องการสิ่งของ เด็กจะแสดงพฤติกรรม เช่น ร้องไห้เสียงดัง ดิ้นลงไปนอนกลับพื้น ทำลายของ เพื่อให้เราให้ในสิ่งที่ต้องการ การเฉยเมยจะทำให้ลูกน้อยเรียนรู้ว่า สิ่งที่ทำจะไม่ช่วยให้ได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการ
  3. การทำโทษอย่างมีเหตุผล บางครั้งในการที่ลูกทำผิดจำเป็นต้องทำโทษ เพื่อให้เด็กเรียนรู้ว่าสิ่งที่ตนทำเป็นสิ่งที่ผิดและห้ามกระทำ แต่ในการทำโทษนั้น พ่อแม่ ต้องจำเป็นต้องอธิบายเหตุผลให้ลูกเข้าใจ การทำโทษอย่างไม่แสดงเหตุผลทำให้ลูกซึมซับ พฤติกรรมความกร้าวร้าว
  4. จัดสิ่งแวดล้อมที่ดีให้ลูก การเรียนรู้ พฤติกรรมความกร้าวร้าว ของลูกเกิดจาก การเลียนแบบพฤติกรรม เช่น การพาลูกไปอยู่ในสถานที่ที่พูดจาหยาบคาย เด็กจะซึมซับ เลียนแบบคำพูดที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น
  5. พยายามหาสาเหตุของ พฤติกรรมความกร้าวร้าว และจัดการกับสิ่งนั้นให้หมดไป จากหลักการเรื่อง ความกร้าวร้าวของเด็ก มาจากสาเหตุ คือ ครอบครัว สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ของเด็กเองและอาการป่วยของตัวเด็ก หากเราทราบว่าความกร้าวร้าวมาจากอะไรก็ให้แก้ไขปัญหานั้นให้หมดไป

จะเห็นได้ว่า การจัดการพฤติกรรมของลูก น้อยเป็นเรื่องใหญ่ มีผลต่อความฉลาดด้านอารมณ์ของเด็กที่จะเป็นผู้ใหญ่ในสังคม ผู้ที่ต้องมีส่วนรวมที่สุด คือ พ่อและแม่ การสร้างความอบอุ่นในครอบครัว จัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเรียนรู้และการแสดงออก เป็นสิ่งที่ ต้องลงทุนในการเลี้ยงลูก

Last Updated on October 14, 2020